เครดิตบูโรหลักฐานสำคัญที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก


เครดิตบูโรกับการอนุมัติเงินกู้ของสถาบันการเงิน

    จากหลายๆบทความและหลายๆ เวปไซต์ ที่บอกถึงที่มาที่ไปของเครดิตบูโร และในปัจจุบันนี้เรียกได้เลยว่า เครดิตบูโร เป็นหลักฐานอีกหนึ่งอย่างที่สถาบันการเงินจะต้องเรียกเอาจากผู้กู้ทุกราย ที่จะต้องการจะขอสินเชื่อ พูดง่ายๆ ก็จะขอกู้เงินกับสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเงินกู้ส่วนบุคคล จะกู้มาก กู้น้อย ก็ต้องแสดงเครดิตบูโร ไม่มีข้อยกเว้น เห็นไหมครับว่าในปัจจุบันนี้ เครดิตบูโร กลายมาเป็นหลักฐานหรือองค์ประกอบสำคัญ นอกจาก สลิบเงินเดือน รายงานบัญชีย้อนหลัง สำเนาบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน แล้วก็หลักฐานอื่นๆ ตามที่จะเรียกหาได้ หลักฐานเหล่านี้คือ สิ่งที่สถาบันการเงินต่างๆ จะพิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้กับผู้กู้ ที่จะให้น้ำหนักมาก ก็คือ เครดิตบูโร (ไม่สำคัญ แต่ดูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าติดแบล็คลิสต์ ละก็ 99.99% ทำใจเรื่องที่สถาบันการเงินจะอนุมัติได้เลย) หลักฐานต่อไปก็คือรายได้ ,แหล่งที่มาของรายได้ และส่วนที่สุดท้ายคือ หลักฐานเกี่ยวกับที่พักอาศัย จะสังเกตุได้ว่าทั้งๆ ที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเรียกสั้นๆว่า เครดิตบูโร เองก็ยืนยันมาตลอดว่า จริงๆ แล้วทำหน้าที่แค่เก็บรักษาข้อมูลต่างๆ ของลูกเค้าเท่านั้น ธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า (ผู้กู้เอง)  แต่ดูๆ ไปแล้ว เครดิตบูโรไม่สวย ติดแบล็คลิสต์ เรื่อง......อนุมัติ หน่ะหรอ ผมว่ายากมาก ก็คิดเอาเองละกันครับว่าเดี๋ยวนี้ สถาบันการเงิน ต่างๆ ให้ความสำคัญกับเครดิตบูโรมากแค่ไหน......แล้วเจอกันใหม่ครับ



แท็กซ์:เครดิตบูโรหลักฐานสำคัญที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก, เครดิตบูโร,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ,เครดิต,ติดแบล็คลิสต์,ติดเครดิตบูโร



ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 1)

ติดเครดิตบูโรกู้ได้  (ตอนที่ 1)

   มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีประวัติการเงินไม่ค่อยดี ไปจนกระทั่งถึงขั้นมีเครดิต "เลวร้าย" มีชื่อติด "บัญชีดำ" (Black list) โดยสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อรายงานข้อมูลไปยัง "เครดิตบูโร" ไม่ว่าจะด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุผลความจำเป็นไม่ตั้งใจจะไม่จ่าย หรือถูกแรงบีบรัดทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ จนเกิดหนี้ค้างชำระเป็น "ตัวแดง" ผลที่ตามมา.. ผู้ขอกู้มักจะไม่ได้รับการ "อนุมัติ" ปล่อยกู้จาสถาบันการเงิน เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องขอใช้บริการเงินกู้จากสถาบันการเงินในครั้งใหม่ ..แต่ผิดนัดชำระแบบไหน ถึงเรียกว่าเข้าเขต "อันตราย" ที่แบงก์จะไม่อนุมัติปล่อยกู้ หรือมีชื่อใน "บัญชีดำ" !!  "แบงก์จะพิจารณาประวัติย้อนหลังของผู้ขอกู้ว่า ปัจจุบันมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ อาจจะบอกไม่ได้ว่าผิดนัดชำระกี่งวดถึงจะติดแบล็คลิสต์ แต่การที่ผู้กู้ค้างชำระหนี้ติดต่อกันหลายงวด เช่น 6-7 รอบบัญชี ขณะที่มียอดหนี้จำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ได้ว่าผู้ขอกู้มีปัญหาทางการเงินแล้ว ฉะนั้น ผู้ขอกู้จึงไม่ควรผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 รอบจะดีที่สุด" "นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์" ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ "เครดิตบูโร" กล่าว ทางที่ดี การรักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดีต่อเนื่องระยะยาวมากๆ ย่อมเป็นผลดีต่อเครดิตการเงินของผู้กู้ เพื่อจะได้ไม่ถูกปฏิเสธสินเชื่อ  "ประวัติการชำระหนี้ที่ดี ยิ่งยาวยิ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ขอสินเชื่อ เพราะหากผู้ขอกู้ผิดนัดชำระ 1-2 งวด แบงก์อาจมองว่าไม่ได้มีปัญหาทางการเงิน แต่อาจลืมจ่ายค่างวด ทำให้ไม่ถูกปฏิเสธสินเชื่อใหม่ และยังเป็นการสร้างเครดิตการเงินที่ดีในระยะยาวให้แก่ตัวเองอีกด้วย"  นิวัฒน์บอกว่า การที่ผู้กู้มีชื่อและข้อมูลการชำระหนี้ในเครดิตบูโร ไม่ได้หมายความว่าจะต้องติดแบล็คลิสต์

ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 2)

ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 2)

  จาก ติดเครดิตบูโรกู้ได้  (ตอนที่ 1) มาต่อกันเลยครับ ....เมื่อติดแบล็คลิสต์ แล้ว ใช่ว่า...ชีวิตจะถึง "จุดจบ" ทางการเงิน ในความเป็นจริงแล้วยังมีแนวทาง "กอบกู้" ประวัติการเงินให้กลับมาดีดังเดิมได้.. แนวทางกู้เครดิต "เสีย" และสร้างเครดิตใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกแบงก์ปฏิเสธการให้สินเชื่อครั้งใหม่.. สิ่งที่ควรทำอย่างแรกเลย..ให้เข้าพบสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอ "ผ่อนระยะเวลา" ชำระหนี้ออกไป เช่น 10-12 เดือน เป็นต้น "เมื่อเราไม่มีเงินชำระหนี้ทั้งหมด ทางเดียวก็คือการเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อทำการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ และหาทางทำสัญญาเพิ่มเติม ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเข้าไปเจรจาหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เป็นผลด้านบวกกับเรา เพราะแสดงให้เจ้าหนี้เห็นว่าเรามีความตั้งใจที่จะจ่ายหนี้ ไม่หนีหนี้" "วงศ์วริศ ดุลยนิติโกศล" รองผู้จัดการ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ กล่าว  นอกจากนั้น เมื่ออยู่ระหว่างปลดหนี้ จะต้องจ่ายให้ตรงเวลาทุกงวด และที่สำคัญควรเก็บเอกสารการชำระหนี้ทุกชิ้นไว้ทั้งหมด เพื่อเป็นหลักฐาน ..หากมีหนี้สินอื่นๆ ที่จ่ายตรงเวลา ให้รักษาเครดิตให้ดีไว้ตลอดไป และควรจะเก็บสเตทเมนท์ที่เราจ่ายค่างวดไว้ตลอด เพราะสามารถนำสเตทเมนท์ที่ชำระตรงเวลานี้เพื่อเป็นหลักฐาน ไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูเมื่อเวลาต้องการขอสินเชื่อตัวใหม่หลังจากที่พ้นแบล็คลิสต์ ..อย่าก่อหนี้ซ้ำซาก ..เพราะหากมีหนี้เสียหลายรายการ เป็นการแสดงให้เห็นว่านิสัยการเงินย่ำแย่ แม้ว่าจะได้ปลดหนี้เสีย แต่หลายครั้งก็จะทำให้แบงก์รายใหม่ไม่ให้สินเชื่ออีกแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำหลังจากชำระหนี้และปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ก็คือ ต้องไป "เช็ค" เครดิตด้วยตัวเองที่บริษัทข้อมูลแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เพื่อตรวจสอบว่าสถาบันการเงินเจ้าหนี้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเครดิตให้หรือยัง.."เครดิตการเงินที่เสียไปแล้ว จะมีผลทำให้การกู้ยืมในสิ่งที่จำเป็นไม่ได้เป็นเวลาหลายปีอย่างน้อย 3 ปี เพราะประวัติการชำระหนี้จะ "ถูกลบ" จากเครดิตบูโรหลัง 36 เดือน หรือ 3 ปีเป็นต้นไป ฉะนั้น หากสามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ หรือเคลียร์หนี้จบสิ้น ผู้ขอกู้ก็จะสามารถกลับมาขอสินเชื่อใหม่ได้" ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินรายหนึ่งให้ความเห็น  แต่ทางที่ดี เพื่อไม่ให้เครดิตการเงินของเรา "เสียหาย" .. เครดิตบูโรให้คำแนะนำในการ "รักษา" เครดิต ก่อนที่จะเสียเครดิตไปกว่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่มี "บัตรเครดิต" ในกระเป๋าหลายๆ ใบ อาจมีความเสี่ยง "สูง" หากไม่มีวินัยทางการเงิน ไว้ว่า.. 

เครดิตบูโร สิ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนคิดจะกู้เงิน

เครดิตบูโร สิ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนคิดจะกู้เงิน


มีอีเมลสอบถามกันมามาก เกี่ยวกับปัญหาเรื่องเครดิต และเครดิตบูโร ว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ที่เป็นปัญหาหนักอกหนักใจของใครหลายๆ คนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องติดแบล็คลิสต์ แต่อยากจะขอสินเชื่อ ทำอย่างไรจะให้ผ่าน ผมเคยแนะนำไว้ในบทความเก่าๆ ก็ลองหาอ่านกันดูได้ครับ และสำหรับปัจจุบันนี้ มีการให้บริการเคลียร์แบล็คลิสต์ให้ด้วย แต่ผมเองไม่เคยใช้บริการ ก็ได้แค่เตือนให้ระมัดระวังและรอบคอบ เพราะกลโกงเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ไม่เข้าใครออกใคร ก็อยากให้พิจารณาให้ดี เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน เอาล่ะครับ เข้าเรื่องเลย......เครดิตบูโร คือ อะไร สำหรับ 
     -เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิต (Credit Bureau) คือ บริษัทที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินหลายๆแห่งที่เป็นสมาชิก นำมารวบรวมประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิตในภาพรวมสำหรับลูกค้าเจ้าของข้อมูลแต่ละราย และเมื่อสถาบันการเงินหรือลูกค้าเจ้าของข้อมูลต้องการเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด บริษัทข้อมูลเครดิตจึงจะเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นในรูปของรายงานข้อมูลเครดิต แล้วตัวรายงานข้อมูลเครดิต คือ อะไร
     -รายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) คือ รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่ขอสินเชื่อ โดยมีข้อมูลประกอบไปด้วยข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้า และคุณสมบัติของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ และประวัติการขอและการได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ รวมทั้งประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต (รายงานข้อมูลเครดิตก็คือรายงานข้อมูลสินเชื่อ ดังนั้นจึงไม่ใช่ข้อมูลบัญชีเงินฝากหรือข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของเราในรายงานข้อมูลเครดิต)
     -ข้อมูลเครดิตในฐานข้อมูลมิใช่เป็นแบล็คลิส (Black List) แต่อย่างใด จริงๆ แล้ว เครดิตบูโรไม่มีสิทธิ์ในการจัดแบล็กลิสผู้ขอสินเชื่อ  เพราะเครดิตบูโรทำหน้าที่ เฉพาะรวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของสินเชื่อทุกบัญชีจากสถาบันการเงินตามข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันการเงินจะใช้ข้อมูลเครดิตตรงนี้เพื่อเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อ เพราะจริงๆแล้ว สถาบันเงินกู้ต่างๆ จะอนุมัติหรือไม่นั้น ยังขึ้นกับอีกหลายๆ ปัจจัย เช่น รายได้ของผู้สมัครสินเชื่อ หลักประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน เป็นต้น  ในทางกลับกัน หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อตรงเวลา ข้อมูลเครดิตก็จะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ในเมื่อข้อมูลตรงนี้สำคัญ แล้วใครสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตได้บ้าง
     -คำตอบมีแค่ 1 คน กับอีก 1 สถาบันเท่านั้น 1 คน คือตัวเราเอง สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ค่าใช้จ่าย ราคาไม่เกิน 200 บาทต่อฉบับ สำหรับอีก 1 สถาบัน คือ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตเป็นผู้เรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ขอสินเชื่อ ทั้งนี้ในการสมัครขอสินเชื่อนั้นโดยปกติสถาบันการเงินจะขอให้ท่านให้ความยินยอมในการให้บริษัทข้อมูลเครดิตเปิดเผยข้อมูลอยู่แล้ว สงสัยกันบ้างไหมครับว่า แล้วสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตมีธนาคารกี่แห่ง ปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2555)แทบจะเรียกว่าเป็นกันทั่วหน้า ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทสินเชื่อ ลิสซิ่ง บัตรเงินสด มาถึงคำถามสำคัญครับ แล้วระยะเวลาในการเก็บข้อมูลจะเก็บย้อนหลังกี่ปี และมีวงรอบอับเดทเครดิตบูโร เป็นอย่างไร
     -ข้อมูลของบุคคลธรรมดา กฎหมายกำหนดไว้ว่าให้เก็บไว้ในระบบประมวลผลได้ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วนที่สมาชิกรายงานข้อมูลมายังบริษัท โดยที่จะมีข้อมูลใหม่เข้าไปแทนที่ข้อมูลเก่าเรื่อยไป ส่วนการอัพเดดข้อมูลนั้น สถาบันการเงินจะรายงานประวัิติการชำระของคุณเข้ามาที่บริษัทฯ ทุกๆ สิ้นเดือน
     ข้อยกเว้นเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต คือ จะไม่รวมถึงค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าโทรศัพท์บ้าน ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเตอร์เน็ต รวมถึงเงินกู้ยืมของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ) ยังไม่มีการนำส่งข้อมูลเข้ามาในระบบข้อมูลเครดิต

  เป็นไงบ้างครับ คิดว่า คงจะเป็นประโยชน์และไขข้อข้องใจให้กับหลายๆ คนที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับเครดิตบูโร การติดแบล็คลิสต์ และการกู้เงินได้บ้าง แล้วเจอกันใหม่ครับ.....


แท็กซ์:เครดิตบูโร สิ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนคิดจะกู้เงิน, กู้เงิน, แบล็คลิสต์, เครดิตบูโร,ติดแบล็คลิสต์,อยากกู้เงินแต่ติดแบล็คลิสต์,ข้อยกเว้นเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต

ข่าวดี!!! ลูกหนี้ ''เครดิตบูโร'' เตรียมเฮการคลังกำลังหาทางช่วยเหลือ

ข่าวดี!!! ลูกหนี้ ''เครดิตบูโร'' เตรียมเฮการคลังกำลังหาทางช่วยเหลือล้างหนี้แบล็คลิสต์

    จากการเปิดเผยของ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการคลัง เปิดเผยว่า กมธ.การคลัง มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการขึ้นบัญชีดำในกฎหมายเครดิตบูโร เพราะเห็นว่ากฎหมายดังกล่าว ส่งผลต่อประชาชนโดยทั่วไปแบบเกินขอบเขต เหมือนกับว่าเป็นผู้มีประวัติอาชญากรรมหรือติดคุก จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต ทั้งที่เป็นหนี้บัตรเครดิตด้วยเงินไม่กี่บาท ทั้งนี้ กมธ. จะจัดสัมมนาเรื่องกฎหมายเครดิตบูโรเร็ววันนี้เพื่อระดมความคิดเห็นและแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในบัญชีดำ หรือติดแบล็คลิสต์เหล่านี้ ให้ได้รับความยุติธรรม โดยเห็นว่าปัจจุบัน มีลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกหนี้สถาบันการเงินโดยทั่วไปที่ถูกขึ้นเป็นแบล็กลิสต์ในเครดิตบูโร (บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ)