ติดแบล็กลิสกับติดเครดิตบูโร...ต่างกันไหม

ติดแบล็กลิสกับติดเครดิตบูโร...ต่างกันไหม
    ติดแบล็คลิส กับ ติดเครดิตบูโ....ต่างกันไหม แล้ว แบล็คลิส มันคือ อะไร ??? เครดิตบูโร ล่ะ มันคืออะไร  เชื่อว่า อาจจะมีหลายคนยังไม่รู้จักเกี่ยวกับ สองคำนี้อย่างชัดเจนนัก บ้างก็อาจคิดว่ามันเหมือนกันมั้งคือประวัติเครดิตเสีย อืม แล้วอันที่จริงเป็นแบบไหนกันนะ  เครดิตบูโร ผมเคยได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าใครยังไม่เข้าใจก็สามารถย้อนกลับไปอ่านได้จากหน้า หลักของ ล้างหนี้แบล็กลิสต์ เครียร์เครดิตบูโรบล็อก กันได้ สำหรับบทความนี้ ขออธิบายเพิ่มเติมว่า แบล็กลิส มันคืออะไร การติดแบล็กลิส มันคืออะไร  สำหรับ แบล็คลิส คือ รายชื่อบุคคลที่มีประวัติเสียทางการเงิน จนถูกขึ้นบัญชีแบล็คลิส สถานะของบุคคลนั้นจะเป็นเหมือนภาพนิ่งครับ ไม่่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เพราะฉะนั้นแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง เครดิตบูโร กับ แบล็คลิส จึงสรุปคร่าวๆ ว่า แบล็คลิส คือคนที่ติดบัญชีของทางธนาคารให้เป็นคน ที่มีประวัติเสียทางการเงิน ส่วนเครดิตบูโร เป็นการรายงานสถานะสินเชื้อย้อนหลัง 24 เดือนอยากจะแนะนำนะครับสำหรับท่านที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงิน ต้องดูถึงความสามารถในการชำระสินเชื่อคืนให้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินด้วยนะครับเพระว่าถ้าชำระเงินคืนไม่ได้ อาจมีผลให้ต้องเสียทรัพย์รวมทั้งประวัติการเงินเสียด้วย ทำให้เวลาขอสินเชื่อต่อไปทำได้ยากยิ่งขึ้น




แท็กซ์: ติดแบล็กลิสกับติดเครดิตบูโร...ต่างกันไหม,ประวัติการติดแบล็คลิส,แบล็กลิส,ติดแบล็คลิส,ติดเครดิตบูโร,เครดิตบูโร,ล้างหนี้แบล็กลิสต์ เครียร์เครดิตบูโร

เครดิตบูโรคืออะไร

เครดิตบูโรคืออะไร
        เป็นคำถามที่มีผู้ค้นหาจากกูเกิลเป็นจำนวนมาก แต่จะมีใครรู้คำตอบ และคำตอบนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เคลียร์เครดิตบูโรบล็อก จึงขออนุญาตนำคำตอบมาจาก บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ มาเน้นย้ำให้ทุกท่านได้อ่าน และทำความเข้าใจกันให้ถูกต้อง ว่า จริงๆ แล้ว เครดิตบูโร คืออะไร
  เครดิตบูโร คือ ........
  เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิต (Credit Bureau) คือ บริษัทที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินหลายๆแห่งที่เป็นสมาชิก นำมารวบรวมประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิตในภาพรวมสำหรับลูกค้าเจ้าของข้อมูลแต่ละราย และเมื่อสถาบันการเงินหรือลูกค้าเจ้าของข้อมูลต้องการเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด บริษัทข้อมูลเครดิตจึงจะเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นในรูปของรายงานข้อมูลเครดิต 




แท็กซ์เครดิตบูโรคืออะไร, เครดิตบูโร, แบล็คลิส, แบล็คลิสต์, ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เคลียร์เครดิตบูโร,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ,ข้อมูลเครดิต,รายงานข้อมูลเครดิต


ประวัติความเป็นมาเครดิตบูโร

ประวัติความเป็นมาเครดิตบูโร

    แนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตนั้น ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โดยสมาคมธนาคารไทยได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามีความประสงค์ให้มีแหล่งกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการให้กู้ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มงานทะเบียนเครดิตกลางขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปี 2538 รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบการเงินขึ้น โดยกล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตไว้ในส่วนขององค์กรทางการเงินที่สนับสนุนการพัฒนาระบบการเงิน และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมและดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต ซึ่งคณะทำงานดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการจนกระทั่งจะมีการลงนามในข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในประเทศสหรัฐ อเมริกา ในปี พ.ศ. 2539 แต่ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย สถาบันการเงินถูกปิดกิจการไปจำนวนมาก และวิกฤตเศษฐกิจดังกล่าวนี้ก็ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตหยุดชะงักไป  จนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 กระทรวงการคลังได้ยืนยันนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและลดภาระหนี้เสียของสถาบันการเงินต่างๆ อันเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนของสถาบันการเงินในประเทศอยู่ในขณะนั้น ในเดือนกรกฎาคม 2541 ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จึงได้สั่งการให้ ธอส. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้น ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประกาศนโยบายให้สมาคมธนาคารไทยเร่งรัดดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต โดยสมาคมธนาคารไทยได้จัดตั้งทีมทำงานในรูปคณะกรรมการเพื่อสานภารกิจต่อไป การดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตจึงได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่จัดตั้งโดย ธอส. ได้จัดตั้ง บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด ขึ้น ส่วนฝ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้จัดตั้ง บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ขึ้น โดยทั้งสองบริษัทก็ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลลูกค้า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพของการให้สินเชื่อ เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียในระบบเศรษฐกิจ หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
              บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยฝ่ายของธนาคารแห่งประเทศไทยและ

รายละเอียดโครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน

รายละเอียด  "โครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน "

      โครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน เป็นโครงการที่อยู่ในโครงการพิเศษ สำหรับผู้ที่ติดแบล็คลิสไม่สามารถยื่นเรื่องทำสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ไหนได้ แต่ยังมีความสามารถในการดำเนินงาน และมีความสามารถในการชำระหนี้หลังจากได้รับการผ่อนผันในปัญหาแบล็คลิส โครงการนี้เป็นโครงการที่ต้องประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายกฎหมาย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ บุคคลที่ติดแบล็คลิสจะต้องร่วมมือร่วมใจช่วยกันผลักดันให้โครงการนี้ บรรลุผลสำเร็จให้จงได้ เนื่องจาก โครงการนี้เป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของท่าน ตัวท่านผู้เดียว จะเป็นผู้ขับเคลื่อนกลไกในการปลดแบล็คลิสนี้ ก่อนหน้านี้มีหลาย ๆ ฝ่ายพยายามผลักดันในเรื่องแบล็คลิส แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากการไม่ร่วมมือของผู้ที่ติดแบล็คลิส เช่น ไม่ส่งเอกสารข้อมูลของตนเอง นัดขึ้นศาลแล้วไม่ไปตามนัด เป็นต้น  จึงทำให้บุคคลที่เป็นผู้ดำเนินเรื่อง ไม่สามารถทำเรื่องนี้ให้สำเร็จลงได้เพราะความไม่พร้อมและไม่เดินไปในทิศทางเดียวกันกับหมู่คณะ  ดังนั้น ผู้ที่คิดจะเข้าโครงการนี้ จะต้องรู้โดยจิตสำนึกว่า ตนพร้อมที่จะเข้าโครงการหรือไม่ ถ้าไม่พร้อม ก็ควรให้คนที่พร้อมกว่าตนเอง เป็นผู้ทำงานในโครงการนี้ เพราะ โครงการจะสำเร็จลงได้ ต้องทำงานกันเป็นทีม มีความสามัคคีเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2)

ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2)

       จากบทความตอนที่แล้วเกี่ยวกับ ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1)  ต่อไปเรามาดูกันว่า ณ ปัจจุบันนี้ (ตุลาคม 2555) หากติดแบล็คลิสต์แล้ว จะมีวิธีการเคลียร์เครดิตบูโรกันได้อย่างไร ติดตามกันได้ใน ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2) ก็ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าทางผู้เขียนเอง ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับส่ิงที่แนะนำไป และตัวผมเองก็ไม่เคยทำด้วย เลยไม่ทราบเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นเพียงแค่อ่านแล้วเห็นว่าดีที่สุด ในตอนนี้ เลยเอามาฝากคนที่อ่านบทความในเวปกันนะครับ ณ ปัจจุบัน ที่ค้นเจอในระบบอันเตอร์เน็ต ก็จะมีโครงการ “ ปลดแบล็กลิสตนเองเพื่อมหาชน ” เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ท่านที่มีปัญหาทางการเงิน ถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ  เราเรียกกันสั้นๆ ว่า ติดแบล็กลิส จนไม่สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินใดได้ รวมกลุ่มกัน เพื่อเพิ่มอำนาจการขออนุมัติผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่ จากสถาบันการเงินภาครัฐ ที่สามารถแก้ไขปัญหาของท่านได้ ด้วยการโอนหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ของท่าน ไปเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่ที่มีสถาบันการเงินภาครัฐควบคุม และบริหาร  โดยโครงการดังกล่าวทำขึ้นเพื่อ.........
    ==>> ทำให้ท่านสามารถรวมหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ( ติดแบล็กลิส ) เป็นจำนวนเดียวได้ เพราะ เป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบใหม่ ที่สถาบันการเงินภาครัฐ ซื้อหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ( ติดแบล็กลิส ) ของท่านมาบริหารเป็นการสร้างรายได้ให้สถาบันการเงินภาครัฐ ทั้งยังสามารถนำกลุ่มผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ“ ปลดแบล็กลิสตนเองเพื่อมหาชน ” มาเป็นกลุ่มกรณีศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาผู้มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ( ติดแบล็กลิส ) ทั้งระบบอีกด้วย
   ==>> ทำให้ท่านสามารถแก้ไขข้อมูลประวัติทางการเงินได้ เพราะ เมื่อสถาบันการเงินภาครัฐซื้อหนี้ที่มีประวัติถูกฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ( ติดแบล็กลิส ) ของท่านมาบริหาร ทำให้ท่านไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงินที่ฟ้องบังคับให้ท่านชำระหนี้อีกต่อไป ทั้งยังช่วยให้ท่านสามารถสร้างเครดิตทางการเงินใหม่ได้จากประวัติการชำระหนี้ที่ท่านชำระให้แก่สถาบันการเงินภาครัฐต่อไป
  ดังนั้น สำหรับท่านที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ  “ ปลดแบล็กลิสตนเองเพื่อมหาชน ” สนใจจะดูรายละเอียด เกี่ยวกับโครงการ คลิ๊กที่... โครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน 



แท็กซ์:ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1), แบล็คลิส, ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2), แบล็คลิส, ติดแบล็คลิสต์,เคลียร์แบล็คลิสต์,โครงการปลอดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน,รายละเอียดโครงการปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน,ปลดแบล็คลิสตนเองเพื่อมหาชน

ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1)


ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 1)
        ติดแบล็คลิสต์ (blacklist) บางคนเรียก  ติดบูโร, ติดเครดิตบูโร, ติดบัญชีดำ,มีประวัติในเครดิตบูโร และอื่นๆ แล้วแต่จะเรียกกัน แต่โดยสรุปแล้วก็คือ มีประวัติการทางการเงินที่ไม่ดีเลย เช่น มีหนี้ค้างจ่าย, จ่ายไม่ตรงกับยอดขั้นตำ, ไม่จ่าย สรุปแล้ว ไม่สามารถทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินใดๆ ได้เลย (พูดซะหรู..เรียกว่า จะไปกู้เงินซื้อบ้าน กู้เงินซื้อรถ กู้เงินซื้อนั่น....ซื้อนี้...อดครับ บอกได้คำเดียว)   ติดแบล็คลิสต์ คำๆ นี้ ไม่มีใครปรารถนา แต่ถ้า.....มันติดไปแล้ว จะทำอย่างไร  มีวิธีเคลียร์เครดิตบูโรหรือไม่ ล้างหนี้บูโร จะทำอย่างไร ปัญหานี้นับว่าเป็นปัญหาที่นับว่่าหากจะบอกว่าง่าย ก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เนื่องจาก หากมีเงินไปจ่าย รอเวลา 3 ปี ในรายงานเครดิตบูโรก็ไม่โชว์ว่าติดแบล็คลิสต์แล้ว แต่ประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ หาเช้ากินค่ำ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย (ถึงต้องไปกู้เงินมาใช้ก่อนไงครับ...จริงไหม) มีประโยคกล่าวว่า  ปัญหามีไว้แก้ไข และทุกปัญหามีทางออกเสมอ ก่อนอื่น เรามาดูสาเหตุติดแบล็คลิสต์ กัน ว่าทำไม ถึงติดแบล็คลิสต์ได้ เพื่อจะหาทางแก้ไขต่อไป
 
   1.ติดเครดิตบูโร (เนื่องจากหนี้เกินเงินเดือน เลยทำให้จ่ายล่าช้า สุดท้ายจ่ายไม่ไหว)
   2.มีหนี้เก่าต้องเคลียร์
   3.มีภาระผ่อนหลายที่ (หมุนบัตรนู้นมาใส่บัตรนี้ เพื่อให้รอดเป็นเดือนๆไปเท่านั้น)
   4.เป็นหนี้นอกระบบ (จ่ายแต่ดอก ต้นไม่ลด)
   5.ค่าใช้จ่ายรายเดือนสูง(จ่ายเกินเงินเดือน)
   6.บัญชีเก่าปิดไม่ลง(ไม่รู้จะหาเงินจากที่ไหนมาปิด)
ต่อไปเรามาดูกันว่า ณ ปัจจุบันนี้ (ตุลาคม 2555) หากติดแบล็คลิสต์แล้ว จะมีวิธีการเคลียร์เครดิตบูโรกันได้อย่างไร ติดตามกันได้ใน ช่องทางเคลียร์แบล็คลิสต์ ติดแบล็คลิสต์อยู่..ต้องอ่าน (ตอนที่ 2)


แท็กซ์: เคลียร์เครดิตบูโร, แบล็คลิสต์, กู้เงิน,กู้เงินซื้อบ้าน,กู้เงินซื้อรถ,ติดแบล็คลิสต์,เครดิตบูโร,วิธีเคลียร์เครดิตบูโร,สาเหตุติดแบล็คลิสต์

ติดแบล็คลิสเครดิตบูโร อยากจะกู้...กูรู...มีคำตอบ

ติดแบล็คลิส เครดิตบูโร อยากจะกู้เงิน...กูรู...มีคำตอบ
   ทุกวันนี้หากว่าใคร ติดแบล็คลิสต์ หรือ ติดเครดิตบูโร  ก็เรียกได้ว่า ไม่มีโอกาสเป็นหนี้ (ว่าแต่มันจะเป็นการดีหรือไม่ดีล่ะ ที่ไม่มีหนี้) เรียกว่าแทบจะหมดสิ้นเครดิต กู้เงิน หรือจะทำสินเชื่อใครไม่ได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะจากฝ่ายสินเชื่อของธนาคารรวมถึงธุรกิจ ธุรกรรมกับสถาบันการเงินต่างๆ ก็ไม่อาจทำได้ ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้เขียนในหลายๆ บทความ และหลายๆ ครั้ง เกี่ยวกับความหมายที่แท้งจริง ของ เครดิตบูโร หรือ แบล็คลิส (สามารถหาได้จากบทความเก่าๆ ภายใน ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เคลียร์เครดิตบูโร ก่อนจะกู้เงิน บล็อค บทความนี้ก็จะมาย้ำกันอีกที เกี่ยวกับเครดิตบูโร ซึ่งจริงๆ แล้ว เครดิตบูโร มีหน้าเป็นเพียงตัวกลางในการรับและจัดเก็บข้อมูลเครดิตให้กับสถาบันการเงินสมาชิก  และต้องนำส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าที่มีอยู่ของตนเองให้กับเครดิตบูโรทุกเดือน
 “ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่าถ้า ค้างชำระหนี้เกิน 3 ปี แล้วข้อมูลเครดิตจะถูกลบ หรือถ้าแบงก์ไม่ติดตามทวงถามหนี้เกินอายุความแล้ว ข้อมูลเครดิตจะถูกลบ หรือออกจากระบวนการล้มละลายแล้วข้อมูลเครดิตจะถูกลบความเข้าใจทั้งหมด ที่กล่าวมานั้นไม่เป็นความจริง ข้อมูลเครดิตจะยังคงอยู่หากยังมีหนี้ค้างชำระอยู่ ซึ่งจะปรากฏตามข้อเท็จจริง มีความถูกต้อง แต่บางครั้งจะไม่ถูกใจ” เช่น นาย ก มีการค้างชำระบัตรเครดิต 20,000 บาทในเดือนสิงหาคม 2554 ต่อมาชำระในเดือนธันวาคม 2554 รายงานก็จะระบุว่า เดือนสิงหาคมมียอดค้างชำระ 20,000 บาท 
     ข้อมูลในเดือนธันวาคมก็จะมียอด ค้างเท่ากับ 0 และปรากฏข้อมูลว่าไม่มีการค้างชำระ สถานะบัญชีปกติ “ข้อมูลเครดิตจะมีการส่งเข้ามาทุกเดือน เช่น เริ่มมีบัญชีสินเชื่อบัตรเครดิตเดือนที่ 1 พอครบสิบเดือนก็จะมีการส่งข้อมูลเข้ามาตามข้อเท็จจริง พอเดือนที่ 2 ก็ส่งเข้ามาเรื่อยๆ จนครบ 36 เดือน หรือข้อมูลมี 36 บรรทัด ข้อมูลเดือนที่ 1 จะไม่ไปทับข้อมูลเดือนที่ 2 นะครับ แต่เมื่อมีข้อมูลเดือนที่ 37 เข้ามาใหม่ ข้อมูลเดือนที่ 1 ซึ่งอยู่กับเครดิตบูโรมาแล้ว 36 เดือนหรือ 3 ปี ก็จะถูกลบออกไป 
      ตามตัวอย่างหากเดือนที่ 1 ไม่จ่ายแล้วลากยาวมาถึงเดือนที่ 36 และเดือนที่ 37 ก็ยังไม่จ่ายหนี้ ข้อมูลตังแต่เดือนที่ 2 จนถึงเดือนที่ 37 ก็จะแสดงว่าค้างชำระคิดเป็น 36 บรรทัด ขณะที่เดือนที่ 1 ก็จะถูกลบออกไป นี่คือสิ่งที่เข้าใจกันผิดมากที่สุด”
     “การไม่ต้องการให้ใคร สถาบันการเงินไหนเห็นประวัติที่เราอาจไม่ชอบ แล้วขอให้เครดิตบูโรย้อนไปลบข้อมูลในเดือนนั้นๆ ไม่สามารถทำได้ เพราะประวัติของคนเรา ของบริษัทจะขาดหายไปไม่ได้ เช่นเดียวกันกับสมุดพกการเรียน การศึกษา สอบได้อย่างไร คะแนนอย่างไร ในเทอมไหนก็จะรายงานออกมาอย่างนั้น” 
      นายสุรพล โอภาสเถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตรแห่งชาติ จำกัด ยืนยันว่า เครดิตบูโรไม่มีและไม่เคยมี Blacklist “ที่พูดๆ กันนั้น

จ้างเดินบัญชี(ทำสเตทเม้น)ช่วยให้ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์กู้ผ่านจริงหรือ

จ้างเดินบัญชี(ทำสเตทเม้น)ช่วยให้ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์กู้ผ่านจริงหรือ????

จ้างเดินบัญชี(ทำสเตทเม้น)ช่วยให้ผู้ที่ติดแบล็คลิสต์กู้ผ่านจริงหรือ????
   สเตทเม้น  คือ หลักฐานอีกหนึ่งอย่างที่สถาบันการเงินเรียกจากผู้ที่ขอกู้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการมีรายได้ การมีเงินฝาก เงินออม หรือจำนวนรายได้ สถาบันบางแห่งอาจจะขอ สเตทเม้น 3 เดือนบ้าง 6  เดือนบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะขอสเตทเม้นกันที่ประมาณ  6  เดือน เคยสงสัยกันไหมว่าเมื่อสถาบันการเงินที่เราขอกู้ได้สเตทเม้นแล้วจะพิจารณา อะไรบ้าง หลักๆ แล้ว จะดูรายได้ ซึ่งก็คือเงินเดือนที่ผ่านบัญชี  มีรายรับเข้ามาเท่าไหร่ สม่ำเสมอ หรือไม่ มีรายได้อื่นๆ ทีฝากเข้าไปในบัญชีหรือไม่ บัญชีมีการถอน-ฝาก อย่างไร พูดง่ายๆ ก็คือจะวิเคราะห์วินัยทางการเงินของเรา เช่น เงืนเดือนเข้ามา เราถอนออกไปเท่าไหร่ เหลือติดบัญชี เป็นเงินฝากหรือไม่  ซึ่งสเตทเม้นก็จะเป็นหลักฐานอีกหนึ่งอย่างที่สถาบันการเงินจะพิจารณาร่วม ด้วยในการอนุมัติสินเชื่อปล่อยกู้เงินให้เรา ทำให้ปัจจุบันการเดินบัญชีธนาคารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำธุรกรรมการเงินเป็น อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเงิน อย่าง ติดแบล็คลิสต์ แต่อยากกู้เงิน จึงเกิดมีพวกมิจฉาชีพมาแฝงอยู่กับอาชีพนี้เป็นจำนวนมากเหมือนกัน คราวนี้เราจะมาเรารู้วิธีรับมือและรู้เท่าทันพวกมิจฉาชีพกันดีกว่า..วิธีการ ตรวจสอบว่าพวกที่รับจ้างเดินบัญชีธนาคารเป็นพวกมิจฉาชีพหรือไม่  คร่าวๆ สามารถทำได้ง่ายๆ  ดังนี้