หลักเกณฑ์/แนวทางที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้หรือไม่

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กู้เงิน

           อยากทราบกันบ้างไหมครับ ว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ ที่เวลาเราเดินเข้าไปจะเข้าไปกู้เงิน แล้วต้องยกมือไหว้ ทักทาย สวัสดี ทั้งๆ เราเอาเงินไปให้เค้านะ (มากกว่าตอนที่ธนาคารให้มาตั้งเยอะ...ในใจยังคิด จะคิดดอกแพงไรนัก ดอกเบี้ยร้อยละ 28 เชียวหรอ) ก่อนจะผ่านขั้นตอนตรงนั้น ต้องมาเริ่มทีนี่เลย ตรวจหลักฐาน ตรวจสอบประวัติการเงินหรือเรียกสั้นๆ ว่า เช็คเครดิตบูโร ติดแบล็คลิสต์หรือป่าว เอาล่ะ  บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารแสดงรายได้ กรอกแบบฟอร์มตรวจสอบเครดิตบูโร ทุกอย่างครบ........จนท.จะบอกว่า รอธนาคารติดต่อกลับไปค่ะ หลังจากนี้ล่ะ มาดูกันเลย ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินเค้ามีหลักเกณฑ์ หรือแนวทางอนุมัติสินเชื่อ พูดกันภาษาชาวบ้าน จะกู้ผ่านไหม สิ่งที่ธนาคารจะพิจารณา
     1. รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ อันนี้เค้าบอกว่า เมื่อรวมหนี้ทุกอย่างแล้วต้องไม่เกิน  30% (แต่ผมแอบได้ยินมาว่ามีบางธนาคารให้สูงถึง 70% แต่เป็นลูกค้าเฉพาะกลุม.....อันนี้ต้องไปหาข้อมูลเองนะครับ จะกลุ่มไหน)
  2.พระเอกมาแล้ว นั่นคือ...ประวัติลูกหนี้ หรือเครดิตบูโรเองจ้าาา  ชำระตรง ชำระครบ ไม่มีปัญหา จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง อันนี้ต้องลุ้น แต่ส่วนใหญ่ไม่อนุมัติ (เหตุผลหน่ะหรอ ของเก่ายังจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง มากู้เกินกะฉันก็คงเป็นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ฉันไม่อนุมัติ)แต่ถ้าสถานะในเครดิตบูโร ...รอปิดบัญชี....นั่นหมายถึง....ฉันรอให้คุณจ่ายให้หมดก่อนนะถึงจะมายื่นเรื่องกู้ใหม่ ยื่นเรื่องกู้ใหม่แต่ก็ไม่แน่ว่าจะอนุมัติอีกเหมือนกัน
  3.หลักประกันความเสี่่ยง เช่น ปัจจุบันนี้จะมีการบังคับให้ลูกหนี้ทำประกันชีวิตไว้ เป็นต้น
   เห็นไหมครับ ว่ากว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินจะอนุมัติมันยุ่งยากแค่ไหน แล้วเรายังจะไปกู้อีกหรอ อย่างที่ผมแนะนำมาตลอด กู้เท่าที่จำเป็น และส่งได้......นกน้อยทำรังแต่พอตัว...เจอกันใหม่ครับ







แท็กซ์ :   หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กู้เงิน ,เครดิตบูโร,กู้เงิน,แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,สถาบันการเงิน,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ,หลักฐานในการกู้เงิน

ประวัติและความเป็นมาบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร)

ประวัติและความเป็นมาบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร)

แนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตนั้น ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โดยสมาคมธนาคารไทยได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามีความประสงค์ให้มีแหล่งกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการให้กู้ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มงานทะเบียนเครดิตกลางขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปี 2538 รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบการเงินขึ้น โดยกล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตไว้ในส่วนขององค์กรทางการเงินที่สนับสนุนการพัฒนาระบบการเงิน และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมและดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต ซึ่งคณะทำงานดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการจนกระทั่งจะมีการลงนามในข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในประเทศสหรัฐ อเมริกา ในปี พ.ศ. 2539 แต่ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย สถาบันการเงินถูกปิดกิจการไปจำนวนมาก และวิกฤตเศษฐกิจดังกล่าวนี้ก็ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตหยุดชะงักไป  จนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 กระทรวงการคลังได้ยืนยันนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและลดภาระหนี้เสียของสถาบันการเงินต่างๆ อันเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนของสถาบันการเงินในประเทศอยู่ในขณะนั้น ในเดือนกรกฎาคม 2541 ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จึงได้สั่งการให้ ธอส. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้น ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประกาศนโยบายให้สมาคมธนาคารไทยเร่งรัดดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต โดยสมาคมธนาคารไทยได้จัดตั้งทีมทำงานในรูปคณะกรรมการเพื่อสานภารกิจต่อไป การดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตจึงได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่จัดตั้งโดย ธอส. ได้จัดตั้ง บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด ขึ้น ส่วนฝ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้จัดตั้ง บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ขึ้น โดยทั้งสองบริษัทก็ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลลูกค้า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพของการให้สินเชื่อ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียในระบบเศรษฐกิจ หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
              บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยฝ่ายของธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 ด้วยทุนจดทะเบียน 26 ล้านบาท โดยธนาคารพาณิชย์ไทย 13 แห่งที่เป็นสมาชิกสมาคมธนาคารไทยเป็นผู้ถือหุ้น ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก ได้ให้บริการข้อมูลเครดิตทั้งด้านข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา และข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้สถาบันการเงินต่างๆ ได้ใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด และ ได้ลงทุนพัฒนาระบบรายงานข้อมูลเครดิต 2 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบรายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Reporting System) พัฒนาโดย บริษัท Trans Union International หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการข้อมูลเครดิตของโลก และ 2) ระบบรายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Reporting System) พัฒนาโดย บริษัท Dun & Bradstreet บริษัทผู้ให้บริการข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเช่นกัน บริษัทผู้พัฒนาระบบทั้งสองบริษัทนับว่าเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการพัฒนาระบบ และเพิ่มศักยภาพด้านบริการข้อมูลเครดิตของบริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ทั้งนี้ เพื่อให้ความร่วมมือเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น เป็นความร่วมมือระยะยาวและมีความต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2543 บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับทั้ง บริษัท Trans Union International และ บริษัท Dun & Bradstreet (ผ่านบริษัทร่วมทุนในประเทศไทยชื่อ บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน)) และได้เพิ่มทุน เป็น 156 ล้านบาทและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 โดยยังคงมีธนาคารพาณิชย์ไทยทั้ง 13 แห่งถือหุ้นจำนวนเท่าๆ กัน ในอัตราส่วน 50% ส่วนที่เหลืออีก 50% บริษัท TransUnion Inc. และบริษัท Business Online จำกัด ถือหุ้นรายละ 25%  ซึ่งต่อมาได้เพิ่มทุนอีกเป็น 186 ล้านบาทในอัตราส่วนผู้ถือหุ้นที่เท่าเดิม
               ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้รวมกิจการกับบริษัทข้อมูลเครดิตอีกแห่งหนึ่ง คือ บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 250 ล้านบาท และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 ซึ่งมีผู้ถือหุ้นของบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และธนาคารรวมทั้งสถาบันการเงินของรัฐเข้ามาถือหุ้นในบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด โดยสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลังการรวมกิจการ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทยถือหุ้นในอัตราส่วนเท่าๆ กันรวมเป็น 24.50% และบริษัท Business Online จำกัด (มหาชน) บริษัท TransUnion Inc. ถือหุ้นรายละ 12.25% รวมเป็น 24.50% รวมเป็นผู้ถือหุ้นกลุ่มบริษัทข้อมูลเครดิตกลางเดิมถือหุ้นเท่ากับ 49% และผู้ถือหุ้นกลุ่มบริษัทข้อมูลเครดิตไทยถือหุ้น 30% ได้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 15% และบริษัท พีซีซี แคปปิตอล จำกัด 15% ส่วนที่เหลืออีก 21% ถือหุ้นโดยสถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือหุ้นในอัตราส่วน 9%  6% และ 6% ตามลำดับ
          หลังจากการรวมกิจการเป็นต้นมา บริษัทได้พัฒนาระบบการประมวลผลและการรายงานผลข้อมูลเครดิตให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้นบริษัทยังได้พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้มีความถูกต้องและทันสมัย โดยเพิ่มศักยภาพทางด้านการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศให้ดียิ่งขึ้น โดยบริษัทได้กำหนดเป้าหมายที่จะทำการขอใบรับรองเกี่ยวกับระบบบริหารการจัดการความปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Information Security Management System – ISMS) ตามมาตราฐานของ ISO 27001 ภายในปี 2550 นอกจากนั้น บริษัทได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต ตลอดจนบทบาทของบริษัทข้อมูลเครดิตให้มากยิ่งขึ้น โดยบริษัทได้ยึดถือหลักการในการปกป้องและรักษาความลับของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง ตลอดจนคำนึงถือการดูแลและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน








แท็กซ์ :  ประวัติและความเป็นมาบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร),ความรู้เกียวกับเครดิตบูโร,เครดิตบูโร,กู้เงิน,แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,ประวัติบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ,เครดิตบูโร,สถาบันการเงิน,กู้เงิน,เครดิตบูโร, แบล็คลิสต์,กำเนิดเครดิตบูโร,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ


จริงหรือไม่เครดิตบูโรคือเครื่องมือป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่แตก

จริงหรือไม่เครดิตบูโรคือเครื่องมือป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่

ในอดิตหากเราทุกคนจำได้ว่าในปี 2540 เป็นปีที่ประเทศไทยเป็นจุดเร่ิมต้นของวิกฤษการณ์ทางเศรษฐกิจและสถาบันการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วลุกลามไปยังภูมิภาคต่างๆ ผ่านมาหลายปี ปัจจุบัน (ปี 2555) เรามีหนี้สินที่คนไทยทุกคนต้องรับผิดชอบผ่านการชำระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยกว่า 1.14 ล้านล้านบาท และมีแผนที่จะชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 20-25 ปี โดยแหล่งเงินที่มาชดใช้นั้น มาจากการเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากฐานเงินฝาก และจากกำไรของธนาคารแห่งประเทศไทย มันเป็นไปได้อย่างไร เราผิดพลาดตรงไหนกับการบริหารจัดการการเงิน นโยบาย กลยุทธ์การบริหารเศรษฐกิจ หรือระบบการบริหารจัดการสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อเกิดอะไรขึ้น ทำไมจึงมีหนี้เสีย (หนี้ NPL) หรือ "หนี้ที่ไม่เกิดรายได้" มีจำนวนมากมายมหาศาล จนธนาคารและสถาบันการเงินต้องหายไปอย่างมากมาย คำถามที่ผู้คนสนใจส่วนใหญ่ถามกัน ทำไมสถาบันการเงินต่างๆ ถึงปล่อยสินเชื่อ เค้าไม่พิจารณาลูกค้า หรืออย่างไร มีความสามารถในการชำระหนี้แค่ไหน  บทสรุปจึงมาลงที่ สถาบันการเงินในขณะนั้นไม่มีข้อมูลผู้กู้เพียงพอนั่นเอง ไม่รู้จักตัวตนของลูกค้า ข้อมูล ข้อเท็จจริง ได้มาจากลูกค้าเพียงอย่างเดียว บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ "เครดิตบูโร" จึงมีการจัดตั้งขึ้นหลังมีความเสียหายและมีการออกแบบให้เป็น "คลังข้อมูลบัญชีสินเชื่อต่างๆ ที่ลูกหนี้ไปมีไว้กับสถาบันการเงินต่างๆ ที่เป็นสมาชิกกับเครดิตบูโร" เมื่อลูกค้าทีมีประวัติตามข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริง จะไปยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก จะมีการตรวจสอบว่า มีประวัติการชำระหนี้เป็นอย่างไร ใช้ครบ ใช้ตรงตามเงื่อนไข แค่ไหน ความสามารถในการชำระหนี้เป็นอย่างไร และข้อมูลหลักประกันอื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาพิจารณาประกอบก่อนตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อ โดยสถาบันการเงินนั้นๆ ถ้าเข้าก็อนุมัติ ถ้าไม่เข้าก็ต้องมีหนังสือตอบกลับไปยังผู้ขอกู้ ว่าไม่ผ่านเพราะอะไร อันนี้เป็นกรณีๆ ไป นี้คือเหตุผลที่จำเป็นจะต้องมีเครดิตบูโร แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ใครได้ประโยชน์มากกว่ากันก็พิจารณากันเอาเองครับ







แท็กซ์ :  จริงหรือไม่เครดิตบูโรคือเครื่องมือป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่ ,ความรู้เกียวกับเครดิตบูโร,เครดิตบูโร,กู้เงิน,แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,วิเคราะห์เครดิตบูโร,สถาบันการเงิน,กู้เงิน,เครดิตบูโร, แบล็คลิสต์,เศรษฐกิจฟองสบู่แตก,รายละเอียดเศรษฐกิจฟองสบู่แตก,กำเนิดเครดิตบูโร,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

วิเคราะห์กฏหมายเครดิตบูโรให้ประโยชน์กับธนาคารหรือผู้กู้มากกว่ากัน (ตอนที่ 3 )

วิเคราะห์กฏหมายเครดิตบูโรให้ประโยชน์กับธนาคารหรือผู้กู้มากกว่ากัน (ตอนที่ 3 )
       การเปิดเผยข้อมูลต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูล เว้นแต่เป็นกรณีที่จำเป็นตามกฎหมาย เช่น คำสั่งศาล ฯลฯ เป็นต้น ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใช้บริการ(ที่ได้รับข้อมูลไป)ต้องใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ตามมาตรา 20 เท่านั้น และห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลแก่ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิรับรู้ข้อมูล ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่ได้รับข้อมูลด้วยวิธีอื่น เช่น คำสั่งศาล ฯลฯ ต้องเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ (แต่มีข้อยกเว้น) ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิทราบข้อมูลของตนจากเครดิตบูโรได้ แต่เครดิตบูโรมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสอบข้อมูลได้ตามที่คณะ กรรมการกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 200 บาท(ทุกวันนี้เก็บเต็มเพดานเลย คณะกรรมการช่างเห็นใจประชาชนเจ้าของข้อมูลเสียจริง) มาดูการควบคุมดูแลเครดิตบูโรกันบ้าง คนที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง คือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ประกอบด้วย ผู้ว่า ธปท. เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมทะเบียนการค้า อธิบดีกรมการประกันภัย อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวม 12 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งโดย ครม. 5 คนโดยกำหนดคุณสมบัติไว้ว่า อย่างน้อยต้องเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 2 คน เชี่ยวชาญด้านการเงินและการธนาคาร 1 คน และด้านคอมพิวเตอร์ 1 คน(คุณสมบัติส่วนนี้ใช้บังคับกับอนุกรรมการด้วย โดยคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการจำนวน 3-5 คน) กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ 4 ปี ห้ามแต่งตั้งติดต่อกันเกิน 2 วาระ สุดท้ายตำแหน่งเลขานุการ วกกลับมาที่ ธปท. โดยให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ว่า ธปท. หรือ ผอ.อาวุโสของ ธปท. เป็นเลขานุการ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ ธปท. เป็นผู้รับเรื่องราวร้องทุกข์ กำกับการทำงานของเครดิตบูโร ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล ในส่วนความรับผิดทางแพ่ง กำหนดให้เครดิตบูโรต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ใช้บริการหรือเจ้าของข้อมูลใน กรณีจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเปิดเผยข้อมูลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในกฎหมาย






ขอขอบคุณไทยนิวบล็อค
แท็กซ์ : กฏหมายเครดิตบูโรระหว่างสถาบันการเงิน ใครได้ประโยชน์มากกว่ากัน,ความรู้เกียวกับเครดิตบูโร,เครดิตบูโร,กู้เงิน,แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิตต์ทำอย่างไรให้กู้เงินได้,ติดแบล็คลิสต์แต่อยากกู้เงิน,วิธีกู้เงินแบบติดแบล็คลิสต์,กู้เงินอย่างไรให้ผ่านเมื่อติดแบล็คลิสต์,วิเคราะห์เครดิตบูโรสถาบันการเงินกับผู้กู้ใครได้ประโยชน์มากกว่ากัน ,วิเคราะห์กฏหมายเครดิตบูโร,กู้เงิน,เครดิตบูโร, แบล็คลิสต์ 


ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน

ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน







   เหตุผลอาจมีได้หลายประการ ยกตัวอย่าง เช่น
  • นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน
  • ภาระหนี้ที่มีอยู่ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
  • หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน/ผู้ค้ำประกัน
  • โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
  • ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้ (มาจากเครดิตบูโร,ถ้าติดแบล็คลิสต์ล่ะก็เศร้าเลย...ขอบอก)
             
       แต่ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไรก็ตาม แบงก์ชาติกำหนดให้สถาบันการเงินต้องชี้แจงเหตุผลที่ไม่ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ขอสินเชื่อ ทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ จะต้องทำหนังสือตอบชี้แจงเหตุผลที่ไม่ให้สินเชื่อ และลงทะเบียนจัดส่งไปให้ผู้ขอสินเชื่อทราบ




แท็กซ์ :ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน, เครดิต, เครดิตบูโร, แบล็คลิสต์, ติดแบล็คลิสต์, กู้เงิน, กู้เงินไม่ผ่าน, สถาบันการเงิน, สินเชื่อ, ขอสินเชื่อ

วิเคราะห์กฏหมายเครดิตบูโรให้ประโยชน์กับธนาคารหรือผู้กู้มากกว่ากัน (ตอนที่ 2 )

วิเคราะห์กฏหมายเครดิตบูโรให้ประโยชน์กับธนาคารหรือผู้กู้มากกว่ากัน (ตอนที่ 2 )


เครดิตบูโร คือบุคคล หรือหน่วยงาน หรือองค์กร ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลมาเก็บไว้ โดยมุ่งหมาย(ตามที่เขาพยายามบอก)ให้เป็นองค์กรกลาง และให้บริการข้อมูลที่เก็บไว้แก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป ข้อมูลที่เก็บไว้(ตามที่เขาเรียกว่าข้อมูลเครดิต) มี 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน เขาเรียกว่าข้อมูลระบุตัว และข้อมูลการเป็นหนี้ ข้อมูลการเป็นหนี้นี้มี 2 แบบ คือ ข้อมูลที่เป็นกลางๆ และข้อมูลหนี้เสียที่เรียกกันว่า “BLACK LIST
พรบ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 มีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)ในปี 2549 เบื้องต้นขอดูฉบับแรกก่อน แล้วเปรียบเทียบกับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ผมได้ พรบ.การประกอบข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 จากแผ่นดิสก์รวมกฎหมายเอื้อเฟื้อโดยคุณเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความคนปัจจุบัน(หมายถึงปี 2551) ที่ส่งให้หลายปีแล้ว ส่วนฉบับแก้ไขเพิ่มเติมโดยความอนุเคราะห์ของวารสารกฎหมายใหม่(-ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย)โดยในส่วนของฉบับแก้ไขเพิ่มเติมจะนำมาเปรียบเทียบไปพร้อมกับการวิเคราะห์ในตอนท้ายโครงสร้างของเครดิตบูโร จะต้องเป็นบริษัท ห้ามผูกขาดการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต(เครดิตบูโรมีมากกว่า 1 บริษัทได้้)

แนวทางพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ

แนวทางพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ


       แนวทางพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ
       แนวความคิดนี้เป็นแนวทางหลักๆ ที่สถาบันการเงินต่างๆ จะต้องนำไปคิด นำไปประกอบก่อนที่จะอนุมัติการกู้เงินให้กับผู้ที่ต้องการจะขอกู้เงินกับสถาบันการเงินนั้นๆ แต่ก็อย่างที่บอกครับ แนวคิดนี้เป็นแบบกว้างๆ ธนาคารหรือสถาบันการเงินทุกแห่งก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อย แยกออกไปอีกบ้าง ซึ่งผู้ที่กำลังจะขอสินเชื่ออาจจะกังวลใจว่า หากยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ มาดูกันเลยว่าสถาบันการเงินใช้ข้อมูลอะไรในการพิจารณาให้สินเชื่อ
     1.ข้อมูลส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ หลักทรัพย์ที่มีแหล่งที่อยู่อาศัย ภาระหนี้ และประเภทหนี้ ตลอดจนวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ ซึ่งผู้ขอสินเชื่อต้องกรอกตามความเป็นจริงในใบสมัครขอสินเชื่อ
      2.ประวัติการขอสินเชื่อ และประวัติการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ  หรือที่เรียกว่าข้อมูลเครดิต โดยสถาบันการเงินจะตรวจสอบข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (อันนี้กลัวกันมาก กลัวการติดแบล็คลิลต์)
     3.นโยบายการให้สินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน เช่น ต้องการบุกตลาดสินเชื่อรายย่อย รายกลาง SME หรือรายใหญ่ เป็นต้น ตลอดจนเครื่องมือ วิธีการและขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการเงิน
     4.ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น ซึ่งอาจส่งผลต่ออาชีพของผู้ขอสินเชื่อ หรือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อได้
     ถ้าหากผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้มีอาชีพการงานดี รายได้มั่นคง ไม่เคยมีหนี้สินล้นพ้นตัว มีความสามารถในการชำระหนี้  การขอสินเชื่อก็คงไม่ติดปัญหาอะไร หรือหากมีอาชีพการงานไม่มั่นคง เช่น ขายของแผงลอย โอกาสการได้เงินกู้ยังคงมีอยู่  แต่จำนวนเงินกู้ที่ได้รับคงน้อยกว่าที่ต้องการขอสินเชื่อ และอาจต้องจ่ายดอกเบี้ยในจำนวนที่แพงขึ้นข้อมูลของผู้ขอสินเชื่อมีความสำคัญในการพิจารณาให้สินเชื่ออย่างมาก ดังนั้น ผู้ขอสินเชื่อจึงควรเตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนก่อนไปติดต่อขอสินเชื่อ เพื่อที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการจะได้ไม่เสียเวลาขอหลักฐานเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อแสดงเอกสารไม่เพียงพอหรือไม่น่าเชื่อถือ
  มาถึงเราบ้าง ผู้กู้ต้องมีการเตรียมตัวในเรื่องใดบ้าง เอกสารประกอบการขอกู้

กฏหมายเครดิตบูโรระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้เงิน ใครได้ประโยชน์ (ตอนที่ 1)

กฏหมายเครดิตบูโรระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้เงิน ใครได้ประโยชน์มากกว่ากัน (ตอนที่ 1)

ทุกวันนี้ดูเหมือนจะได้รับการยอมรับกันทั่วไปให้อยู่คู่กับสังคมไทย โดยถูกสร้างภาพว่า เครดิตบูโรคือสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการตรวจสอบเครดิตของลูกค้าของสถาบันการเงิน แต่สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับเครดิตบูโร คือเครื่องมือข่มขู่ลูกหนี้ของพวกรับจ้างทวงหนี้ โดยคำขู่คลาสสิค คือ หากไม่จ่ายก็จะติด BLACK LIST ไม่สามารถกู้เงินหรือทำบัตรเครดิตได้อีกบทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับใคร หรือผู้ใดทั้งสิ้น ผู้เขียนขอรับผิดชอบเองแต่เพียงผู้เดียว เมื่อปี 2549 เคยได้ยินคนเล่าว่า ตอนไปสมัครงาน บริษัทให้ไปตรวจข้อมูลเครดิตมาประกอบการพิจาณาใบสมัคร(ก็แล้วข้อมูลเครดิตมันเกี่ยวอะไรกับการเข้าทำงานวะ) และผมก็ยังเคยได้รับโทร.ทวงค่าโทร.มือถือแทนเพื่อน คนโทร.แจ้งว่าจะส่งข้อมูลเครดิต(BLACK LIST) (แต่ทางเครดิตบูโรเคยแจ้งว่า กิจการโทร.มือถือ ไม่ใช่สมาชิกของเครดิตบูโร จึงส่งข้อมูลไม่ได้) ต่อมาบริษัทรับจ้างทวงหนี้ของโทร.มือถือเหิมเกริมถึงขนาดส่งจดหมายทวงหนี้แจ้งว่าจะส่งเข้าระบบหนี้เสีย(BLACK LIST)

ทำความรู้จักกับ เครดิตบูโร และ แบล็คลิสต์

ทำความรู้จักกับ เครดิตบูโร และ แบล็คลิสต์
เมื่อเราเดินเข้าไปธนาคาร ตั้งใจจะทำเรื่องกู้เงินเพื่อ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ซื้อสินค้า ไม่ว่าเล็กหรือใหญ๋ จะมีใบให้กรอกคำขอตรวจสอบประวัติการเงิน หรือเราเรียกกันง่ายๆ ว่า ตรวจสอบข้อมูลเครดิตจากเครดิตบูโร ว่าสถานะผู้กู้เงินตอนนี้เป็นอย่างไร ติดแบล็คลิสต์หรือไม่ บางคนก็เข้าใจ ว่าคำสองคำนี้ มันคืออะไร แต่สำหรับอีกหลายกลับเข้าใจว่า เครดิตบูโร กับ แบล็คลิสต์ คืออย่างเดียวกันเราจึงกลัวจะติดแบล็คลิสต์  หากเคยมีประวัติการจ่ายหนี้ไม่ดี ความจริงแล้ว รายงานข้อมูลเครดิตจากเครดิตบูโรนั้นไม่ใช่รายงานแบล็คลิสต์ แต่อย่างใด แบล็กลิสต์ นั้นหมายถึง เรามีประวัติเสียในเรื่องการเงินจนถูกขึ้นบัญชีแบล็คลิสต์ไว้ ซึ่งหมายถึงการให้สถานภาพบุคคลเป็นภาพนิ่งภาพเดียว
..แต่ เครดิตบูโร นั้นเป็นการรายงานข้อมูลเครดิตตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยจะแสดงประวัติการชำระสินเชื่อย้อนหลัง ไม่เกิน 24 เดือน ดังนั้น หากประวัติการชำระสินเชื่อในอดีตของเรา ไม่ดีนักเราต้องพยายาม หาทางชำระหนี้ให้ตรงตามเงื่อนไขกับสถาบันการเงิน ที่เราติดหนี้ไว้ เพื่อให้มีประวัติใหม่ที่ดูดีกว่าประวัติเดิม แต่ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงประวัติเดิมได้เว้นแต่เมื่อผ่านไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น ในปัจจุบัน เมื่อเราได้ชำระหนี้สินที่ค้างไว้กับสถาบันการเงินต่างๆ แล้ว ต้องผ่านไปแล้ว 36 เดือน หลังจากเราชำระเสร็จสิ้น ระบบจึงจะไม่โชว์สถานะการเงินนั้น ขอย้ำนะครับ หลังจากจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่ทั้งหมดแล้ว บวกไปอีก 36 เดือน

เครดิตบูโร คืออะไร  เครดิตบูโร (Credit Bureau)