ตรวจสอบแบล็คลิสต์ได้ที่ไหน

ตรวจสอบแบล็คลิสต์ได้ที่ไหน?

ตรวจสอบแบล็คลิสต์ได้ที่ไหน


   ตรวจสอบแบล็คลิสต์ได้ที่ไหน?
   ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนบทความการตรวจสอบเครดิตบูโร  แต่เรื่องของเรื่องคือ ผมคงจะตั้งหัวข้อเรื่องไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่อยากรู้ นั่นคือ...ตัวเองติดแบล็คลิสต์หรือป่าว....เครดิตบูโร กับ แบล็คลิสต์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร เครดิตบูโร คือ ใบรายงานประวัติทางการเงินของเราเอง มีหนี้ที่ไหน หนี้กับใคร หนี้จำนวนเท่าไหร่ เป็นหนี้ตั้งแต่วันไหน เดือนไหนจ่าย เดือนไหนไม่จ่าย มีบอกหมด นั่นคือ เครดิตบูโร  ส่วนแบล็คลิสต์ คือรายงานบุคคลที่มีประวัติเสียในเรื่องการเงินจนถูกขึ้นบัญชีแบล็คลิสต์ไว้ ซึ่งหมายถึงไม่สามารถขอสินเชื่อใดๆได้อีก แต่ถ้าใครไม่อยากให้ตนเองมีประวัติเสียทางการเงินจนถึงขึ้นต้องติดแบล็คลิสต์ ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเทคนิคการชำหนี้ไม่ให้จนถึงขั้นตัวเองต้องติดแบล็คลิสต์ไว้ เป็นเทคนิคที่ผุ้คนส่วนใหญ่คงไม่รู้กัน สำหรับคนที่สนใจอยากรู้คงจะต้องหาอ่านจากเมนูครับ เพราะผมเองก็จำไม่ได้....นอกเรื่องนานล่ะ เข้าเรื่องเลย จะตรวจสอบแบล็คลิสต์ได้จากที่ไหน....ก่อนอื่นผมว่าดูที่ตัวเราเอง ไม่มีหนี้ ไม่ติดแน่นอน...มีหนี้จ่ายตรง....ไม่ติดแน่นอน....มีหนี้จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง....อันนี้ไม่แน่ใจ....มีหนี้หนีหนี้ไม่จ่าย...ติดแบล็คลิสต์ล้านเปอร์เซ็นต์...แต่ว่าทุกกรณีที่กล่าวมาหากว่าเราต้องการจะตรวจสอบก็ไม่ใช่เรื่องยากครับ ก็เลือกเอาตามสะดวกของแต่ละคนได้เลยครับ
   1.ตรวจสอบแบล็คลิสต์ด้วยตนเอง ณ ที่ทำการบริํษัท : ศูนย์บริการตรวจสอบเครดิตแบล็คลิสต์/ตรวจสอบเครดิตบูโร  สำหรับรายละเอียดคลิ็กอ่านจากลิงค์ได้เลยครับ....ตรวจสอบแบล็คลิสต์ 1
   2.ตรวจสอบแบล็คลิสต์ผ่าน Internet Banking และตู้ ATM  โดยตรวจสอบแบล็คลิสต์ผ่าน Internet Banking ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา , สำหรับตู้เอทีเอ็มใช้ได้กับ  ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ สำหรับรายละเอียดคลิ็กอ่านจากลิงค์ได้เลยครับ....ตรวจสอบแบล็คลิสต์ 2
   3.ตรวจสอบแบล็คลิสต์ผ่านทาง เคาน์เตอร์์ธนาคาร ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ธนาคารธนชาต (TBANK),บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB), บมจ.ธนาคารไอซีบีซีที (ICBCT) และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB) สำหรับรายละเอียดคลิ็กอ่านจากลิงค์ได้เลยครับ....ตรวจสอบแบล็คลิสต์ 3

สำหรับหลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบแบล็คลิสต์ มีดังนี้
กรณีบุคคลธรรมดา
     กรอกแบบคำขอ และยื่นแบบฟอร์มพร้อมหลักฐานอันประกอบไปด้วย บัตรประชาชนพร้อมสำเนา, สำเนาทะเบียนบ้าน (เอกสารทุกชิ้นจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องด้วย) และหลักฐานการเปลี่ยนแปลงชื่อ (ถ้ามี) ชำระค่าบริการ 100 บาท รอรับใบรายงานได้เลยภายในวันที่ยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็สามารถทำได้
กรณีนิติบุคคล
      กรอกแบบคำขอ และยื่นแบบฟอร์มพร้อมหลักฐานอันประกอบไปด้วย สำเนารับรองนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือน, สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจในกรณีที่กรรมการผู้มีอำนาจมารับด้วย ตนเอง หรือถ้ามอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นมารับเอกสารแทนจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจอย่าง ถูกต้องพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจเข้ามาเพิ่มด้วย (เอกสารทุกชิ้นจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องด้วย) ชำระค่าบริการ 100 บาท รอรับใบรายงานได้เลยภายในวันที่ยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็สามารถทำได้

...........หวังว่าคงกระจ่างขึ้นมาบ้างนะครับ สำหรับผุ้ที่ต้องการตรวจสอบว่าตนเองติดแบล็คลิสต์หรือป่าว.....แบล็คลิสต์และเครดิตบูโรบล็อก

เปิดเผยวิธีทวงหนี้จากลูกหนี้ของผู้มีอาชีพรับทวงหนี้ต่างๆ

เปิดเผยวิธีทวงหนี้จากลูกหนี้ของผู้มีอาชีพรับทวงหนี้ต่างๆ
วิธีทวงหนี้จากลูกหนี้
         เปิดเผยวิธีทวงหนี้จากลูกหนี้ของผู้มีอาชีพรับทวงหนี้ต่างๆ
         จากบทความก่อนหน้านี้ที่ได้เกริ่นไว้แล้ว เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้ (ถูกกฏหมายและใช้ได้จริง) ซึ่งก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะใช้ได้จริงๆ บทความฉบับนี้จะขอบอกเล่าถึง วิธีการทวงหนี้จากเจ้าหนี้ ว่า ในปัจจุบันนี้ เจ้าหนี้ทั้งหลาย เขาใช้วิธีการอะไรบ้าง ทวงหนี้จากลูกหนี้ มันถูกกฏหมายหรือป่าว แล้วถ้าลูกหนี้เป็นเรา เราจะทำอย่างไร จะใช้วิธีการแบบไหนเข้าต่อสู้ โดยที่ตัวลูกเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ มาดูรายละเอียดกันดีกว่าครับ สำหรับวิธีทวงหนี้แบบเลวๆ ที่สำนักงานทวงหนี้มักใช้กัน เป็นเทคนิคที่ชอบอ้างถึงกฎหมายที่ลูกหนี้ส่วนมากไม่มีความรู้ จึงเปิดโอกาสให้นักทวงหนี้ดำเนินการไปตามเกมส์ของเขาซึ่งมีหลายวิธีดังนี้
          - ส่งจดหมายทวงหนี้  : เป็นจดหมายที่ส่งมาทวงหนี้ในลักษณะข่มขู่ จะมีข้อความที่ประทับตรายางสีแดงเช่น “อนุมัติฟ้องภายใน 24 ช.ม.” , “ด่วน อนุมัติฟ้อง” , “เตือนให้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย” , “ด่วน นำพนักงานสืบทรัพย์ตรวจสอบตามภูมิลำเนา”...คำขู่พวกนี้หากลูกหนี้ที่รู้เท่าทันก็ไม่ต้องตกใจ เพราะถ้ามีการฟ้องศาลจริงจะต้องมีหมายเลขคดีดำและหมายศาลจะส่งไปยังที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น จดหมายทวงหนี้ในลักษณะนี้ส่งมาเพื่อเตือนให้รีบไปชำระหนี้เท่านั้น แต่ในส่วนของลูกหนี้ให้คิดเสียว่า ถ้าเจ้าหนี้อยากจะฟ้องก็เชิญฟ้องไปเลย เพราะในความเป็นจริง กว่าจะส่งเรื่องฟ้องศาล เจ้าหนี้ต้องใช้เวลาในการทวงหนี้นานเป็นปี ดังนั้นในระหว่างนี้ ลูกหนี้จะได้รับจดหมายทวงหนี้ในลักษณะเช่นนี้ ทุกวัน , ทุกสัปดาห์ , ทุกเดือนเรื่อยไปจนกว่าจะครบปี จนเกิดความสงสัยขึ้นว่า...“เมื่อไหร่มันจะฟ้องตรูจริงๆซะทีวะ?
          - เจ้าหนี้แจ้งว่าจะยึดทรัพย์ : ซึ่งเป็นการข่มขู่ที่ผิดกฎหมาย การที่เจ้าหนี้จะยึดทรัพย์ลูกหนี้ได้นั้น จะต้องมีการฟ้องศาลดำเนินคดีทางแพ่งเสียก่อน การยึดทรัพย์ต้องใช้คำสั่งศาลจึงจะดำเนินการยึดทรัพย์ได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆตามอำเภอใจ
          - เจ้าหนี้แจ้งว่าจะส่งเจ้าหน้าที่มาทวงเงินที่ทำงานของลูกหนี้ พูดง่ายๆก็คือ ตามทวงหนี้ถึงที่ทำงานกันเลยทีเดียว กรณีนี้ถ้าลูกหนี้ไม่อนุญาตให้เข้าพบ หากพนักงานทวงหนี้ยัง"หน้าด้าน"ฝ่าฝืน...มีสิทธิ์เจอข้อหาบุกรุกได้เลย
          นอกจากนี้ เจ้าหนี้ยังมีการข่มขู่อีกหลายเรื่องที่เคยทำกันมาแล้วได้ผลเช่น ขู่ว่าจะอายัดเงินเดือน ทั้งๆที่ยังไม่ได้ส่งเรื่องฟ้องศาลเลย เจ้าหนี้จึงไม่สามารถอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ เพราะการอายัดเงินเดือนต้องมีคำสั่งศาล และการอายัดเงินเดือนทำได้เต็มที่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนลูกหนี้ และถ้ามีเจ้าหนี้อยู่หลายราย ก็ต้องแบ่งสรรปันส่วนกันไปภายใน 30 เปอร์เซ็นต์นั้นๆ...หรือเจ้าหนี้อาจต้อง"เข้าแถว"รอคิวการอายัดเงินเดือนต่อๆกันไป (ใครฟ้องก่อน ก็อายัดได้ก่อนเป็นคิวแรก ใครฟ้องช้า/ฟ้องทีหลัง ก็ต้องมานั่งเข้าแถวรออายัดเป็นคิวถัดไป) เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเงินเดือน  เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการทวงหนี้ได้ แต่ต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย และทำการทวงหนี้อย่างเหมาะสม โดยไม่เป็นการรบกวนการทำงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกหนี้จนเกินพอดี เจ้าหนี้ต้องมีการแสดงตัว แจ้งชื่อ-นามสกุล สำนักงานที่สังกัด ไม่คุกคามลูกหนี้เช่น ประจานหรือข่มขู่ และที่สำคัญต้องไม่เปิดเผยความลับของลูกหนี้แก่บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
           จะเห็นได้ว่าการติดตามทวงหนี้ของเจ้าหนี้ในปัจจุบันที่ทำกัน มักออกมาในลักษณะของการข่มขู่ในเรื่องต่างๆ ที่ถือว่าผิดกฎหมาย จนในระยะหลังมานี้ ลูกหนี้เริ่มรู้เท่าทันเจ้าหนี้จึงได้มีการฟ้องร้องกลับ จนเจ้าหนี้เป็นฝ่ายแพ้คดีไปก็มีจำนวนไม่น้อย หากลูกหนี้มีข้อสงสัยในการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องหลักเกณฑ์ในการติดตามทวงถามหนี้ ที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการถูกข่มขู่ของลูกหนี้   ถึงแม้ลูกหนี้จะรู้เท่าทันเจ้าหนี้และสามารถรับมือกับการทวงหนี้แบบโหดจากเจ้าหนี้ได้แล้วก็ตาม...แต่การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ดีที่สุดคือ “มีหนี้ ก็ต้องใช้หนี้” ดังนั้นเมื่อมีโอกาสที่จะใช้หนี้ได้ จงอย่ารอช้า...ให้รีบหาทางเคลียร์หนี้สินให้จบ แล้วอย่าก่อหนี้สินขึ้นมาอีก  นั่นแหละคือคำตอบสุดท้าย

เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้ (ถูกกฏหมายและใช้ได้จริง)

เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้

เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้

      เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้
     เป็นข่าวกันอยู่เรื่อยๆ เกี่ยวกับการทวงหนี้โหด ส่วนใหญ่ที่โดนก็จะเป็นแม่ค้า สาเหตุก็คงจะมาจากดอกเบี้ยรายวันนั่นเอง ซึ่งถือว่าสูงเอามากๆ ....แล้วใครจะมีปัญญาจ่ายดอกไหม...จริงไหม วันนี้ แบล็คลิสต์และเครดิตบูโรบล็อก ของเราจึงมีวิธีรับมือการทวงหนี้จากเจ้าหนี้มาฝากกัน อย่างไรก็ตามบล็อกของเราไม่มีนโยบายจะให้ลูกหนี้ หนีหนี้ หรือไม่ยอมจ่ายหนี้แต่ประการใด  แต่ให้นำไปใช้ในกรณีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้ซึ่งส่งพวกทวงหนี้มาใช้วิธีการทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย ขอเน้นนะครับ ทวงหนี้แบบผิดกฏหมาย เช่น อ้างกฎหมายมาข่มขู่ รบกวนเวลาทำงาน ทำให้เสียชื่อเสียง...ฯลฯ เพือเป็นการปกป้องตัวลูกหนี้เองให้รอดพ้นจากการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น ลูกหนี้จึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินบ้าง แต่ไม่ถึงกับต้องท่องจำกฎหมายหนี้สินมาตราต่างๆได้ เอาแค่ให้รู้ว่าการทวงหนี้ในลักษณะใดบ้าง ที่เข้าข่ายการทวงหนี้ผิดกฎหมาย เพื่อจะได้เตรียมรับมือกับเหล่านักทวงหนี้ได้อย่างเหมาะสมในทำนอง “รู้เขา-รู้เรา” จะได้ไม่ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเจ้าหนี้และปกป้องรักษาสิทธิ์ของลูกหนี้ไว้  ที่พอจะคิดออกมีดังนี้ต่อไปนี้
       1.สอบถามข้อมูลผุ้ที่จะมาทวงหนี้กับเรา  ก่อนจะคุยกับผู้ทวงหนี้ ให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกก่อนเลยโดยการสอบถาม ชื่อ-นามสกุลจริง ของคนที่มาทวงหนี้ก่อน และที่สำคัญต้องขอเบอร์โทรศัพท์สำนักงาน(ไม่ใช่เบอร์มือถือ)ที่เขาทำงานอยู่ รวมถึงชื่อสำนักงานของนักทวงหนี้เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ ส่วนมากการคุยกันระหว่างลูกหนี้กับนักทวงหนี้มักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง และมักจะมีปัญหาเรื่องการมีปากเสียงหรือจบลงด้วยการทะเลาะกัน อาจมีการใช้ถ้อยคำรุนแรงที่ฝ่ายนักทวงหนี้หลุดได้บ่อยๆ ดังนั้นการสอบถามข้อมูลจริงๆจากนักทวงหนี้ จึงมีโอกาสสูงที่ผู้ทวงหนี้จะไม่บอกความจริง เพราะมันก็กลัวความผิดทางกฎหมายเหมือนกัน เพราะถ้ามันเผลอข่มขู่หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงกับลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้อาจรับมือหรือตอบโต้กับนักทวงหนี้ได้ โดยการติดตามเอาเรื่องจนถึงสำนักงานของนักทวงหนี้เลยก็ได้ นอกจาก

วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน

 วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน
 วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน


     วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน
     มีประโยคอยู่ประโยคหนึ่งกล่าวว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" ในทีนี้เราไม่ได้ไปทำการรบ แต่ผมอยากให้มองภาพถึงการไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่างๆ ว่า ทางธนาคาร หรือสถาบันการเงิน มีกลักเกณฑ์คำนวณคร่าวๆ อย่างไรบ้าง เงินเดือนเท่ากัน แต่ทำไมเพื่อนได้ยอดวงเงินสูงกว่า เอ๊ะคนนี้ทำไมรายได้น้อยกว่าเรา แต่ยอดเงินสูงกว่าเรา....สิ่งเหล่านี้ หากเรารู้ว่าทางธนาคารมีวิธีคิดให้เราอย่างไร...ผมว่ามันคงมีประโยชน์สำหรับเราไม่น้อย....ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมขอพูดไปในระดับผู้ทำธุรกิจรายใหญ่เลย เพื่อให้เห็นภาพ ในการปล่อยกู้ การพิจารณาเงินกู้ โดยในการทำธุรกิจผู้ประกอบการมิอาจจะเป็นผู้ที่คอยรับผลประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวได้เสมอไป เพราะระบบธุรกิจในปัจจุบันไม่ได้ใช้ระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนแบบมือต่อมือเหมือนในอดีต เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุคของเศรษฐกิจทุนนิยมที่ผู้ถือเงินสดในมือคือผู้กำหนดแนวทางการทำธุรกิจของอนาคตไว้นั่นเอง  ด้วยเหตุนี้ระบบการเงินจึงวิวัฒนาการไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้น และภาระผูกพันทางการเงินจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดอกเบี้ยจากเงินที่กู้ยืมมาลงทุน การชำระคืนเงินต้น เงินปันผลให้กับลูกค้า ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหนี้สินที่ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบอย่างยากจะหลีกเลี่ยงได้ การคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินหรือที่เรียกว่า Fixed Charge Coverage Ratio จึงเป็นตัวช่วยที่จะบอกให้ผู้ประกอบการได้ทราบว่าธุรกิจของตนเองมีความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงินได้มากขนาดไหน ซึ่งการคำนวณก็มีวิธีดังต่อไปนี้
       ก่อนอื่นผู้ประกอบการจะต้องหาข้อมูลในตัวแปรทั้ง 5 อย่างนี้ก่อน นั่นคือ
          1.กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
          2.ดอกเบี้ยเงินกู้
          3.เงินต้นที่ยืมมา
          4.เงินปันผล
          5.อัตราภาษีเงินได้
       เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 5 มาแล้วก็มาถึงในส่วนของวิธีทำ โดยผู้ประกอบการจะต้องนำกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเป็นตัวตั้งแล้วจึงนำมาหารด้วยส่วนที่สองนั่นก็คือดอกเบี้ยบวกเงินต้นบวกเงินปันผลที่หารด้วยในวงเล็บหนึ่งลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ ซึ่งหลักสมการของวิธีการนี้จะมีรูปแบบดังต่อไปนี้

ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นจะวิเคราะห์ได้ 3 กรณี คือ  

ติดแบล็คลิสต์หรือป่าว..จะตรวจสอบได้อย่างไร (สรุปมาให้อ่านอีกรอบ)

ติดแบล็คลิสต์หรือป่าว..จะตรวจสอบได้อย่างไร (สรุปมาให้อ่านอีกรอบ)

ติดแบล็คลิสต์หรือป่าว..จะตรวจสอบได้อย่างไร (สรุปมาให้อ่านอีกรอบ)


ติดแบล็คลิสต์หรือป่าว..จะตรวจสอบได้อย่างไร (สรุปมาให้อ่านอีกรอบ)
        ปัจจุบันการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินก่อนจะเริ่มลงมือทำธุรกิจถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องเอาใจใส่และให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจาก เครดิต และสถานภาพทางการเงินของผู้ประกอบการนั้นสามารถนำไปใช้ต่อยอดในทางธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอกู้เงิน หรือ ขอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ ใช้เป็นหลักค้ำประกันธุรกิจ หรือแม้แต่เพื่อเป็นการแสดงสภาพคล่องให้ลูกค้าได้รับทราบ ซึ่งข้อมูลต่างๆที่ผู้ประกอบการต้องการทราบนั้นล้วนมีบันทึกอยู่ในฐานข้อมูลของ"บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ" ทั้งหมด
       "บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ" หรือ "เครดิตบูโร" มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางบริการของธนาคารต่างๆไม่ว่าจะเป็นการใช้บัตรเครดิต การผ่อนชำระสินเชื่อ การผ่อนบ้านและรถยนต์ ทั้งยังเป็นผู้ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการผ่อนชำระทั้งในส่วนของ บัตรเครดิต และ สินเชื่อต่างๆ ไว้อย่างละเอียด โดยหากเป็นบุคคลธรรมดาจะมีบันทึกไว้ไม่เกิน 3 ปี และ 5 ปีสำหรับนิติบุคคล ซึ่งนั่นหมายความว่าหากผู้ประกอบการเคยมีความผิดพลาดในเรื่องการค้างชำระหรือแม้แต่ผ่อนช้าในอดีตรับรองว่าชื่อของผู้ประกอบการจะต้องไปปรากฏเป็นแบล็คลิสต์อยู่ในเครดิตบูโรอย่างแน่นอน
หากมีรายชื่อปรากฎอยู่ในแบล็คลิสต์จริงชีวิตการทำธุรกิจของท่านจะต้องตกอยู่ในสภาพไม่ต่างอะไรกับการตายทั้งเป็นแน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบการทุกคนจึงสมควรที่จะต้องตรวจสอบสถานะทางการเงินและเครดิตของตนกับทางเครดิตบูโรให้แน่ใจก่อนทุกๆครั้งเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการติดแบล็คลิสต์อย่างไม่รู้สาเหตุ หรือถ้าหากมีชื่อติดอยู่ในบัญชีแบล็คลิสต์ริงจะได้รีบติดต่อเพื่อขอเข้าชำระเงินที่ติดค้างอยู่ในอดีตให้หมดไปเพื่อเป็นการเคลียร์แบล็คลิสต์ และประวัติทางการเงินให้ขาวสะอาดที่สุด ซึ่งวิธีการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินของตนเองผ่านเครดิตบูโร ผู้ประกอบการจะต้องไปขอยื่นเรื่องด้วยตนเองที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภค ชั้น 10 อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์(สำนักงานใหญ่) เลขที่ 63 ถนนพระรามเก้า เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ 02-643-1250 ซึ่งมีวิธีปฏิบัติที่สามารถกระทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา
     กรอกแบบคำขอ และยื่นแบบฟอร์มพร้อมหลักฐานอันประกอบไปด้วย บัตรประชาชนพร้อมสำเนา, สำเนาทะเบียนบ้าน (เอกสารทุกชิ้นจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องด้วย) และหลักฐานการเปลี่ยนแปลงชื่อ (ถ้ามี) ชำระค่าบริการ 100 บาท รอรับใบรายงานได้เลยภายในวันที่ยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็สามารถทำได้

กรณีนิติบุคคล
      กรอกแบบคำขอ และยื่นแบบฟอร์มพร้อมหลักฐานอันประกอบไปด้วย สำเนารับรองนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือน, สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจในกรณีที่กรรมการผู้มีอำนาจมารับด้วยตนเอง หรือถ้ามอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นมารับเอกสารแทนจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจอย่างถูกต้องพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจเข้ามาเพิ่มด้วย (เอกสารทุกชิ้นจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องด้วย) ชำระค่าบริการ 100 บาท รอรับใบรายงานได้เลยภายในวันที่ยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็สามารถทำได้

     เรื่องของเครดิตและความน่าเชื่อถือทางการเงินนั้นจัดเป็นพื้นฐานความเชื่อมั่นอันดับแรกๆที่ลูกค้าทุกคนมักจะสนใจและเรียกร้องในส่วนนี้มากเป็นพิเศษจากคู่ค้าทางธุรกิจของตน ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องไม่ยอมปล่อยให้ตัวเองและธุรกิจมีประวัติที่ด่างพร้อยและย่ำแย่ทางการเงินเกิดขึ้นเป็นอันขาด เพราะหากเกิดขึ้นแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยที่จะเอานำชื่อออกมาจากบัญชีแบล็คลิสต์ซึ่งอย่างน้อยจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ปีเป็นอย่างต่ำ ซึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูงไม่สามารถรอได้นานขนาดนั้น ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องบริหารการเงินทั้งของตนและของบริษัทอย่างดีที่สุดเพื่อเป็นรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงในทางที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมการทำธุรกิจของคุณในอนาคตด้วย

เมื่อศาลตัดสินบังคับคดีจนถึงอายัดเงิน แต่ถ้าไม่มีเงินเดือนให้อายัดล่ะ จะเป็นอย่างไร

        เมื่อศาลตัดสินบังคับคดีจนถึงอายัดเงิน แต่ถ้าไม่มีเงินเดือนให้อายัดล่ะ จะเป็นอย่างไร????
อายัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ติดแบล็คลิสต์
 
เมื่อศาลตัดสินบังคับคดีจนถึงอายัดเงิน แต่ถ้าไม่มีเงินเดือนให้อายัดล่ะ จะเป็นอย่างไร????
      เมื่อเป็นหนี้แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งนั่นแปลว่าท่านถูกหมายหัวว่า "ติดแบล็คลิสต์" ไปเรียบร้อยแล้ว มีการหยุดจ่าย หนีหนี้ ประนอมหนี้ไม่ไหว ทีนี้ก็เข้าสู่กระบวนการของศาล มีการฟ้องร้อง และศาลตัดสินไปตามกระบวนการที่เราๆ ท่านๆ ไม่ค่อยจะรู้ภาษากฏหมายกัน ซึ่งบทสรุปก็คงจะต้องใช้หนี้อยู่ดี แต่ถ้าหากลูกหนี้ หรือจำเลย เมื่อถูกศาลพิพากษาให้ชดใช้หนี้ตามหมายฟ้องแล้ว ลูกหนี้หรือจำเลย ไม่ยอมใช้หนี้ตามคำสั่งของศาล ก็จะเข้าสู่กระบวนการที่ทางเจ้าหนี้ จะต้องส่งเรื่องให้ "กรมบังคับคดี" ทำการ อายัดเงินเดือน หรืออายัดทรัพย์สินต่อไป แล้วถ้า ลูกหนี้หรือจำเลย ไม่มีทรัพย์สินใดๆให้อายัดหรือยึด ทางเจ้าหนี้และกรมบังคับคดี ก็จะเหลือเพียงแค่ช่องทางเดียวเท่านั้น ก็คือการ "อายัดเงินเดือน" ของลูกหนี้ แต่การที่จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ ลูกหนี้จะต้องมีเงินเดือนเกินกว่า 10,000.-บาท ขึ้นไปเท่านั้น...จึงจะอายัดได้...และจะอายัดได้ไม่เกิน 30% จากเงินเดือนของลูกหนี้ด้วย...โดยไม่สนว่าลูกหนี้จะมีเจ้าหนี้กี่ราย   เพราะกฏหมายเขาเขียนคุ้มครองเอาไว้อย่างนั้น...เช่น...ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือน 30,000.-บาท เจ้าหนี้ก็จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ประมาณ 9,000.-บาท (คำนวนจาก 30% ของเงินเดือนที่ 30,000-บาท)...แต่ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนแค่ 10,200.-บาท เจ้าหนี้ก็จะอายัดเงินเดือนได้แค่ 200.-บาท เท่านั้น จะมาอายัดเงินเดือน 30% จากเงินเดือนที่จำนวน 10,200.-บาท ไม่ได้ (เพราะกฏหมายเขาเขียนกำหนดให้ลูกหนี้ผู้ที่ถูกอายัดเงินเดือน จะต้องมีเงินเดือนเหลือเอาไว้สำหรับ กิน , ใช้จ่าย , ยังชีพ...ที่ขั้นต่ำ 10,000-บาท)
        แต่ถ้าลูกหนี้ "ตกงาน" หรือไม่ได้ทำงานตามบริษัทต่างๆ...กล่าวคือ...ไม่ได้มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือนที่แน่นอน และไม่มีการนำเงินส่งภาษีและประกันสังคม...อาทิเช่น...ขับรถ Taxi , ขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างตามวิน , ขายก๋วยเตี๋ยว , ขายกาแฟ , ขายข้าวแกง , ขายเสื้อผ้าตามตลาดนัด , ทำงานฟรีแลนซ์ , ขายของตาม Internet ฯลฯ...อย่างนี้เป็นต้น ก็จะเปรียบเสมือนกับบุคคลที่"ตกงาน"หรือ"ว่างงาน" ตามการเรียกเก็บภาษีและรายได้ของรัฐ...ซึ่งก็หมายความว่า ตามอายัดเงินเดือนไม่ได้ เพราะรายได้ต่างๆที่ได้มานั้น...ไม่ถูกจัดว่าเป็น"เงินเดือน"
        เมื่ออายัดทรัพย์สินก็ไม่ได้...อายัดเงินเดือนก็ไม่ได้ หนี้ต่างๆ ของลูกหนี้หรือจำเลยที่ถูกศาลพิพากษา ก็จะถูกแขวนลอยเอาไว้เฉยๆ (หรือที่เรียกว่าถูก"แขวนหนี้")...และถ้าหากระยะเวลาในการ"แขวนหนี้" ผ่านพ้น10 ปีไปแล้ว หนี้ตัวนี้ก็จะ"หมดอายุความ"ในการอายัดจากทางเจ้าหนี้
         ซึ่งระหว่างใน 10 ปี ที่หนี้ดังกล่าว ถูกแขวนลอยเอาไว้เฉยๆอยู่อย่างนี้ ทางเจ้าหนี้ก็จะพยายามสืบทรัพย์ให้ได้ว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินเก็บหรือซุกซ่อนเอาไว้ที่ไหนบ้างหรือปล่าว? หรือไปเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ไหนบ้าง?...ถ้าสืบเจอ ก็ไปแจ้งต่อกรมบังคับคดีให้มาทำการยึดไปใช้หนี้...แต่ถ้าสืบไม่เจอ หรือสืบแล้วพบว่าไม่มีทรัพย์สินใดๆเลย...ก็ทำอะไรไม่ได้
         และเมื่อระยะเวลาในการ"แขวนหนี้ 10 ปี"นี้...ผ่านพ้นไปแล้ว (10 ปีนี้ ให้เริ่มนับจากวันที่ถูกศาลพิพากษา เป็นต้นไป) เจ้าหนี้ก็จะหมดอายุความในการอายัดทันที (จะมาอายัดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน ที่เพิ่งจะมารู้หรือเพิ่งมาเจอ ภายหลังจาก 10 ปีผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ได้อีกต่อไป) ลูกหนี้หรือจำเลย ก็จะเป็น "ไท" ในทันที ไม่ต้องมาชดใช้หนี้สินที่เหลืออยู่อีกต่อไป

แท็กซ์: แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,ชำระหนี้ติดแบล็คลิสต์,ใช้หนี้,ลูกหนี้,หนีหนี้,หนี้หมดอายุความ,ประนอมหนี้,กรมบังคับคดี,หนี้,เป็นหนี้


วิธีปลดหนี้แบล็คลิสต์

วิธีปลดหนี้แบล็คลิสต์
วิธีปลดหนี้แบล็คลิสต์
      วิธีปลดหนี้แบล็คลิสต์
       วิธีปลดหนี้แบล็คลิสต์ ง่ายๆ ครับ ก็คือ ....จ่ายหนี้หมดตามกำหนด แค่นั้นเอง (ที่ตอบสั้นๆ แบบนี้ ไม่ได้คิดจะกวน...แต่ประการใด)  ความจริงก็มีแค่นั้น เป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ครับ แล้วก็มีข้อแนะนำสำหรับคนที่มีหนี้บัตรเครดิตหลายๆ ใบ ง่ายๆ คือ
    -เช็คบัตรเครดิตของตัวเองว่ามีกี่ใบ เป็นหนี้อยู่เท่าไหร่ อยู่กี่ใบ ต้องจ่ายใบไหนจำนวนเท่าไหร่ จดมาเป็นรายการเพื่อเปรียบเทียบ
    -เช็คค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย ของบัตรแต่ละใบที่เป็นหนี้ และจดเพื่อเปรียบเทียบว่าควรจะชำระหนี้ของบัตรใบไหนก่อน
    -ลองโทรศัพท์เพื่อเจรจาต่อรอง เรื่องของดอกเบี้ยบัตรเครดิต ของธนาคารนั้นๆ อาจจะไม่สำเร็จทุกธนาคารไปแต่อย่างน้อยก็ได้ลองแล้ว ถ้าสำเร็จก็จะลดภาระของเราลง
    -ชำระหนี้ ซึ่งแน่นอนต้องเป็นบัตรที่มีดอกเบี้ยสูํง อยู่แล้วแต่ ควรต้องจ่ายให้มากกว่าขั้นต่ำมากๆ นะเพื่อให้บัตรหมดไวที่สุด แต่ต้องอย่าลืมจ่ายเบี้ยของบัตรที่ตอกเบี้ยต่ำกว่าด้วยนะ อาจชำระที่ขั้นต่ำก็ได้ ไม่งั้นโดนค่าปรับได้ (ย้ำนะครับว่าต้องชำระหนี้ของบัตรที่ดอกเบี้ยสูง โดยผ่อนให้มากกว่าขั้นต่ำ ส่วนบัตรที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าให้ผ่อนแค่ขั้นต่ำก็พอ พอบัตรที่ดอกเบี้ยสูงหมดแล้ว ก็เริ่มผ่อนจำนวณมากๆ กับบัตรที่ดอกเบี้ยต่ำ) ถ้าทำได้อย่างนี้ ไม่นานนักก็จะหมดนี้บัตรเครดิตได้ครับ หรืออาจใช้บริการโอนหนี้บัตรเครดิต ซึ่งก็มีอยู่หลายธนาคาร เพื่อรวมหนี้บัตรเครดิตทั้งให้เหลือเพียงที่เดียว ซึ่งอาจจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าได้ แต่ต้องศึกษารายละเอียดค่าธรรมเนียมดอกเบี้ยต่างๆ ก่อนนะครับ
    ห้ามนะครับ ถ้าอยากปลดหนี้ก็อย่าหาหนี้มาใส่ตัวอีกนะครับ เพราะไม่งั้นคงจะแก้ปัญหากันไม่จบอย่างแน่นอน
    ชำระหนี้ : การชำระหนี้บัตรเครดิตนั้น ทางธนาคารจะนำยอดที่ชำระหนี้ไปชำระดอกเบี้ยบัตรเครดิตก่อน แล้วที่เหลือจึงนำไปชำระเงินต้น และแน่นอนว่าเงินต้น คือเงินที่จะนำมาใช้ในการคิดดอกเบี้ย ดังนั้นวิธีการที่ดีก็คือ ต้องชำระหนี้บัตรเครดิตให้มากกว่าขั้นต่ำ เพื่อให้เงินที่เหลือเพื่อไปชำระเงินต้นมากขึ้น ทำให้เงินต้นลดลงและดอกเบี้ยที่เกิดมาใหม่นั้นจะลดลงด้วย ซึ่งถ้ามัวแต่ชำระขั้นต่ำนั้น รับรองว่ากว่าจะหมดหนี้นั้นนานมากอย่างแน่นอน

แท็กซ์: วิธีปลดหนี้แบล็คลิสต์,หนี้แบล็คลิสต์,แบล็คลิสต์,ชำระหนี้แบล็คลิสต์

ติดแบล็คลิสต์...อยากกู้เงินซื้อรถยนต์ จะผ่านหรือไม่

ติดแบล็คลิสต์...อยากกู้เงินซื้อรถ  จะผ่านหรือไม่

ติดแบล็คลิสต์...อยากกู้เงินซื้อรถ  จะผ่านหรือไม่

ติดแบล็คลิสต์...อยากกู้เงินซื้อรถ  จะผ่านหรือไม่
      กับคำถามที่ถามกันบ่อยๆ และสงสัยกันมาก ว่า หากติดแบล็คลิสต์ อยากจะกู้เงินกับสถาบันการเงินต่างๆ มีโอกาสที่สถาบันการเงินนั้นๆ อนุมัติสินเชื่อ ปล่อยสินเชื่อให้กับเราหรือไม่ สำหรับคนที่มีสถานะเครดิตบูโรโชว์ โดยที่มียอดค้างชำระหนี้ ไม่ได้ชำระหนี้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานมาก (เกิน300วัน) ซึ่งก็คงทราบกันทั่วหน้าว่าเองติดแบล็คลิสต์แล้ว แต่ถ้าหากมีความต้องการที่จะกู้ซื้อรถ มันก็มีประเด็นสงสัยกันว่า ถ้ากู้ซื้อรถยนต์สภาพใหม่ (กู้ซื้อรถรถยนต์ใหม่) เรามีโอกาสที่แบงค์ต่างๆ จะอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้กู้ที่ติดแบล็คลิสต์หรือไม่
     ประเด็นติดแบล็คลิสต์กู้ซื้อรถยนต์ได้ไหม ถ้าคุณต้องการวงเงินกู้ซื้อรถที่สูงนั้นความเป็นไปได้ที่วงเงินจะอนุมัตินั้นน้อยมากๆ กลับกันถ้ากู้ซื้อรถในวงเงินที่ไม่สูงมากนักโอกาสที่จะอนุมัติวงเงินก็จะมีความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการกู้ซื้อรถวงเงินสูงหรือกู้ซื้อรถเต็มวงเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ซื้อรถและที่สำคัญนั้นจะต้องมีผู้ค้ำประกันรถยนต์ที่มีประวัติเครดิตบูโรที่ดี มีอาชีการงานที่มั่นคง มีรายได้ชัดเจนต่อเดือนสม่ำเสมอ เป็นผู้ค้ำประกันกู้ซื้อรถในครั้งนี้ด้วยเพื่อที่จะให้สถาบันการเงินเกิดความน่าเชื่อถือว่าปล่อยกู้ซื้อรถให้แล้วนั้นจะไม่กลายเป็นหนี้เสีย(หนี้สูญ) จนมีเหตุการณ์จะต้องตามยึดรถเกิดขึ้น  สรุปให้เห็นแบบชัดเจนเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
    -ติดแบล็คลิสต์ต้องการกู้ซื้อรถยนต์ด้วยตัวคนเดียว โอกาสอนุมัติเกือบเท่ากับศูนย์
    -ติดแบล็คลิสต์ต้องการกู้ซื้อรถยนต์มีผู้ค้ำประกันรถประวัติเครดิตบูโรสถานะดี มีโอกาสอนุมัติเงินกู้ซื้อรถเป็นไปได้
    -ติดแบล็คลิสต์รถยนต์ต้องการกู้ซื้อรถยนต์ โอกาสอนุมัติเงินกู้ซื้อรถนั้นค่อนข้างที่จะเป็นไปไม่ได้
    -ติดแบล็คลิสต์บัตรเครดิตต้องการกู้ซื้อรถยนต์ โอกาสอนุมัติเงินกู้ซื้อรถมีความเป็นไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติผู้กู้ซื้อรถเป็นหลักว่าติดแบล็คลิสต์บัตรเครดิตในลักษณะใด เช่น ประนอมหนี้ผ่อนจนครบหรือยังผ่อนชำระอยู่ / ประนอมหนี้และชำระหนี้ในครั้งเดียวหมด เป็นต้น อย่างไรก็ตามต้องมีผู้ค้ำประกันรถที่สถานะแสดงเครดิตบูโรที่ดี อาชีพการงานมั่นคง รายได้แน่นอนทุกเดือน

    หมายเหตุ ติดแบล็คลิสต์  อยากกู้เงินซื้อรถมีความเป็นไปได้ ตามรายละเอียดเบื้องต้นที่กล่าวมา ทั้งนี้การกู้ซื้อรถนั้นการอนุมัติวงเงินกู้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทางสถาบันการเงินเป็นผู้กำหนด
      
แท็กซ์: ติดแบล็คลิสต์อยากกู้เงินซื้อรถ  จะผ่านหรือไม่,ติดแบล็คลิสต์อยากกู้เงินซื้อรถยนต์,สินเชื่อรถยนต์,แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,กู้เงิน,สถาบันการเงิน,เครดิตบูโร,ประวัติเครดิตบูโร,ติดแบล็คลิสต์กู้ซื้อรถ

ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 4)

ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 4)
      และก็มาถึงช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ ซึ่งบทความนี้นำเสนอเรื่อง วิธีตรวจสอบเครดิตบูโร เป็นตอนสุดท้าย หลังจากนำเสนอไปแล้วตั้งแต่ตอนที่ 1 จนถึงตอนที่ 3 หากว่ายังไม่ได้อ่าน หรืออยากทราบรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับช่องทางการตรวจสอบเครดิตบูโรแบบเต็มๆ ก็แนะนำให้กลับไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก และตอนนี้ก็มาต่อกันเลยกับ  ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 4) นำเสนอการตรวจสอบเครดิตบูโรช่องทางสุดท้าย
      4ยื่นคำขอผ่านเคาน์เตอร์์ธนาคาร
กรณียื่นคำขอผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร สามารถยื่นคำขอได้ที่
  • บมจ.ธนาคารธนชาต (TBANK)
  • บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB)
  • บมจ.ธนาคารไอซีบีซีที (ICBCT)
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB)
       การให้บริการยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตผ่านเคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารธนาชาต,บมจ.ธนาคารกรุงไทย, บมจ.ธนาคารไอซีบีซีที และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทุกแห่งทั่วประเทศนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะที่อยู่ในภูมิภาคสามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้องของประวัติธุรกรรมสินเชื่อของตนเองได้ ทั้งนี้ธนาคารจะทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ในการรับคำขอตรวจสอบและรับชำระค่าตรวจสอบ ซึ่งจะให้บริการเฉพาะเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลธรรมดาและต้องมายื่นขอตรวจสอบด้วยตนเองเท่านั้น โดยบริษัทจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลและจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้แก่ท่าน ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ท่านได้ยื่นคำขอที่ธนาคาร
ขั้นตอนการขอยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารธนชาต,บมจ.ธนาคารกรุงไทย,บมจ.ไอซีบีซีที และธนาคารอาคารสงเคราะห์

ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 3)

ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 3)
     ก่อนหน้านี้เคยเขียน ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ  ซึ่งนำเสนอไปแล้วเป็นตอนที่ 1 และ ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ  (ตอนที่ 2) หากว่ายังไม่ได้อ่าน หรืออยากทราบรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับช่องทางการตรวจสอบเครดิตบูโรแบบเต็มๆ ก็แนะนำให้ไปอ่านด้วย และตอนนี้ก็มาต่อกันเลยกับ  ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 3) นำเสนอการตรวจสอบเครดิตบูโร ช่องทางต่อไป
     

3. ขั้นตอนการยื่นขอตรวจสอบเครดิตบูโรที่ตู้เบิกเงินสด(ATM) ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
   กรณียื่นคำขอผ่านตู้ ATM ของธนาคาร สามารถใช้บริการได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารที่เจ้าของข้อมูลถือบัตร
  • บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB) สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ถือบัตร ATM และบัตรเดบิต
  • บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ถือบัตร ATM , บัตรเดบิต และบัตรเครดิต (ที่ใช้เป็นบัตรเอทีเอ็ม)

ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 2)

ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 2)
   ก่อนหน้านี้เคยเขียน ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ ซึ่งนำเสนอไปแล้วเป็นตอนที่ 1 หากว่ายังไม่ได้อ่าน หรืออยากทราบรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับช่องทางการตรวจสอบเครดิตบูโรแบบเต็มๆ ก็แนะนำให้ไปอ่านด้วย และตอนนี้ก็มาต่อกันเลยกับ  ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ (ตอนที่ 2) นำเสนอการตรวจสอบเครดิตบูโรช่องทางต่อไป
   2. ขั้นตอนการยื่นคำขอข้อมูลเครดิตผ่าน Internet Banking  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (สำหรับรายละเอียดให้ดูจากรูปภาพเลยครับ)


แท็กซ์: ช่องทางตรวจสอบเครดิตบูโรอย่างง่ายๆ.เครดิตบูโร, ตรวจสอบเครดิตบูโร, จะตรวจสอบเครดิตบูโรทางเน็ตได้ป่าว, ตรวจสอบเครดิตบูโรได้อย่างไร, เราสามารถ ตรวจสอบเครดิตบูโร ที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารได้หรือไม่ หรือ เช็คเครดิตบูโรผ่านตู้เอทีเอ็ม

ความหมายของตัวย่อในใบรายงานเครดิตบูโร

ความหมายของตัวย่อเครดิตบูโร
    เอามาให้อ่านกันเล่นๆ เวลาไปขอตรวจสอบเครดิตบูโรแล้ว บางท่านอาจเจอสถานะไม่ปกติ ตัวอักษรแปลกๆ ไม่เหมือนคนอื่นๆ จะสอบถามเพื่อนๆ ก็กลัวคนอื่นจะสงสัยหรือคิดว่าเครดิตบูโรเราไม่ปกติหรืออย่างไรก็แล้วแต่ มาดูกันเลยครับ กับ ความหมายตัวอักษรย่อในรายงานเครดิตบูโร

ความหมายของ "รหัสสถานะ" ทั้งหมดในเครดิตบูโร
A0 = บัญชีปกติ
D1 = อยู่ในระหว่าการเจรจาให้ชำระหนี้
D3 = มีการประนอมหนี้ หรือ มีข้อตกลงในการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่
D5 = มียอดค้างชำระ
F0 = กำลังตรวจสอบบัตรเครดิต หรือบัตรประจำตัว เนื่องจากถูกฉ้อฉล
F1 = บัตรเครดิต หรือบัตรประจำตัว เคยถูกใช้ฉ้อฉล
L0 =อยู่ในระหว่างกระบวนการทางกฏหมาย
L3 = ศาลพิพากษายกฟ้อง
S0 = บัตรเครดิต ถูกขโมย / หาย
T1 = ขายหนี้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือนิติบุคคลอื่น
T3 = โอนหนี้ไปยังบัญชีใหม่ หรือบัญชีอื่น
X0 = ปิดบัญชี
X1 = ระงับการให้บริการ 
(สถานะนี้ร้ายแรง หมายถึงถูกตีเป็นหนี้เสีย และเจ้าหนี้มี  การติดตามทวงถามอยู่ แต่ติดต่อลูกหนี้ไม่ได้)
X2 = ลูกค้าเสียชีวิต หรือสาบสูญ
X5 = ปิดบัญชี ภายหลังจากการติดตามทวงถาม
(สถานะนี้ไม่ดีเลย  หลังจากพ้น 3 ปีไปแล้ว ลูกหนี้ต้องนำเอกสารหลักฐานการปิดบัญชีไปขอแก้ไขข้อมูลเครดิต เพื่อให้เครดิตบูโรทำการ “ลบฐานข้อมูลนี้ออกจากบัญชี” เพื่อให้ “สรุปข้อมูลบัญชีสินเชื่อเป็น 0”)
X7 = ปิดบัญชีเนื่องจากหนี้สูญ
10 = สถานะปกติ
11 = สถานะปิดบัญชี
12 = พักชำระหนี้ ตามนโยบายของรัฐ
20 = มีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน

วิธีล้างเครดิตบูโร...ทำได้จริงหรือไม่

วิธีล้างเครดิตบูโร...ทำได้จริงหรือไม่
      สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ แล้ว หากจะทำในเรื่องที่ไม่รู้ก็เป็นเรื่องยากขึ้นมาทันที การกู้เงินในปัจุบัน ก็ยุ่งยากกว่าแต่ก่อนมาก มีทั้ง เครดิตบูโร มาเกี่ยวข้อง มีทั้งสเตทเม้น มีทั้งสำเนานั้น สำเนานี่ เยอะแยะไปหมด เครดิตบูโร คืออะไร อธิบายกันมาก็มาก หากจำไม่ได้หาอ่านเอาจากบทความใน ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เครียร์เครดิตบูโรบล็อก กันได้ เข้าเรื่องเลยครับ วิธีล้างเครดิตบูโร...ทำได้หรือไม่ แล้วทำได้จริงหรือ????


    คำตอบ สำหรับ....วิธีล้างเครดิตบูโร...ทำได้จริงหรือไม่....สำหรับคำตอบ คือ....

ติดแบล็กลิสกับติดเครดิตบูโร...ต่างกันไหม

ติดแบล็กลิสกับติดเครดิตบูโร...ต่างกันไหม
    ติดแบล็คลิส กับ ติดเครดิตบูโ....ต่างกันไหม แล้ว แบล็คลิส มันคือ อะไร ??? เครดิตบูโร ล่ะ มันคืออะไร  เชื่อว่า อาจจะมีหลายคนยังไม่รู้จักเกี่ยวกับ สองคำนี้อย่างชัดเจนนัก บ้างก็อาจคิดว่ามันเหมือนกันมั้งคือประวัติเครดิตเสีย อืม แล้วอันที่จริงเป็นแบบไหนกันนะ  เครดิตบูโร ผมเคยได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าใครยังไม่เข้าใจก็สามารถย้อนกลับไปอ่านได้จากหน้า หลักของ ล้างหนี้แบล็กลิสต์ เครียร์เครดิตบูโรบล็อก กันได้ สำหรับบทความนี้ ขออธิบายเพิ่มเติมว่า แบล็กลิส มันคืออะไร การติดแบล็กลิส มันคืออะไร  สำหรับ แบล็คลิส คือ รายชื่อบุคคลที่มีประวัติเสียทางการเงิน จนถูกขึ้นบัญชีแบล็คลิส สถานะของบุคคลนั้นจะเป็นเหมือนภาพนิ่งครับ ไม่่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เพราะฉะนั้นแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง เครดิตบูโร กับ แบล็คลิส จึงสรุปคร่าวๆ ว่า แบล็คลิส คือคนที่ติดบัญชีของทางธนาคารให้เป็นคน ที่มีประวัติเสียทางการเงิน ส่วนเครดิตบูโร เป็นการรายงานสถานะสินเชื้อย้อนหลัง 24 เดือนอยากจะแนะนำนะครับสำหรับท่านที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงิน ต้องดูถึงความสามารถในการชำระสินเชื่อคืนให้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินด้วยนะครับเพระว่าถ้าชำระเงินคืนไม่ได้ อาจมีผลให้ต้องเสียทรัพย์รวมทั้งประวัติการเงินเสียด้วย ทำให้เวลาขอสินเชื่อต่อไปทำได้ยากยิ่งขึ้น




แท็กซ์: ติดแบล็กลิสกับติดเครดิตบูโร...ต่างกันไหม,ประวัติการติดแบล็คลิส,แบล็กลิส,ติดแบล็คลิส,ติดเครดิตบูโร,เครดิตบูโร,ล้างหนี้แบล็กลิสต์ เครียร์เครดิตบูโร

เครดิตบูโรคืออะไร

เครดิตบูโรคืออะไร
        เป็นคำถามที่มีผู้ค้นหาจากกูเกิลเป็นจำนวนมาก แต่จะมีใครรู้คำตอบ และคำตอบนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เคลียร์เครดิตบูโรบล็อก จึงขออนุญาตนำคำตอบมาจาก บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ มาเน้นย้ำให้ทุกท่านได้อ่าน และทำความเข้าใจกันให้ถูกต้อง ว่า จริงๆ แล้ว เครดิตบูโร คืออะไร
  เครดิตบูโร คือ ........
  เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิต (Credit Bureau) คือ บริษัทที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินหลายๆแห่งที่เป็นสมาชิก นำมารวบรวมประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิตในภาพรวมสำหรับลูกค้าเจ้าของข้อมูลแต่ละราย และเมื่อสถาบันการเงินหรือลูกค้าเจ้าของข้อมูลต้องการเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด บริษัทข้อมูลเครดิตจึงจะเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นในรูปของรายงานข้อมูลเครดิต 




แท็กซ์เครดิตบูโรคืออะไร, เครดิตบูโร, แบล็คลิส, แบล็คลิสต์, ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เคลียร์เครดิตบูโร,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ,ข้อมูลเครดิต,รายงานข้อมูลเครดิต


ประวัติความเป็นมาเครดิตบูโร

ประวัติความเป็นมาเครดิตบูโร

    แนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตนั้น ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โดยสมาคมธนาคารไทยได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามีความประสงค์ให้มีแหล่งกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการให้กู้ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มงานทะเบียนเครดิตกลางขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปี 2538 รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบการเงินขึ้น โดยกล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตไว้ในส่วนขององค์กรทางการเงินที่สนับสนุนการพัฒนาระบบการเงิน และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมและดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต ซึ่งคณะทำงานดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการจนกระทั่งจะมีการลงนามในข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในประเทศสหรัฐ อเมริกา ในปี พ.ศ. 2539 แต่ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย สถาบันการเงินถูกปิดกิจการไปจำนวนมาก และวิกฤตเศษฐกิจดังกล่าวนี้ก็ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตหยุดชะงักไป  จนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 กระทรวงการคลังได้ยืนยันนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและลดภาระหนี้เสียของสถาบันการเงินต่างๆ อันเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนของสถาบันการเงินในประเทศอยู่ในขณะนั้น ในเดือนกรกฎาคม 2541 ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จึงได้สั่งการให้ ธอส. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้น ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประกาศนโยบายให้สมาคมธนาคารไทยเร่งรัดดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต โดยสมาคมธนาคารไทยได้จัดตั้งทีมทำงานในรูปคณะกรรมการเพื่อสานภารกิจต่อไป การดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตจึงได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่จัดตั้งโดย ธอส. ได้จัดตั้ง บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด ขึ้น ส่วนฝ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้จัดตั้ง บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ขึ้น โดยทั้งสองบริษัทก็ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลลูกค้า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพของการให้สินเชื่อ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียในระบบเศรษฐกิจ หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
              บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยฝ่ายของธนาคารแห่งประเทศไทยและ

รายละเอียดโครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน

รายละเอียด  "โครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน "

      โครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน เป็นโครงการที่อยู่ในโครงการพิเศษ สำหรับผู้ที่ติดแบล็คลิสไม่สามารถยื่นเรื่องทำสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ไหนได้ แต่ยังมีความสามารถในการดำเนินงาน และมีความสามารถในการชำระหนี้หลังจากได้รับการผ่อนผันในปัญหาแบล็คลิส โครงการนี้เป็นโครงการที่ต้องประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายกฎหมาย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ บุคคลที่ติดแบล็คลิสจะต้องร่วมมือร่วมใจช่วยกันผลักดันให้โครงการนี้ บรรลุผลสำเร็จให้จงได้ เนื่องจาก โครงการนี้เป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของท่าน ตัวท่านผู้เดียว จะเป็นผู้ขับเคลื่อนกลไกในการปลดแบล็คลิสนี้ ก่อนหน้านี้มีหลาย ๆ ฝ่ายพยายามผลักดันในเรื่องแบล็คลิส แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากการไม่ร่วมมือของผู้ที่ติดแบล็คลิส เช่น ไม่ส่งเอกสารข้อมูลของตนเอง นัดขึ้นศาลแล้วไม่ไปตามนัด เป็นต้น  จึงทำให้บุคคลที่เป็นผู้ดำเนินเรื่อง ไม่สามารถทำเรื่องนี้ให้สำเร็จลงได้เพราะความไม่พร้อมและไม่เดินไปในทิศทางเดียวกันกับหมู่คณะ  ดังนั้น ผู้ที่คิดจะเข้าโครงการนี้ จะต้องรู้โดยจิตสำนึกว่า ตนพร้อมที่จะเข้าโครงการหรือไม่ ถ้าไม่พร้อม ก็ควรให้คนที่พร้อมกว่าตนเอง เป็นผู้ทำงานในโครงการนี้ เพราะ โครงการจะสำเร็จลงได้ ต้องทำงานกันเป็นทีม มีความสามัคคีเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2)

ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2)

       จากบทความตอนที่แล้วเกี่ยวกับ ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1)  ต่อไปเรามาดูกันว่า ณ ปัจจุบันนี้ (ตุลาคม 2555) หากติดแบล็คลิสต์แล้ว จะมีวิธีการเคลียร์เครดิตบูโรกันได้อย่างไร ติดตามกันได้ใน ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2) ก็ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าทางผู้เขียนเอง ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับส่ิงที่แนะนำไป และตัวผมเองก็ไม่เคยทำด้วย เลยไม่ทราบเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นเพียงแค่อ่านแล้วเห็นว่าดีที่สุด ในตอนนี้ เลยเอามาฝากคนที่อ่านบทความในเวปกันนะครับ ณ ปัจจุบัน ที่ค้นเจอในระบบอันเตอร์เน็ต ก็จะมีโครงการ “ ปลดแบล็กลิสตนเองเพื่อมหาชน ” เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ท่านที่มีปัญหาทางการเงิน ถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ  เราเรียกกันสั้นๆ ว่า ติดแบล็กลิส จนไม่สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินใดได้ รวมกลุ่มกัน เพื่อเพิ่มอำนาจการขออนุมัติผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่ จากสถาบันการเงินภาครัฐ ที่สามารถแก้ไขปัญหาของท่านได้ ด้วยการโอนหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ของท่าน ไปเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่ที่มีสถาบันการเงินภาครัฐควบคุม และบริหาร  โดยโครงการดังกล่าวทำขึ้นเพื่อ.........
    ==>> ทำให้ท่านสามารถรวมหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ( ติดแบล็กลิส ) เป็นจำนวนเดียวได้ เพราะ เป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่ ที่สถาบันการเงินภาครัฐ ซื้อหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ( ติดแบล็กลิส ) ของท่านมาบริหารเป็นการสร้างรายได้ให้สถาบันการเงินภาครัฐ ทั้งยังสามารถนำกลุ่มผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ“ ปลดแบล็กลิสตนเองเพื่อมหาชน ” มาเป็นกลุ่มกรณีศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาผู้มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ( ติดแบล็กลิส ) ทั้งระบบอีกด้วย
   ==>> ทำให้ท่านสามารถแก้ไขข้อมูลประวัติทางการเงินได้ เพราะ เมื่อสถาบันการเงินภาครัฐซื้อหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ( ติดแบล็กลิส ) ของท่านมาบริหาร ทำให้ท่านไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงินที่ฟ้องบังคับให้ท่านชำระหนี้อีกต่อไป ทั้งยังช่วยให้ท่านสามารถสร้างเครดิตทางการเงินใหม่ได้จากประวัติการชำระหนี้ที่ท่านชำระให้แก่สถาบันการเงินภาครัฐต่อไป
  ดังนั้น สำหรับท่านที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ  “ ปลดแบล็กลิสตนเองเพื่อมหาชน ” สนใจจะดูรายละเอียด เกี่ยวกับโครงการ คลิ๊กที่... โครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน 



แท็กซ์:ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1), แบล็คลิส, ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2), แบล็คลิส, ติดแบล็คลิสต์,เคลียร์แบล็คลิสต์,โครงการปลอดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน,รายละเอียดโครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน,ปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน

ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1)


ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1)
        ติดแบล็คลิสต์ (blacklist) บางคนเรียก  ติดบูโร, ติดเครดิตบูโร, ติดบัญชีดำ,มีประวัติในเครดิตบูโร และอื่นๆ แล้วแต่จะเรียกกัน แต่โดยสรุปแล้วก็คือ มีประวัติการทางการเงินที่ไม่ดีเลย เช่น มีหนี้ค้างจ่าย, จ่ายไม่ตรงกับยอดขั้นตำ, ไม่จ่าย สรุปแล้ว ไม่สามารถทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินใดๆ ได้เลย (พูดซะหรู..เรียกว่า จะไปกู้เงินซื้อบ้าน กู้เงินซื้อรถ กู้เงินซื้อนั่น....ซื้อนี้...อดครับ บอกได้คำเดียว)   ติดแบล็คลิสต์ คำๆ นี้ ไม่มีใครปรารถนา แต่ถ้า.....มันติดไปแล้ว จะทำอย่างไร  มีวิธีเคลียร์เครดิตบูโรหรือไม่ ล้างหนี้บูโร จะทำอย่างไร ปัญหานี้นับว่าเป็นปัญหาที่นับว่่าหากจะบอกว่าง่าย ก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เนื่องจาก หากมีเงินไปจ่าย รอเวลา 3 ปี ในรายงานเครดิตบูโรก็ไม่โชว์ว่าติดแบล็คลิสต์แล้ว แต่ประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ หาเช้ากินค่ำ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย (ถึงต้องไปกู้เงินมาใช้ก่อนไงครับ...จริงไหม) มีประโยคกล่าวว่า  ปัญหามีไว้แก้ไข และทุกปัญหามีทางออกเสมอ ก่อนอื่น เรามาดูสาเหตุติดแบล็คลิสต์ กัน ว่าทำไม ถึงติดแบล็คลิสต์ได้ เพื่อจะหาทางแก้ไขต่อไป
 
   1.ติดเครดิตบูโร (เนื่องจากหนี้เกินเงินเดือน เลยทำให้จ่ายล่าช้า สุดท้ายจ่ายไม่ไหว)
   2.มีหนี้เก่าต้องเคลียร์
   3.มีภาระผ่อนหลายที่ (หมุนบัตรนู้นมาใส่บัตรนี้ เพื่อให้รอดเป็นเดือนๆไปเท่านั้น)
   4.เป็นหนี้นอกระบบ (จ่ายแต่ดอก ต้นไม่ลด)
   5.ค่าใช้จ่ายรายเดือนสูง(จ่ายเกินเงินเดือน)
   6.บัญชีเก่าปิดไม่ลง(ไม่รู้จะหาเงินจากที่ไหนมาปิด)
ต่อไปเรามาดูกันว่า ณ ปัจจุบันนี้ (ตุลาคม 2555) หากติดแบล็คลิสต์แล้ว จะมีวิธีการเคลียร์เครดิตบูโรกันได้อย่างไร ติดตามกันได้ใน ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2)


แท็กซ์: เคลียร์เครดิตบูโร, แบล็คลิสต์, กู้เงิน,กู้เงินซื้อบ้าน,กู้เงินซื้อรถ,ติดแบล็คลิสต์,เครดิตบูโร,วิธีเคลียร์เครดิตบูโร,สาเหตุติดแบล็คลิสต์

ติดแบล็คลิสเครดิตบูโร อยากจะกู้...กูรู...มีคำตอบ

ติดแบล็คลิส เครดิตบูโร อยากจะกู้เงิน...กูรู...มีคำตอบ
   ทุกวันนี้หากว่าใคร ติดแบล็คลิสต์ หรือ ติดเครดิตบูโร  ก็เรียกได้ว่า ไม่มีโอกาสเป็นหนี้ (ว่าแต่มันจะเป็นการดีหรือไม่ดีล่ะ ที่ไม่มีหนี้) เรียกว่าแทบจะหมดสิ้นเครดิต กู้เงิน หรือจะทำสินเชื่อใครไม่ได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะจากฝ่ายสินเชื่อของธนาคารรวมถึงธุรกิจ ธุรกรรมกับสถาบันการเงินต่างๆ ก็ไม่อาจทำได้ ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้เขียนในหลายๆ บทความ และหลายๆ ครั้ง เกี่ยวกับความหมายที่แท้งจริง ของ เครดิตบูโร หรือ แบล็คลิส (สามารถหาได้จากบทความเก่าๆ ภายใน ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เคลียร์เครดิตบูโร ก่อนจะกู้เงิน บล็อค บทความนี้ก็จะมาย้ำกันอีกที เกี่ยวกับเครดิตบูโร ซึ่งจริงๆ แล้ว เครดิตบูโร มีหน้าเป็นเพียงตัวกลางในการรับและจัดเก็บข้อมูลเครดิตให้กับสถาบันการเงินสมาชิก  และต้องนำส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าที่มีอยู่ของตนเองให้กับเครดิตบูโรทุกเดือน
 “ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่าถ้า ค้างชำระหนี้เกิน 3 ปี แล้วข้อมูลเครดิตจะถูกลบ หรือถ้าแบงก์ไม่ติดตามทวงถามหนี้เกินอายุความแล้ว ข้อมูลเครดิตจะถูกลบ หรือออกจากระบวนการล้มละลายแล้วข้อมูลเครดิตจะถูกลบความเข้าใจทั้งหมด ที่กล่าวมานั้นไม่เป็นความจริง ข้อมูลเครดิตจะยังคงอยู่หากยังมีหนี้ค้างชำระอยู่ ซึ่งจะปรากฏตามข้อเท็จจริง มีความถูกต้อง แต่บางครั้งจะไม่ถูกใจ” เช่น นาย ก มีการค้างชำระบัตรเครดิต 20,000 บาทในเดือนสิงหาคม 2554 ต่อมาชำระในเดือนธันวาคม 2554 รายงานก็จะระบุว่า เดือนสิงหาคมมียอดค้างชำระ 20,000 บาท 
     ข้อมูลในเดือนธันวาคมก็จะมียอด ค้างเท่ากับ 0 และปรากฏข้อมูลว่าไม่มีการค้างชำระ สถานะบัญชีปกติ “ข้อมูลเครดิตจะมีการส่งเข้ามาทุกเดือน เช่น เริ่มมีบัญชีสินเชื่อบัตรเครดิตเดือนที่ 1 พอครบสิบเดือนก็จะมีการส่งข้อมูลเข้ามาตามข้อเท็จจริง พอเดือนที่ 2 ก็ส่งเข้ามาเรื่อยๆ จนครบ 36 เดือน หรือข้อมูลมี 36 บรรทัด ข้อมูลเดือนที่ 1 จะไม่ไปทับข้อมูลเดือนที่ 2 นะครับ แต่เมื่อมีข้อมูลเดือนที่ 37 เข้ามาใหม่ ข้อมูลเดือนที่ 1 ซึ่งอยู่กับเครดิตบูโรมาแล้ว 36 เดือนหรือ 3 ปี ก็จะถูกลบออกไป 
      ตามตัวอย่างหากเดือนที่ 1 ไม่จ่ายแล้วลากยาวมาถึงเดือนที่ 36 และเดือนที่ 37 ก็ยังไม่จ่ายหนี้ ข้อมูลตังแต่เดือนที่ 2 จนถึงเดือนที่ 37 ก็จะแสดงว่าค้างชำระคิดเป็น 36 บรรทัด ขณะที่เดือนที่ 1 ก็จะถูกลบออกไป นี่คือสิ่งที่เข้าใจกันผิดมากที่สุด”
     “การไม่ต้องการให้ใคร สถาบันการเงินไหนเห็นประวัติที่เราอาจไม่ชอบ แล้วขอให้เครดิตบูโรย้อนไปลบข้อมูลในเดือนนั้นๆ ไม่สามารถทำได้ เพราะประวัติของคนเรา ของบริษัทจะขาดหายไปไม่ได้ เช่นเดียวกันกับสมุดพกการเรียน การศึกษา สอบได้อย่างไร คะแนนอย่างไร ในเทอมไหนก็จะรายงานออกมาอย่างนั้น” 
      นายสุรพล โอภาสเถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตรแห่งชาติ จำกัด ยืนยันว่า เครดิตบูโรไม่มีและไม่เคยมี Blacklist “ที่พูดๆ กันนั้น

จ้างเดินบัญชี(ทำสเตทเม้น)ช่วยให้ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์กู้ผ่านจริงหรือ

จ้างเดินบัญชี(ทำสเตทเม้น)ช่วยให้ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์กู้ผ่านจริงหรือ????

จ้างเดินบัญชี(ทำสเตทเม้น)ช่วยให้ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์กู้ผ่านจริงหรือ????
   สเตทเม้น  คือ หลักฐานอีกหนึ่งอย่างที่สถาบันการเงินเรียกจากผู้ที่ขอกู้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการมีรายได้ การมีเงินฝาก เงินออม หรือจำนวนรายได้ สถาบันบางแห่งอาจจะขอ สเตทเม้น 3 เดือนบ้าง 6  เดือนบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะขอสเตทเม้นกันที่ประมาณ  6  เดือน เคยสงสัยกันไหมว่าเมื่อสถาบันการเงินที่เราขอกู้ได้สเตทเม้นแล้วจะพิจารณา อะไรบ้าง หลักๆ แล้ว จะดูรายได้ ซึ่งก็คือเงินเดือนที่ผ่านบัญชี  มีรายรับเข้ามาเท่าไหร่ สม่ำเสมอ หรือไม่ มีรายได้อื่นๆ ทีฝากเข้าไปในบัญชีหรือไม่ บัญชีมีการถอน-ฝาก อย่างไร พูดง่ายๆ ก็คือจะวิเคราะห์วินัยทางการเงินของเรา เช่น เงืนเดือนเข้ามา เราถอนออกไปเท่าไหร่ เหลือติดบัญชี เป็นเงินฝากหรือไม่  ซึ่งสเตทเม้นก็จะเป็นหลักฐานอีกหนึ่งอย่างที่สถาบันการเงินจะพิจารณาร่วม ด้วยในการอนุมัติสินเชื่อปล่อยกู้เงินให้เรา ทำให้ปัจจุบันการเดินบัญชีธนาคารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำธุรกรรมการเงินเป็น อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเงิน อย่าง ติดแบล็คลิสต์ แต่อยากกู้เงิน จึงเกิดมีพวกมิจฉาชีพมาแฝงอยู่กับอาชีพนี้เป็นจำนวนมากเหมือนกัน คราวนี้เราจะมาเรารู้วิธีรับมือและรู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพกันดีกว่า..วิธีการ ตรวจสอบว่าพวกที่รับจ้างเดินบัญชีธนาคารเป็นพวกมิจฉาชีพหรือไม่  คร่าวๆ สามารถทำได้ง่ายๆ  ดังนี้

เครดิตบูโรหลักฐานสำคัญที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก


เครดิตบูโรกับการอนุมัติเงินกู้ของสถาบันการเงิน

    จากหลายๆบทความและหลายๆ เวปไซต์ ที่บอกถึงที่มาที่ไปของเครดิตบูโร และในปัจจุบันนี้เรียกได้เลยว่า เครดิตบูโร เป็นหลักฐานอีกหนึ่งอย่างที่สถาบันการเงินจะต้องเรียกเอาจากผู้กู้ทุกราย ที่จะต้องการจะขอสินเชื่อ พูดง่ายๆ ก็จะขอกู้เงินกับสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเงินกู้ส่วนบุคคล จะกู้มาก กู้น้อย ก็ต้องแสดงเครดิตบูโร ไม่มีข้อยกเว้น เห็นไหมครับว่าในปัจจุบันนี้ เครดิตบูโร กลายมาเป็นหลักฐานหรือองค์ประกอบสำคัญ นอกจาก สลิบเงินเดือน รายงานบัญชีย้อนหลัง สำเนาบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน แล้วก็หลักฐานอื่นๆ ตามที่จะเรียกหาได้ หลักฐานเหล่านี้คือ สิ่งที่สถาบันการเงินต่างๆ จะพิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้กับผู้กู้ ที่จะให้น้ำหนักมาก ก็คือ เครดิตบูโร (ไม่สำคัญ แต่ดูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าติดแบล็คลิสต์ ละก็ 99.99% ทำใจเรื่องที่สถาบันการเงินจะอนุมัติได้เลย) หลักฐานต่อไปก็คือรายได้ ,แหล่งที่มาของรายได้ และส่วนที่สุดท้ายคือ หลักฐานเกี่ยวกับที่พักอาศัย จะสังเกตุได้ว่าทั้งๆ ที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเรียกสั้นๆว่า เครดิตบูโร เองก็ยืนยันมาตลอดว่า จริงๆ แล้วทำหน้าที่แค่เก็บรักษาข้อมูลต่างๆ ของลูกเค้าเท่านั้น ธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า (ผู้กู้เอง)  แต่ดูๆ ไปแล้ว เครดิตบูโรไม่สวย ติดแบล็คลิสต์ เรื่อง......อนุมัติ หน่ะหรอ ผมว่ายากมาก ก็คิดเอาเองละกันครับว่าเดี๋ยวนี้ สถาบันการเงิน ต่างๆ ให้ความสำคัญกับเครดิตบูโรมากแค่ไหน......แล้วเจอกันใหม่ครับ



แท็กซ์:เครดิตบูโรหลักฐานสำคัญที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก, เครดิตบูโร,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ,เครดิต,ติดแบล็คลิสต์,ติดเครดิตบูโร



ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 1)

ติดเครดิตบูโรกู้ได้  (ตอนที่ 1)

   มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีประวัติการเงินไม่ค่อยดี ไปจนกระทั่งถึงขั้นมีเครดิต "เลวร้าย" มีชื่อติด "บัญชีดำ" (Black list) โดยสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อรายงานข้อมูลไปยัง "เครดิตบูโร" ไม่ว่าจะด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุผลความจำเป็นไม่ตั้งใจจะไม่จ่าย หรือถูกแรงบีบรัดทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ จนเกิดหนี้ค้างชำระเป็น "ตัวแดง" ผลที่ตามมา.. ผู้ขอกู้มักจะไม่ได้รับการ "อนุมัติ" ปล่อยกู้จาสถาบันการเงิน เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องขอใช้บริการเงินกู้จากสถาบันการเงินในครั้งใหม่ ..แต่ผิดนัดชำระแบบไหน ถึงเรียกว่าเข้าเขต "อันตราย" ที่แบงก์จะไม่อนุมัติปล่อยกู้ หรือมีชื่อใน "บัญชีดำ" !!  "แบงก์จะพิจารณาประวัติย้อนหลังของผู้ขอกู้ว่า ปัจจุบันมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ อาจจะบอกไม่ได้ว่าผิดนัดชำระกี่งวดถึงจะติดแบล็คลิสต์ แต่การที่ผู้กู้ค้างชำระหนี้ติดต่อกันหลายงวด เช่น 6-7 รอบบัญชี ขณะที่มียอดหนี้จำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ได้ว่าผู้ขอกู้มีปัญหาทางการเงินแล้ว ฉะนั้น ผู้ขอกู้จึงไม่ควรผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 รอบจะดีที่สุด" "นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์" ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ "เครดิตบูโร" กล่าว ทางที่ดี การรักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดีต่อเนื่องระยะยาวมากๆ ย่อมเป็นผลดีต่อเครดิตการเงินของผู้กู้ เพื่อจะได้ไม่ถูกปฏิเสธสินเชื่อ  "ประวัติการชำระหนี้ที่ดี ยิ่งยาวยิ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ขอสินเชื่อ เพราะหากผู้ขอกู้ผิดนัดชำระ 1-2 งวด แบงก์อาจมองว่าไม่ได้มีปัญหาทางการเงิน แต่อาจลืมจ่ายค่างวด ทำให้ไม่ถูกปฏิเสธสินเชื่อใหม่ และยังเป็นการสร้างเครดิตการเงินที่ดีในระยะยาวให้แก่ตัวเองอีกด้วย"  นิวัฒน์บอกว่า การที่ผู้กู้มีชื่อและข้อมูลการชำระหนี้ในเครดิตบูโร ไม่ได้หมายความว่าจะต้องติดแบล็คลิสต์

ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 2)

ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 2)

  จาก ติดเครดิตบูโรกู้ได้  (ตอนที่ 1) มาต่อกันเลยครับ ....เมื่อติดแบล็คลิสต์ แล้ว ใช่ว่า...ชีวิตจะถึง "จุดจบ" ทางการเงิน ในความเป็นจริงแล้วยังมีแนวทาง "กอบกู้" ประวัติการเงินให้กลับมาดีดังเดิมได้.. แนวทางกู้เครดิต "เสีย" และสร้างเครดิตใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกแบงก์ปฏิเสธการให้สินเชื่อครั้งใหม่.. สิ่งที่ควรทำอย่างแรกเลย..ให้เข้าพบสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอ "ผ่อนระยะเวลา" ชำระหนี้ออกไป เช่น 10-12 เดือน เป็นต้น "เมื่อเราไม่มีเงินชำระหนี้ทั้งหมด ทางเดียวก็คือการเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อทำการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ และหาทางทำสัญญาเพิ่มเติม ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเข้าไปเจรจาหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เป็นผลด้านบวกกับเรา เพราะแสดงให้เจ้าหนี้เห็นว่าเรามีความตั้งใจที่จะจ่ายหนี้ ไม่หนีหนี้" "วงศ์วริศ ดุลยนิติโกศล" รองผู้จัดการ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ กล่าว  นอกจากนั้น เมื่ออยู่ระหว่างปลดหนี้ จะต้องจ่ายให้ตรงเวลาทุกงวด และที่สำคัญควรเก็บเอกสารการชำระหนี้ทุกชิ้นไว้ทั้งหมด เพื่อเป็นหลักฐาน ..หากมีหนี้สินอื่นๆ ที่จ่ายตรงเวลา ให้รักษาเครดิตให้ดีไว้ตลอดไป และควรจะเก็บสเตทเมนท์ที่เราจ่ายค่างวดไว้ตลอด เพราะสามารถนำสเตทเมนท์ที่ชำระตรงเวลานี้เพื่อเป็นหลักฐาน ไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูเมื่อเวลาต้องการขอสินเชื่อตัวใหม่หลังจากที่พ้นแบล็คลิสต์ ..อย่าก่อหนี้ซ้ำซาก ..เพราะหากมีหนี้เสียหลายรายการ เป็นการแสดงให้เห็นว่านิสัยการเงินย่ำแย่ แม้ว่าจะได้ปลดหนี้เสีย แต่หลายครั้งก็จะทำให้แบงก์รายใหม่ไม่ให้สินเชื่ออีกแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำหลังจากชำระหนี้และปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ก็คือ ต้องไป "เช็ค" เครดิตด้วยตัวเองที่บริษัทข้อมูลแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เพื่อตรวจสอบว่าสถาบันการเงินเจ้าหนี้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเครดิตให้หรือยัง.."เครดิตการเงินที่เสียไปแล้ว จะมีผลทำให้การกู้ยืมในสิ่งที่จำเป็นไม่ได้เป็นเวลาหลายปีอย่างน้อย 3 ปี เพราะประวัติการชำระหนี้จะ "ถูกลบ" จากเครดิตบูโรหลัง 36 เดือน หรือ 3 ปีเป็นต้นไป ฉะนั้น หากสามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ หรือเคลียร์หนี้จบสิ้น ผู้ขอกู้ก็จะสามารถกลับมาขอสินเชื่อใหม่ได้" ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินรายหนึ่งให้ความเห็น  แต่ทางที่ดี เพื่อไม่ให้เครดิตการเงินของเรา "เสียหาย" .. เครดิตบูโรให้คำแนะนำในการ "รักษา" เครดิต ก่อนที่จะเสียเครดิตไปกว่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่มี "บัตรเครดิต" ในกระเป๋าหลายๆ ใบ อาจมีความเสี่ยง "สูง" หากไม่มีวินัยทางการเงิน ไว้ว่า.. 

เครดิตบูโร สิ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนคิดจะกู้เงิน

เครดิตบูโร สิ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนคิดจะกู้เงิน


มีอีเมลสอบถามกันมามาก เกี่ยวกับปัญหาเรื่องเครดิต และเครดิตบูโร ว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ที่เป็นปัญหาหนักอกหนักใจของใครหลายๆ คนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องติดแบล็คลิสต์ แต่อยากจะขอสินเชื่อ ทำอย่างไรจะให้ผ่าน ผมเคยแนะนำไว้ในบทความเก่าๆ ก็ลองหาอ่านกันดูได้ครับ และสำหรับปัจจุบันนี้ มีการให้บริการเคลียร์แบล็คลิสต์ให้ด้วย แต่ผมเองไม่เคยใช้บริการ ก็ได้แค่เตือนให้ระมัดระวังและรอบคอบ เพราะกลโกงเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ไม่เข้าใครออกใคร ก็อยากให้พิจารณาให้ดี เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน เอาล่ะครับ เข้าเรื่องเลย......เครดิตบูโร คือ อะไร สำหรับ 
     -เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิต (Credit Bureau) คือ บริษัทที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินหลายๆแห่งที่เป็นสมาชิก นำมารวบรวมประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิตในภาพรวมสำหรับลูกค้าเจ้าของข้อมูลแต่ละราย และเมื่อสถาบันการเงินหรือลูกค้าเจ้าของข้อมูลต้องการเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด บริษัทข้อมูลเครดิตจึงจะเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นในรูปของรายงานข้อมูลเครดิต แล้วตัวรายงานข้อมูลเครดิต คือ อะไร
     -รายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) คือ รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่ขอสินเชื่อ โดยมีข้อมูลประกอบไปด้วยข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้า และคุณสมบัติของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ และประวัติการขอและการได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ รวมทั้งประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต (รายงานข้อมูลเครดิตก็คือรายงานข้อมูลสินเชื่อ ดังนั้นจึงไม่ใช่ข้อมูลบัญชีเงินฝากหรือข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของเราในรายงานข้อมูลเครดิต)
     -ข้อมูลเครดิตในฐานข้อมูลมิใช่เป็นแบล็คลิส (Black List) แต่อย่างใด จริงๆ แล้ว เครดิตบูโรไม่มีสิทธิ์ในการจัดแบล็กลิสผู้ขอสินเชื่อ  เพราะเครดิตบูโรทำหน้าที่ เฉพาะรวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของสินเชื่อทุกบัญชีจากสถาบันการเงินตามข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันการเงินจะใช้ข้อมูลเครดิตตรงนี้เพื่อเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อ เพราะจริงๆแล้ว สถาบันเงินกู้ต่างๆ จะอนุมัติหรือไม่นั้น ยังขึ้นกับอีกหลายๆ ปัจจัย เช่น รายได้ของผู้สมัครสินเชื่อ หลักประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน เป็นต้น  ในทางกลับกัน หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อตรงเวลา ข้อมูลเครดิตก็จะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ในเมื่อข้อมูลตรงนี้สำคัญ แล้วใครสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตได้บ้าง
     -คำตอบมีแค่ 1 คน กับอีก 1 สถาบันเท่านั้น 1 คน คือตัวเราเอง สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ค่าใช้จ่าย ราคาไม่เกิน 200 บาทต่อฉบับ สำหรับอีก 1 สถาบัน คือ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตเป็นผู้เรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ขอสินเชื่อ ทั้งนี้ในการสมัครขอสินเชื่อนั้นโดยปกติสถาบันการเงินจะขอให้ท่านให้ความยินยอมในการให้บริษัทข้อมูลเครดิตเปิดเผยข้อมูลอยู่แล้ว สงสัยกันบ้างไหมครับว่า แล้วสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตมีธนาคารกี่แห่ง ปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2555)แทบจะเรียกว่าเป็นกันทั่วหน้า ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทสินเชื่อ ลิสซิ่ง บัตรเงินสด มาถึงคำถามสำคัญครับ แล้วระยะเวลาในการเก็บข้อมูลจะเก็บย้อนหลังกี่ปี และมีวงรอบอับเดทเครดิตบูโร เป็นอย่างไร
     -ข้อมูลของบุคคลธรรมดา กฎหมายกำหนดไว้ว่าให้เก็บไว้ในระบบประมวลผลได้ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วนที่สมาชิกรายงานข้อมูลมายังบริษัท โดยที่จะมีข้อมูลใหม่เข้าไปแทนที่ข้อมูลเก่าเรื่อยไป ส่วนการอัพเดดข้อมูลนั้น สถาบันการเงินจะรายงานประวัิติการชำระของคุณเข้ามาที่บริษัทฯ ทุกๆ สิ้นเดือน
     ข้อยกเว้นเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต คือ จะไม่รวมถึงค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าโทรศัพท์บ้าน ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเตอร์เน็ต รวมถึงเงินกู้ยืมของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ) ยังไม่มีการนำส่งข้อมูลเข้ามาในระบบข้อมูลเครดิต

  เป็นไงบ้างครับ คิดว่า คงจะเป็นประโยชน์และไขข้อข้องใจให้กับหลายๆ คนที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับเครดิตบูโร การติดแบล็คลิสต์ และการกู้เงินได้บ้าง แล้วเจอกันใหม่ครับ.....


แท็กซ์:เครดิตบูโร สิ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนคิดจะกู้เงิน, กู้เงิน, แบล็คลิสต์, เครดิตบูโร,ติดแบล็คลิสต์,อยากกู้เงินแต่ติดแบล็คลิสต์,ข้อยกเว้นเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต