เครดิตบูโรเตรียมนิรโทษกรรมลูกหนี้ติดแบล็คลิสออกจากระบบ ดีใจผุดๆ เลยงานนี้




เครดิตบูโรเตรียมนิรโทษกรรมลูกหนี้ติดแบล็คลิสออกจากระบบ ดีใจผุดๆ เลยงานนี้

  เมื่อได้รู้ข่าวว่า "เครดิตบูโรเตรียมนิรโทษกรรมลูกหนี้ติดแบล็คลิสออกจากระบบ" เครดิตบูโรบล็อก ก็ขออนุญาตมาแจ้งอภิมหาข่าวดีของลูกหนี้เลยก็ว่าได้ เมื่อเครดิตบูโร เตรียมปลดแบล็คลิสลูกหนี้กว่า 6 แสนราย ออกจากระบบ ต้องบอกว่า งานนี้ คสช. ได้ใจลูกหนี้ไปเต็มๆ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ติดแบล็คลิสกับสถาบันการเงินต่างๆ  คสช. คืนความสุขให้คนไทยอีกครั้ง ด้วยการนิรโทษกรรมลูกหนี้ค้างชำระ ติดแบล็คลิส เกินกว่า 8 ปี  เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่ามันไม่ใช่แค่ข่าว ก็แจ้งที่มาเป็นการรับประกันว่า "ปลดแบล็คลิส" ได้จริงๆ แล้วครับ

     ข่าวนี้ ถูกเปิดเผยจาก นายรณดล  นุ่มนนท์  ผู้ช่วยผู้ว่าการ  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายกำกับสถาบันการเงิน   ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต และทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต  เปิดเผยว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเราเรียกกันว่า "เครดิตบูโร" (NCB) โดยกำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือลูกหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอล เป็นระยะเวลา 5 ปี ให้แก่เครดิตบูโร โดยเครดิตบูโรเองก็จะแสดงข้อมูลลูกหนี้ต่อไปอีก 3 ปี รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานะข้อมูลเครดิตบูโร รวม 8 ปี ข้อมูลหลังจากนี้จะลบออกจากระบบ แทนหลักเกณฑ์ปัจจุบันที่กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จนเสร็จ
   "เนื่องจากคณะกรรมการเครดิตบูโรเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมามีลูกหนี้รายย่อยจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ในปี 2541 ที่ผ่านมา จนกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอล และจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ครบ ถึงแม้ว่าจะผ่านกระบวนการฟ้องร้องไปแล้ว และส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่มีมูลค่าไม่มาก แต่ตามเกณฑ์เดิม ประวัติว่าเป็นหนี้เสียจะโชว์อยู่ตลอดไปในข้อมูลเครดิตบูโร ทำให้ไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ และทำให้ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องไปก่อหนี้นอกระบบ ซึ่งการลบข้อมูลประวัติการเป็นหนี้ส่วนนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้เหล่านี้กลับมากู้หนี้ในระบบได้ จึงถือเป็นหนทางในการดูแลหนี้นอกระบบในทางอ้อมด้วย" 
    ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวต่อว่า การปรับหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งและจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมและลดอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ ในขณะเดียวกัน จะยังคงเป็นประโยชน์ให้สถาบันการเงินสมาชิกเครดิตบูโร มีข้อมูลและระยะเวลาเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะทำให้ข้อมูลของลูกหนี้ โดยหลังจากประกาศดังกล่าวลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีลูกหนี้ที่ได้รับการลบประวัติการเป็นหนี้เสียทันทีในประเทศ 6 แสนราย

   สำหรับปฏิกริยาของสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ 6 แสนราย มาดูกันซักเล็กน้อยครับว่า มีความคิดเห็นอย่างไร สำหรับ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางสาวอรอนงค์ อุดมก้านตรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยว่า การปรับหรือเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ในแง่ผู้บริโภคหรือลูกหนี้รายย่อยๆ ที่มีหนี้วงเงินไม่มาก จะได้รับประโยชน์ เพราะถือว่าเป็นการช่วยเหลือให้ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินได้ใหม่อีกครั้ง เพราะไม่มีรายชื่ออยู่ในระบบเครดิตบูโร ก็สามารถขอสินเชื่อได้ แต่อีกนัยหนึ่งก็เหมือนการผลักให้คนก่อหนี้เพิ่ม
    ในแง่ของสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จะทำงานได้ยากมากขึ้น เนื่องจากจะไม่สามารถเช็กประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าได้ภายหลังจาก 8 ปี ทำให้การพิจารณาสินเชื่อค่อนข้างยาก จึงเป็นความเสี่ยงต่อการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น ในอนาคตจะเห็นต้นทุนทางเครดิตเพิ่ม เช่น ลูกค้าบางรายยังถูกบันทึกประวัติหนี้อยู่ และวันหนึ่งหายไป ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารจะแข่งขันในเรื่องของราคาของความเสี่ยงมากขึ้น และลูกค้าจะต้องแบกรับต้นทุนความเสี่ยงดังกล่าว ขณะเดียวกันจะเห็นแนวโน้มการบังคับคดี หรือการผ่อนผันลูกค้าทำในขั้นตอนกระบวนการที่เร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อการถูกลบประวัติทิ้ง
    "ก่อนหน้านี้ก็มีการพูดคุยบ้างเรื่องการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งปัจจุบันข้อสรุป 8 ปี ในแง่ลูกค้ารายย่อยและระบบ ถือเป็นเรื่องดี เพราะลูกค้าเป็นหนี้เอ็นพีแอลก็สามารถเคลียร์ประวัติและตั้งต้นใหม่ได้ แต่ควรแยกประเภทธุรกิจ ในส่วนของการมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และควรทำควบคู่กับกฎหมายอื่นๆ เพราะหากทำแบบเหมารวม จะทำให้คนประวัติดีและถูกบันทึกปะปนกันหมด แบงก์ก็แยกไม่ออกสุดท้ายก็จะมาลงที่ความเสี่ยงเครดิตได้"  

     นอกจากเรื่องที่ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโร จากเดิม ส่งข้อมูลลูกหนี้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จนเสร็จ เป็น รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานะข้อมูลเครดิตบูโร รวม 8 ปี ก็ยังมีประกาศกำหนดให้สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทเป็นสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3 (9) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 เพื่อให้สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทมีคุณสมบัติในการเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ได้  แต่ในเบื้องต้นยังเป็นระบบสมัครใจก่อน โดย ธปท.และเครดิตบูโร จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับสหกรณ์แต่ละรายถึงผลดี ผลเสียและการส่งข้อมูลอีกครั้ง

  คำถาม  จะรู้ได้อย่างไร คุณคือ 1 ใน 6 แสนราย
  คำตอบ  ลูกหนี้ที่มีประวัติการค้างชำระหนี้เกิน 90 วันอยู่ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรครบ 8 ปี จะถูกลบประวัติการค้างหนี้ออกจากระบบ ...แต่...ยอดหนี้ยังคงเดิม ไม่มีการลบทิ้งหรือล้างข้อมูลออกไปแต่อย่างใด ....ชัดเจนนะครับ ลบประวัติ แต่ไม่ลบหนี้

  คำถาม  แล้วลูกหนี้นอกจาก 6 แสนราย จะได้สิทธิอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
  คำตอบ  สำหรับลูกหนี้เอ็นพีแอลอื่นๆ หรือลูกหนี้ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน (มีข้อมูลในระบบยังไม่ครบ 8 ปี) ยังไม่ได้ชำระหนี้สินต่อธนาคารสมาชิก ต่อจากนี้ขอให้ส่งข้อมูลต่อเนื่อง มาให้เครดิตบูโรเป็นระยะเวลา 5 ปี และหลังจากนั้นเครดิตบูโรจะแสดงข้อมูลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เอ็นพีแอลต่อไปอีก 3 ปี ทำให้รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ ปรากฏในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรรวมทั้งสิ้น 8 ปี หลังจากนั้นจะลบประวัติออกไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ต่อไป  อ่านมาถึงตรงนี้ สำหรับท่านที่ค้างชำระ ....ผมว่าท่านคงพอคิดออกนะครับ ว่าจะทำยังไงต่อไป
   ==>> แต่อย่างไรก็ตาม ธปท. หรือเครดิตบูโรบล็อกเอง ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการเบี้ยวหนี้ ไม่ชำระหนี้ หนีหนี้ แต่อย่างใดนะครับ 
   ส่วนกรณีลูกหนี้ที่เคยเป็นหนี้เอ็นพีแอล แต่ได้ชำระจนครบจำนวนแล้ว แต่ยังต้องมีการแสดงข้อมูลเคยเป็นหนี้ต่อไปอีก 3 ปี ซึ่งมีผลต่อการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นั้น ในขณะนี้คณะกรรมการเครดิตบูโร กำลังพิจารณาว่าควรปรับลดเวลาลงหรือไม่ หรือจะยังไงต่อไป ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติม เครดิตบูโรบล็อกจะแจ้งข่าวให้ทราบกันต่อไปครับ

  คำถาม  จะมีผลเมื่อใด
  คำตอบ  หลังจากลงในราชกิจจานุเบกษา

   นอกจากนั้น คณะกรรมการเครดิตบูโร ยังได้ออกประกาศกำหนดให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภท เป็นสถาบันการเงินตามมาตรา 3 (9) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 เพื่อให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภท ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในขณะนี้ 8,000 แห่ง ซึ่งมีลูกหนี้ทั้งสิ้นกว่า 11 ล้านราย สามารถเข้าเป็น สมาชิกข้อมูลเครดิตได้ แต่ในเบื้องต้นยังเป็นระบบสมัครใจก่อน โดย ธปท.และเครดิตบูโร จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับสหกรณ์แต่ละรายถึงผลดี ผลเสียและการส่งข้อมูลมาในระบบ  ขอบคุณสำหรับการติดตาม...เครดิตบูโรบล็อก


บริการตรวจสอบเครดิตบูโรกับความเคลื่อนไหวล่าสุด



บริการตรวจสอบเครดิตบูโรกับความเคลื่อนไหวล่าสุด


บริการตรวจสอบเครดิตบูโรกับความเคลื่อนไหวล่าสุด
  จากกระทุ้ "ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร" วันนี้เครดิตบูโรบล็อก ขอแจ้งอับเดทความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับ บริการตรวจเครดิตบูโร ว่าตอนนี้สามารถตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้น บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร แจ้งยกเลิก
"การให้บริการตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่  AEON สาขาเซลทรัล พระราม 2  (จากเดิมให้บริการตรวจสอบเครดิตบูโร ในวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่ 1100 - 2000)  ทั้งนี้ งดให้บริการตั้งแต่ 19 ก.ค.57 เป็นต้นไป

ติดเครดิตบูโร (ติดแบล็คลิส)...กู้ได้!




ติดเครดิตบูโร (ติดแบล็คลิส)...กู้ได้!
    ติดเครดิตบูโร ติดแบล็กลิส ก็ยังกู้ได้ ถูกต้องครับ คุณอ่านไม่ผิดหรอกครับ แต่เราจะทำได้อย่าง เครดิตบูโรบล็อก มีคำแนะนำมาฝากเพื่อเป็นแนวทางครับ หลายๆ ท่านคงอ่านมาแล้ว เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" แต่เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ก็ขอย้อนนิดหนึ่งก็แล้วกันนะครับ สำหรับ "เครดิตบูโร" ชื่อเต็มๆ ก็คือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ มีฐานะเป็นบริษัทนะครับ...ผมขอย้ำตรงนี้เลย (เป็นบริษัทก็ต้องหวังในกำ...จุด จุด จุด ว่างไว้ให้ท่านคิดต่อเอง) โดยทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของเรา ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน และสถาบันการเงินอื่น ตัวอย่างข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น รายละเอียดประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อประเภทต่างๆ ของบุคคลคนนั้นทุกประเภท อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น
      ผมสรุปได้เลยว่าเครดิตบูโรมีข้อมูลสินเชื่อเราทุกๆ อย่าง  จบเรื่องเครดิตบูโรไว้เท่านี้ก็แล้วกันนะครับ  ทุกท่านที่เข้ามาอ่านคงอยากทราบว่า ถ้าตัวเราเองติดเครดิตบูโรแล้วจะกู้ได้อย่างไร ที่บอกว่า ติดเครดิตบูโร ก็พูดตามๆ กันนะครับ ทั้งๆ ที่เราก็ทราบดีว่า เครดิตบูโรเป็นเพียงบริษัทจัดเก็บข้อมูล ไม่มีสิทธิ์ ไม่มีอำนาจขึ้นบัญชีดำเรื่องการเงิน จนไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ที่ถูกต้องบอกว่า ประวัติการเงินในเครดิตบูโรไม่ดี (อาจถึงขึ้นธนาคารขึ้นบัญชีดำ ซึ่งบางคนเรียกติดแบล็คลิสจากธนาคาร ทำให้ไม่สามารถกู้เงินกับธนาคารได้ ) เมื่อเกิดปัญหานี้แล้ว คำถามคือ เราจะมีวิธี หรือขั้นตอนอย่างไร จึงจะสามารถกู้เงินทั้งๆ ที่เครดิตบูโรไม่ดี (ติดแบล็คลิส) ไม่ว่าจะกู้เพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือจะทำสินเชื่อธุกรรมการเงินต่างๆ (สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต) ต่อไปนี้คือคำแนะนำจาก เครดิตบูโรบล็อก....
1 จัดการหนี้และกำจัดหนี้

4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก"


 4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก"

4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก"
      ผ่่านครึ่งปีไปแล้ว สำรวจสถานะภาพหนี้กันหรือยัง ถ้ายัง "เช็คเครดิตบูโร" คือ อันดับแรกที่เราจะแนะนำ เพื่อที่เราจะได้ทราบสถานการณ์และสถานะภาพการเงินของเรา ว่าเป็นอย่างไร มีหนี้อะไรบ้าง กี่บัญชี ป้องกันการหลงลืมได้ การมีบัตรเงินสด บัตรสินเชื่อ หรือแม้แต่บัตรเครดิต มีไว้ไม่เสียหลาย แต่จะต้องรู้จักการบริหารจัดการ เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น บัตรเครดิตให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่าย ซื้อสินค้าโดยไม่ต้องชำระตอนนี้ (บางคนเรียกว่า เอาเงินอนาคตมาใช้) หรือแม้แต่มีไว้เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินก็ดี แต่ที่ "เครดิตบูโรบล็อก" เน้นย้ำและแนะนำไว้ตลอด คือ ควรรู้จักบริหารจัดการ วางแผนเรื่องหนี้ให้ดี วันนี้ก็เช่นกัน เครดิตบูโรบล็อก มีข้อแนะนำดีๆ สำหรับผู้ที่เป็นหนี้ทั้งบัตรเครดิต ,สินเชื่อบุคคล หรือหนี้อื่นๆ และยังไม่รู้ว่าจะจัดการกับปัญหาเรื่องหนี้อย่างไร จึงเป็นที่มาของ ..4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก" ขั้นตอนที่ว่ามีอะไรบ้าง เชิญติดตามรายละเอียดกันเลยครับ

เครดิตบูโรบล็อกกับ มาตรา 733 (กฏหมายบอกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วไม่ต้องจ่าย...แต่ทำไมยังต้องจ่าย)




 เครดิตบูโรบล็อกกับ มาตรา 733 (กฏหมายบอกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วไม่ต้องจ่าย...แต่ทำไมยังต้องจ่าย)
      เครดิตบูโรขอกล่าวนำอีกเล็กน้อย ที่มาที่ไปของบทความนี้ มาจาก ชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ ข้อเสนอที่ 3.แก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด รวมทั้งขอให้ยกเว้นการบังคับใช้กฏหมาย ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ซึ่งจะทำให้เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์ค้ำประกันเพื่่อชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่ยังเหลืออยู่   ซึ่ง มาตรา 733 กล่าวว่า "ถ้าเอา ทรัพย์จำนองหลุด และ ราคา ทรัพย์สิน นั้น มีประมาณ ต่ำกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่ ก็ดี หรือถ้า เอา ทรัพย์สินซึ่งจำนอง ออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิ น้อยกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่นั้น ก็ดี เงินยังขาดจำนวน อยู่เท่าใด ลูกหนี้ ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น"

         แล้วทั้งๆ ที่กฏหมายระบุชัดเจนไม่ต้องชำระ แต่ทำไมธนาคาร หรือสถาบันการเงินเวลายึดทรัพย์เราไปแล้ว และขายทอดตลาด ทำไมยังมาเรียกเก็บส่วนต่างจากเราได้อีก

      เครดิตบูโรบล็อกมีคำตอบครับ  คำตอบมาจากในสัญญากับสถาบันการเงินนั้น ซึ่งปกติเราจะไม่อ่าน หรือถึงจะอ่านก็แบบผ่านๆ ตาไปเรื่อย (หนึ่งในนั้นก็ผมละคนหนึ่ง) โดยในสัญญาจะมีระบุไว้ชัดเจนว่า มีข้อตกลงยกเว้นมาตรา 733 ไว้เสมอ  เมื่อมาตรา 733 ไม่มีผล สุดท้าย เรา (ลูกหนี้) จึงต้องจ่ายอยู่ดี
   
      ผมขอเอาเรื่องราวจากโพส์ในพันทิพย์มานำเสนอให้ทานได้อ่านกัน อ่านเพื่อให้รู้ว่า ก่อนจะลงชื่อตัวเองในหนังสืออะไรซักอย่าง โดยเฉพาะสัญญาเรื่องเงินๆ ทองๆ อ่านให้ดีครับ (ขอบคุณพันทิพย์มา ณ โอกาสนี้)

เครดิตบูโรบล็อกแจ้งข่าวดี ลูกหนี้มีเฮ หลังชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ




เครดิตบูโรบล็อกแจ้งข่าวดี ลูกหนี้มีเฮ หลังชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ
ทีแรกคิดว่าเป็นแค่ข่าวลือ แต่สุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องจริง เครดิตบูโรบล็อกก็เลยขอแจ้งข่าวดี ลูกหนี้มีเฮ หลังชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ โดยคุณ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ได้รับรู้และร่วมแสดงความคิดเห็นมาด้วย วันนี้เครดิตบูโรบล็อก ก็เลยมาแจ้งข่าว ซึ่งอย่างน้อยตอนนี้ผมก็มองว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นของข่าวดีสำหรับคนมีหนี้ คือ อย่างน้อยก็มีคนคิด และเสนอเรื่อง ส่วนจะได้หรือไม่ได้ตามที่เสนอ ก็คงต้องรอต่อไป สำหรับรายละเอียดถ้ามีข่าวดีๆ เป็นประโยชน์สำหรับวงการเครดิตบูโร ผมไม่พลาดจะมานำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบอย่างแน่นอน (หากไม่อยากพลาดข่าวสาร แนะนำสมัครรับข่าวสารกับทางเครดิตบูโรบล็อกได้เลยครับ) รายละเอียดของข่าวแจ้งว่า
ชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ เปิดเผยว่า ทางกรรมการและผู้แทนของชมรมต้องการเสนอให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาลูกหนี้ โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนลูกหนี้รายย่อย ทั้งที่เป็นหนี้นอกระบบ และในระบบ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้ 
ข้อเสนอที่ 1.ขอให้มีศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service Center) เนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานที่ช่วยเหลือต่างฝ่ายต่างทำ และไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จจึงแก้ไขปัญหาไม่ได้
ความคิดเห็นของ คุณ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) : เห็นด้วยอย่างยิ่งและควรนำบทเรียนหลังปี 2540 ที่เราเคยมีองค์กรแบบนี้มาคิดเพิ่ม
ความคิดเห็นเครดิตบูโรบล็อก : เห็นด้วย แต่เรื่องหน่วยงานที่ช่วยเหลือ ผมยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม เป็นลักษณะใครเจอปัญหาก็แก้ไขด้วยตนเอง อาจใช้วิธี ปรึกษากันเองบ้าง ผู้ที่เคยเจอปัญหาแบบเดียวกัน/คล้ายๆกัน ปรึกษา/จ้าง ทนาย บ้าง ภาครัฐยังไม่มีส่วนร่วมในการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด
ข้อเสนอที่ 2.ควรมีการจัดตั้งศาลเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบันมีคดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องหนี้จำนวนมาก
ความคิดเห็นของ คุณ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) : ไม่เห็นด้วย เพราะเราควรใช้ระบบปัจจุบัน ประเด็นอยู่ที่การจัดการ ไม่ใช่เรื่องไม่มีองค์กรชี้ขาด ประการต่อมา คือ ระดับความทัดเทียมในการรู้เรื่องกฏหมายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ จะต้องคิดให้มากว่า จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันเกินไปหรือไม่
ความคิดเห็นเครดิตบูโรบล็อก : ไม่เห็นด้วยในเรื่องการจัดตั้งศาลเศรษฐกิจ แต่ เห็นควรจะมีหน่วยงานที่มีความรู้ในเรื่องกฏหมายมาช่วยเหลือลูกหนี้ กรณีเกิดปัญหา
ข้อเสนอที่ 3.แก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด รวมทั้งขอให้ยกเว้นการบังคับใช้กฏหมาย ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ซึ่งจะทำให้เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์ค้ำประกันเพื่่อชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่ยังเหลืออยู่
ชี้แจ้งข้อกฏหมายเล็กน้อยครับ "มาตรา 733   ถ้าเอา ทรัพย์จำนองหลุด และ ราคา ทรัพย์สิน นั้น มีประมาณ ต่ำกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่ ก็ดี หรือถ้า เอา ทรัพย์สินซึ่งจำนอง ออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิ น้อยกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่นั้น ก็ดี เงินยังขาดจำนวน อยู่เท่าใด ลูกหนี้ ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น

เครดิตบูโร สถานะ "42" ปัญหานี้แก้ไขได้ ทำอย่างไร มาดูกัน




เครดิตบูโร สถานะ "42" ปัญหานี้แก้ไขได้ ทำอย่างไร มาดูกัน
      ในใบรายงานข้อมูลเครดิต (เครดิตบูโร) สถานะบัญชีเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินจะต้องจับจ้องสายตาเป็นอันดับต้นๆ ก่อนจะไปพิจารณาในสิ่งอื่นต่อไป คนทีไม่มีปัญหา สถานะจะโชว์ "10" นั่นก็แสดงถึงว่า เป็นผู้ทีมีความสามารถในการชำระหนี้ เพราะสามารถจ่ายได้ตรง ได้ครบตามจำนวนหนี้ แต่ถ้าแตกต่างไปจากนี้ ไม่ว่าจะเป็น "11" (หมายถึง ปิดบัญชี) "12" (หมายถึง พักชำระหนี้ ตามนโยบายของรัฐ) สัญญาณการชำระหนี้ เริ่มจะไม่ดีนัก (หากสนใจจะดูเพิ่มเติมก็แนะนำที่...ความหมายของตัวย่อในใบรายงานเครดิตบูโร )
       วันนี้ผมมีเคสกรณีใบรายงานเครดิตบูโร สถานะ "42" แบบนี้จะติดแบล็คลิสมั้ย แล้วถ้าหากอยากไปกู้ หรือไปขอสินเชื่อจะผ่านมั้ย แล้วจะมีวิธีอย่างไร เครดิตบูโรบล็อก มีคำตอบครับ
   ที่มาที่ไป : เคยกู้ซื้อคอนโดกับแฟนเก่า โดยเป็นผู้กู้ร่วมเมื่อปี 2540 ยอดกู้ตอนนั้น 277,000 บาท กับ ธนาคารอาคาร ธอส. ต่อมาได้เลิกกับแฟน ส่วนคอนโด สุดท้ายก็สร้างไม่เสร็จ กลายเป็นคอนโดร้างไป และแฟนก็ไม่ได้ผ่อนต่อ ตอนนี้ผ่านมา 17 ปีแล้ว ตอนนี้อยากจะกู้ซื้อบ้าน ตรวจเครดิตบูโรล่าสุด สถานะ "42" (โอนหรือขายหนี้) และมีหนี้ยอดค้างชำระเก้าแสนกว่าบาท ถามว่าจะต้องทำอย่างไร
  ข้อแนะนำ :

เช็คแบล็คลิสออนไลน์ ,แบล็คลิสติดกี่ปี ,เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเอง,ตรวจสอบแบล็คลิสทางเว็บ,ตรวจสอบแบล็คลิส,แบล็คลิสเบอร์โทรศัพท์ คำตอบอยูที่นี่ที่เดียว!




เช็คแบล็คลิสออนไลน์ ,แบล็คลิสติดกี่ปี ,เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเอง,ตรวจสอบแบล็คลิสทางเว็บ,ตรวจสอบแบล็คลิส,แบล็คลิสเบอร์โทรศัพท์,...คำตอบอยูที่นี่ที่เดียว!
   ก็ยังมีเมลมาสอบถามกันอยู่เรื่อยๆ สำหรับปัญหาการติดแบล็คลิสบ้าง ไม่เข้าใจเกียวกับเครดิตบูโรบ้าง ถ้าติดแบล็คลิสจะติดกี่ปี อะไรประมาณนี้ เครดิตบูโรบล็อก ก็ขอนำคำถามและข้อสงสัยมารวมไว้ในกระทุ้ เรียกว่า สงสัยอะไรเกี่ยวกับติดแบล็คลิส แนะนำให้มาอ่านกระทุ้นี้ของเครดิตบูโรบล็อกกันก่อนเลยละกัน เผื่อบางคนที่ยังไม่รู้จะได้รู้ บางคนเข้าใจผิดจะได้เข้าใจให้ถูกต้อง ไม่เสียเวลามาเริ่มกันเลยนะครับ
    เช็คแบล็คลิสออนไลน์  : ณ ปัจจุบันที่เขียนกระทุ้นี้ (30 มิ.ย.57) บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เรียกสั้นๆ ว่า เครดิตบูโร) ยังไม่เปิดให้บริการตรวจสอบเครดิตบูโรในลักษณะออนไลน์ครับ ถ้าอยากตรวจสอบเครดิตบูโร ผมได้สรุปรวมไว้ให้แล้ว ที่ หัวข้อ "ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร" ก็สามารถเข้าไปอ่านกันได้
    แบล็คลิสติดกี่ปี : ผมต้องบอกว่า "มีหนี้ก็ต้องใช้หนี้" เมื่อท่านไม่ชำระหนี้ สถานะในรายงานเครดิตบูโรของท่านอง ก็มีแต่จะเสียหายไปเรื่อยๆ เช่น จากค้างชำระ...เป็นค้างชำระเกิน 30 วัน...ค้างชำระเกิน 365 วัน....หรืออาจะเป็นอยู่ระหว่างการดำเนินคดีทางกฏหมาย เครดิตบูโรบล๊อกขอให้ท่านคิดว่า ถ้าเป็นตัวท่านเป็นเจ้าของเงินแล้วเจอคนที่มีรายงานฐานะการเงินแบบนี้ มายืมเงินท่าน แล้วท่านจะให้ยืมมั้ย เมื่อไม่ชำระหนี้ แบล็คลิสมันก็จะติดอยู่ตลอด แต่ถ้าท่านชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว อีก 36 เดือนข้างหน้า สถานะในเครดิตบูโรจะโชว์สถานะ "ปกติ" ที่ท่านเคยค้างชำระ 30 วัน หรือ 365 วัน จะไม่มี...ต้องบอกว่ามองไม่เห็นมากกว่า เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าให้เก็บไว้ในระบบประมวลผลได้ไม่เกิน 3 ปี..เครดิตบูโรบุคคลธรรมดา.. และ 5 ปี ..เครดิตบูโรนิติบุคคล ตามลำดับ จึงเป็นลักษณะข้อมูลใหม่เข้าไปแทนที่ข้อมูลเก่าๆ
    เช็คเครดิตบูโรด้วยตัวเอง : ขอแนะนำที่ หัวข้อ "ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร" ผมได้แยกไว้ให้ชัดเจนว่า อยู่ กทม. ไปเช็คเครดิตบูโรได้ที่ไหน อยู่ ตจว. ไปเช็คเครดิตบูโรได้ที่ไหน
    ตรวจสอบแบล็คลิสทางเว็บ : ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถทำได้เช่นกันกับการเช็คเครดิตออนไลน์ เป็นเพียงการกรอกแบบฟอร์ม เพื่อขอให้ทางเครดิตบูโรส่งใบรายงานกลับมาให้เรา ผ่านทางหน้าเวปไซต์ของธนาคาร ย้ำนะครับ เป็นการขอตามแบบฟอร์ม ไม่ใช่การตรวจสอบแบล็คลิสผ่านทางเวป
    ตรวจสอบแบล็คลิส : แนะนำที่ หัวข้อ "ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร"
    แบล็คลิสเบอร์โทรศัพท์ ,ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษายังไม่ได้ชำระ จะติดแบล็ลลิสมั้ย : ปัจจุบันนี้ประวัติการชำระค่าโทรศัพท์มือถือยังไม่ถูกนำส่งมาที่บริษัทข้อมูลเครดิต จึงไม่มีแบล็คลิสเบอร์โทรศัพท์ เช่นเดียวกันกับ การชำระหนี้กองทุนเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปัจจุบันยังไม่มีการนำส่งข้อมูลเข้ามาในระบบข้อมูลเครดิต สบายใจได้ครับ ว่าท่านไม่ติดแบล็คลิสกองทุน กยศ. แน่นอน แต่ทางที่ดีแนะนำให้ไปชำระดีกว่าครับ

        สำหรับท่านใดที่มีข้อสงสัย ไม่ว่าจะเป็นข้อสงสัยแบล็คลิส หรือเครดิตบูโร สามารถสอบถามมาได้ครับ เครดิตบูโรบล็อกพร้อมไขข้อสงสัย ข้อข้องใจของท่าน ขอบคุณสำหรับการติดตาม ....แบล็คลิสและเครดิตบูโรบล็อก

ตรวจสอบเครดิตบูโรผ่านเคาร์เตอร์ธนาคารแบบละเอียด



ตรวจสอบเครดิตบูโรผ่านเคาร์เตอร์ธนาคารแบบละเอียด
      ต้องบอกว่าเป็นการป้องกันการติดแบล็คลิสโดยไม่รู้ตัว เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัญชีสินเชื่อ โดยเฉพาะตามต่างจังหวัด ได้มีโอกาสตรวจสอบความถูกต้องของประวัติสินเชื่อของตนเอง โดยทางธนาคารต่อไปนี้ ทำหน้าที่เฉพาะตรวจสอบคำขอตรวจสอบเครดิตบูโรและรับชำระค่าตรวจสอบเท่านั้น หลังจากนั้น เครดิตบูโรจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลและจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้แก่ท่าน ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ท่านได้ยื่นคำขอที่ธนาคาร ธนาคารที่เข้าร่วมและสามารถยืนคำขอตรวจสอบเครดิตบูโรผ่านทางเคาร์เตอร์ธนาคารก็มี บมจ.ธนาคารธนาชาต,บมจ.ธนาคารกรุงไทย, บมจ.ธนาคารไอซีบีซี (ไทย),ธนาคารอาคารสงเคราะห์, บมจ.ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทุกสาขา ทั้งนี้ การยื่นคำขอตรวจสอบเครดิตบูโร จะให้สิทธิเฉพาะกับบุคคลธรรมดาและต้องมายื่นขอตรวจสอบด้วยตนเองเท่านั้น  สำหรับขั้นตอนมีดังนี้

  1.  เจ้าของข้อมูลบุคคลธรรมดา กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่ธนาคาร หรือขอแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ธนาคารสาขาที่ท่านติดต่อ และลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน พร้อมแนบหลักฐาน ดังต่อไปนี้ กรณีบุคคลสัญชาติไทย บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ที่แสดงเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) กรณีบุคคลต่างด้าว หนังสือเดินทาง/ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตัวจริง)
  2. ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมการตรวจสอบข้อมูลเครดิตต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร
  3. ธนาคารจะออกหลักฐานการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมและค่าจัดส่งเอกสาร ให้แก่ท่านเก็บไว้เป็นหลักฐาน
  4. บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่ท่านภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ยื่นคำขอ ที่ธนาคาร

ข้อเน้นย้ำคือ

ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร




ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร
  "ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร" ขอนำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบเครดิตบูโรล้วนๆ มาทำเสนอให้กับผู้ที่สนใจได้ทราบ ซึ่งบางคนอาจมีคำถามคาใจว่า อยู่ใน กทม. จะตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหน ส่วนอีกหลายๆ ท่านอาจจะอยู่ในต่างจังหวัด ก็อยากจะทราบว่า ในการตรวจเครดิตบูโร สามารถไปตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง จำเป็นจะต้องมาตรวจใน กทม.หรือไม่ เครดิตบูโรบล็อก วันนี้ขอนำเสนอ และเพื่อให้ง่ายกับผู้ที่สนใจ ขอแยกเป็นพื้นที่นะครับ รายละเอียดก็มีดังนี้
   1. สำหรับผู้ที่อยู่ใน กทม. และมีภูมิลำเนาใกล้เคียง หรือต้องเดินทางไปใกล้เคียงกับสถานที่เหล่านี้ สามารถไปตรวจเช็คเครดิตบูโร และรอรับได้เลย  (ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีครับ)
1.1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2 เช็คแบล็คลิส ฟรี ได้ตั้งแต่ วันจันทร์ ถึง ศุกร์ (หยุดวันนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 0900 - 1630
2.สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง สำนักงานจะอยู่ในภายในสถานี  สามารถไปตรวจสอบเครดิตบูโร  ได้ตั้งแต่ วันจันทร์ ถึง ศุกร์ (หยุดวันนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา  0900 - 1800
  3.ปากซอยสุขุมวิท  25  อาคารกลาสเฮ้า (ชั้นใต้ดิน)  ตั้งแต่ วันจันทร์ ถึง ศุกร์ (หยุดวันนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา  0900 -1630
  4.ห้าง เจ-เวนิว  (นวนคร) ชั้น 4 ติดกับประกันสังคม  จุดนี้จะพิเศษตรงที่สามารถไปตรวจสอบเครดิตบูโร  ได้ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์  ตั้งแต่เวลา  0900 - 1800
5.CITI Advance เฉพาะสาขา เดอะมอลล์ บางกะปิ และ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ทั้งนี้เปิดให้ตรวจเครดิตบูโร เฉพาะ เสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่ 1100 - 2000
6.AEON เฉพาะสาขา อิมพิเรียล สำโรง และ เซลทรัล พระราม 2 เปิดบริการตรวจเครดิตบูโรเหมือน CITI Advance คือ  เฉพาะ เสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่ 1100 - 2000
     หลักฐานและค่าตรวจเครดิตบูโร 
1. บัตรประชาชนของตนเอง
2.ค่าบริการ 100 บาท

  2.สำหรับผู้ที่ตามต่างจังหวัด หรือไม่สามารถไปตรวจเครดิตบูโร ตามข้อ 1 ก็สามารถไปตรวจเครดิตบูโรได้เช่นกัน

"บัตรเครดิต..บัตรสินเชื่อ" ใช้ให้เป็น แบล็คลิสต์ไม่เกิด




"บัตรเครดิต..บัตรสินเชื่อ" ใช้ให้เป็น แบล็คลิสต์ไม่เกิด
     ปัจจุบันนี้การใช้บริการบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือไม่ว่าจะเป็นบัตรสินเชื่ออีกหลายๆ ประเภท กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะสะดวกสบาย (ไม่มีเงินก็ทำให้มีเงินสดได้ หรืออยากได้สินค้าอะไรก็สามารถเอามาก่อน แล้วเลือกผ่อนทีหลัง ก็ยังสามารถทำได้อีก) ทั้งนี้บางบัตรยังสามารถเลือกช่วงระยะเวลา หรือดอกเบี้ยได้อีกด้วย แหม๋..มันช่างสะดวกมากจิงๆ  และเพราะเหตุนี้จึงทำให้ผู้คนหันมาใช้บริการ "บัตรเครดิต...บัตรกดเงินสด...บัตรสินเชื่อ" กันมากขึ้น โดยที่ผู้ประกอบการหลายรายก็จัดโปรโมชั่นต่างๆ ออกมาชนิดที่ว่า เข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่ม ตั้งแต่ขอทานตามตลาดนัด ยันผู้จัดการบริษัทเลย...อันนี้ผมสมมุติเอานะครับ...โดยส่วนมากแล้วก็จะนำเสนอสิทธิพิเศษต่างๆ ในการใช้บัตรของตนเองกับทางห้างบริษัท หรือห้างร้านต่างๆ แต่...แต่...แต่กลับไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดที่จำเป็นในเงื่อนไขสัญญา เช่น ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าติดตามทวงถาม ค่าผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นข้อมูลที่สำคัญๆ ทั้งสิ้นในการพิจารณาเลือกใช้บัตรเครดิต หรือบัตรสินเชื่อต่างๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการติดแบล็คลิสต์

สินเชื่อรถยนต์"ไม่เช็คแบล็คลิสต์ ติดเครดิตบูโร ก็กู้ได้" จริงๆ มันเป็นอย่างไร (ตอนที่ 2)




สินเชื่อรถยนต์"ไม่เช็คแบล็คลิสต์  ติดเครดิตบูโร ก็กู้ได้" จริงๆ มันเป็นอย่างไร (ตอนที่ 2)
    จาก   "ไม่เช็คแบล็คลิสต์  ติดเครดิตบูโร ก็กู้ได้" จริงๆ มันเป็นอย่างไร   สุดท้ายผมทิ้งท้ายไว้ว่า ถ้าหากท่านติดแบล็คลิสต์ล่ะ ทำไมยังกู้ได้ หรือกู้ผ่าน ทำได้อย่างไร มันมีวิธีการอย่างไร ก็เลยเป็นที่มาของตอนที่ 2 นะครับ  เป็นเรื่องปกติและธรรมดามากครับ ที่สถาบันการเงินต่างๆ ไม่อยากจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ที่ติดแบล็คลิสต์ หรือเคยติดแบล็คลิสต์ แต่ที่เต็นรถขึ้นป้ายว่า "ติดแบล็คลิสต์ก็กู้ผ่านได้" เพราะเต๊นรถเหล่านั้น เลือกจัดไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินชั้นนำ ผมยกตัวอย่างแค่เอ่ยชื่อแบงค์...ทุกคนรู้จัก ถ้าส่งเรื่องไปที่นี่ แน่นอนต้องมีการตรวจเครดิตบูโร เค้าก็เห็นแล้วว่าคุณเครดิตบูโรไม่ดี ติดแบล็คลิสต์ ก็ไม่มีทางอนุมัติล่ะ  ผมถึงบอกว่า เต๊นรถเหล่านั้นเลือกจัดไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินชั้นนำ ถ้าถามต่อว่าแล้วสถาบันการเงินที่ว่า อยู่ที่ไหน มีชื่ออะไรบ้าง เค้าไม่บอกครับ ก็เป็นช่องทางทำมาหากินเค้า (เรื่องอะไรจะบอก...จิงมั้ยครับ 555) อย่างไรก็ตาม การพิจารณาความเสี่ยงของสินเชื่อ สถาบันการเงินที่ไหนๆ ก็ต้องทำอยู่ดี เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งสำคัญอันดับแรกที่เต๊นรถจะทำเพื่อให้คนที่ติดแบล็คลิสต์ กู้ผ่าน คือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้สถาบันการเงินเหล่านั้นเชื่อมั่น และความมั่นใจว่าผู้กู้ มีความสามารถในการชำระหนี้ โดยอาศัยหลักทรัพย์ หรือบุคคลเข้ามาค้ำประกัน  หรือแม้แต่ใช้หลักประกันอื่นๆ ตามแต่ผู้กู้รายนั้นจะมี เข้ามาเป็นตัวช่วย ทั้งนี้

สินเชื่อรถยนต์"ไม่เช็คแบล็คลิสต์ ติดเครดิตบูโร ก็กู้ได้" จริงๆ มันเป็นอย่างไร




สินเชื่อรถยนต์"ไม่เช็คแบล็คลิสต์  ติดเครดิตบูโร ก็กู้ได้" จริงๆ มันเป็นอย่างไร
   ทุกครั้งที่ผ่านเต็นรถ จะต้องมีประโยคเหล่านี้ เช่น  ไม่เช็คแบล็คลิสต์ ติดเครดิตบูโร ฟรีเงินดาวน์ ไม่ต้องใช้คนค้ำ หรือคำอื่นๆ อีก แต่สุดท้ายก็กู้ได้ เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับ ทั้งๆ ที่เป็นเพียงเต็นรถ ไม่ใช่สถาบันการเงิน ทำได้ขนาดนั้นเลยเหรอ แล้วที่แบงค์เคยบอกว่าเราติดเครดิตบูโร (ติดแบล็คลิสต์) สินเชื่อไม่ผ่านนะคะ เอ๊ะ ตกลงมันยังไงกันแน่ แล้วถ้าเต็นรถทำได้ เค้าทำกันได้ยังไง วันนี้เครดิตบูโรบล็อกจะมาเล่าให้ฟังว่า "ไม่เช็คแบล็คลิสต์  ติดเครดิตบูโร ก็กู้ได้" จริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร เต็นรถเค้ามีวิธีทำอย่างไร ก่อนอื่น จากคำที่ผมยกตัวอย่าง
        เช่น  คำว่า ฟรีเงินดาวน์ ไม่ต้องใช้คนค้ำ 
จากประโยคนี้ ที่จริงแล้วมาจาก
       ประโยคที่ว่า " ฟรีเงินดาวน์ (ทางเลือกที่ 1) หรือ....ไม่ต้องใช้คนค้ำ (ทางเลือกที่ 2) หรือ....(ทางเลือกที่ 3) หรือ....(ทางเลือกต่อไป.)...ฯลฯ"
      เห็นมั้ยครับ จริงๆ แล้วก็คือการแยกคุณสมบัติของผู้กู้แต่ละราย ว่าเข้าหลักเกณฑ์อะไร แล้วเราถึงจะใช้ทางเลือกนั้นได้   ขออธิบายให้เห็นรายละเอียดกันเลยนะครับ

อีกหนึ่งทางเลือก ตรวจเครดิตบูโรราคาถูก (ลด 50%) รู้ผลไม่เกิน 15 นาที


อีกหนึ่งทางเลือก ตรวจเครดิตบูโรราคาถูก (ลด 50%) รู้ผลไม่เกิน 15 นาที


      แนะนำ! ตรวจเครดิตบูโร ราคาถูก (ลด 50%)  ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยตรวจเครดิตบูโรแล้วก็อยู่ใกล้ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศจีน เฉพาะสาขากรุงเทพ (179/4 อาคารบางกอกซิตี้ทาวเวอร์, ถ.สาทรใต้, แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร, โทรศัพท์:02 286 1010) เมื่อเครดิตบูโรร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัด (สาขากรุงเทพฯ) เปิดให้บริการตรวจเครดิตบูโร ในราคา 50 บาท (ลด 50%) จากราคาปกติ 100 บาท สำหรับรายละเอียด

รวมกระทู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขทั้งเครดิตบูโร และแบล็คลิสต์


รวมกระทู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขทั้งเครดิตบูโร และแบล็คลิสต์
     เนื่องจากมีหลายๆ ท่านส่งเมลมาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับติดแบล็คลิสต์ ติดเครดิตบูโร ต่างคนก็ต่างปัญหานะครับ เครดิตบูโรบล็อกก็ขอเอาใจช่วยทุกๆ ท่าน จากใจจริง ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ และด้วยสาเหตุนี้ผมจึงขออนุญาตนำคำถามและแนวทางแก้ไขปัญหา นำเอามารวมไว้ที่หัวข้อนี้เลย เพื่อง่ายและสะดวกต่อการหาแนวทางแก้ไขโดยเฉพาะผู้ที่กำลังพบเจอปัญหาลักษณะคล้ายๆ กัน ไว้ใช้เป็นแนวทางคร่าวๆ แก้ปัญหา เอาล่ะครับ มาเริ่มกันเลย


 รวมคำถามเครดิตบูโรและแบล็คลิสต์
  1.รบกวนสอบถามค่ะ เคยมีประวัติชำระล่าช้าของ non-bank อยู่ 3-4 ที่เนื่องจากตอนนั้นตกงาน แต่ตอนนี้ได้ปิดบัญชีชำระหนี้ของทุกที่หมดแล้ว ประมาณ 2-3 ปี ไม่ทราบว่าสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน เช่นสมัครบัตรกดเงินสด สินเชื่อบุุคคล หรือ บัตรเครดิต ของธนาคารได้ไหมค่ะ ปัจจุบันทำงานประจำได้รับเงินเดือน 17500 บาท อายุงาน 7 ปีคะ ขอบคุณมากค่ะ  ...

คำถามเครดิตบูโร :ปิดบัญชีแล้ว..เช็คเครดิตบูโรปกติ แต่ยังทวงหนี้ เอ๊ะ! ยังไง?




คำถามเครดิตบูโร: ปิดบัญชีแล้ว..เช็คเครดิตบูโรปกติ แต่ยังทวงหนี้ เอ๊ะ! ยังไง?
      เหตุการณ์: คุณหญิง(ชื่อสมมุติ) สอบถามเกี่ยวกับเครดิตบูโร ว่าได้ไปเช่าซื้อรถจักรยานยนต์กับบริษัทอิออน โดยทำสัญญาประมาณปลายปี 50  สัญญาระบุ 48 งวด แต่เมื่อชำระค่างวดไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ก็เกิดปัญหาค้างชำระ สุดท้ายก็ค้างชำระค่างวดติดต่อหลายเดือน ต่อมาเจรจากับบริษัทอิออน และทยอยชำระค่างวด ประมาณปลายปี 56 คุณหญิงได้ชำระค่างวดทั้งหมดเรียบร้อย และปิดบัญชี ปี 57 ทำการเช็คเครดิตบูโร แล้วในใบรายงานสถานะเครดิตบูโร "สถานะบัญชี 11 - ปิดบัญชี" ตรวจสอบยอดหนี้แล้วคงเหลือ 0 บาท หลังจากนั้นไม่นานมีบริษัทรับทวงหนี้ติดต่อมา แจ้งว่ายังมีหนี้ค้างอยู่กับบริษัทอิออนอีก 17,000 บาท และเสนอส่วนลดให้ หากชำระหนี้ทั้งหมด
  คำถาม
   1. จำเป็นจะต้องชำระหนี้ที่บริษัททวงหนี้ติดต่อมาหรือไม่ เพราะมั่นใจว่าได้ชำระไปหมดแล้ว จากการตรวจสอบเครดิตบูโรในใบรายงานก็แจ้งสถานะปิดบัญชี หนี้คงค้าง  0  บาท
   2.เมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปี ข้อมูลตรงนี้จะหายไป ถูกต้องหรือไม่

คำตอบของคำถามข้อ 1.

เครดิตบูโรของท่านติดแบล็คลิส...ความเข้าใจที่ถูกต้อง


เครดิตบูโรของท่านติดแบล็คลิส...ความเข้าใจที่ถูกต้อง
   "เครดิตบูโรของท่านติดแบล๊คลิส" หากท่านได้รับการติดต่อจากธนาคาร หรือสถาบันการเงินอะไรก็แล้วแต่ ระหว่างที่ท่านยื่นเรื่องกู้ไปแล้วและกำลังหวังว่าจะมีบ้านซักหลัง รถใหม่ซักคัน แต่แล้ว "เครดิตบูโรของ....ติดแบล๊คลิส" บ้าน....รถ...หายไปแล้ววววว มาวิเคราะห์กัน เครดิตบูโรเป็นใคร ทำไมให้เราติดแบล๊คลิสต์ได้
       ต้องขอบอกเลยว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจไม่ถูกต้อง ความจริงแล้วเครดิตบูโร ไม่มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อ อำนาจอนุมัติสินเชื่อเป็นของธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพราะเครดิตบูโร มีหน้าที่เพียงจัดเก็บ รักษา รวบรวม และประมวลผลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งข้อมูลจะเป็นไปตามที่สถาบันการเงินต่างๆ ที่เป็นสมาชิกกับทางเครดิตบูโรจัดส่งให้ ในกรณนี้ผู้ขอสินเชื่อแล้วสถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้นัน อาจมาจาหลายสาเหตุ เช่น รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนด ข้อมูลในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามที่สถาบันการเงินกำหนด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการมีประวัติชำระหนี้ที่ไม่ดี (ผิดนัด หรือค้างชำระ เป็นต้น)

2ม 1พ กำจัดหนี้ที่ไม่จำเป็นให้เป็นศูนย์


2ม  1พ กำจัดหนี้ที่ไม่จำเป็นให้เป็นศูนย์ 
    เริ่มต้นมาเป็นแนวคำขวัญนิดหนึ่งกับ  " 2ม  1พ  กำจัดหนี้ที่ไม่จำเป็นให้เป็นศูนย์ "  มีคนจำนวนไม่น้อย เสียสมดุลทางการเงิน มีหนี้ที่เกินชำระได้ ติดแบล็คลิส ไม่สามารถกู้กับสถาบันการเงินได้ ทำให้ต้องไปกู้เงินนอกระบบ แลัวมันมีสาเหตุมาจากอะไร วันนี้เรามีข้อแนะนำอย่างง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจสอบ และวิเคราะห์การเงินของตัวเอง ว่าตอนนี้ สถานะการเงินเราเป็นอย่างไร เริ่มต้นกันที่ "2ม" แล้วมันคืออะไร มาดูกัน
     1. ไม่รู้สถานะหนี้สินที่แท้จริงของตนเอง หากว่าใครไม่อยากเสียสมดุลทางการเงิน ไม่อยากมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเป็นต้องมีการหมั่นตรวจสอบสถานะทางการเงินของตัวเองเป็นระยะๆ ซึ่งการตรวจสอบภาระหนี้สินทำได้ง่ายๆ โดยการเปรียบเทียบภาระหนี้สินทังหมดที่เรามีกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่มี ในทางการเงินส่วนบุคคล เราเรียกว่า "อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์"  คำนวณจากสูตรง่ายๆ ดังนี้


อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์  = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม
นักการเงินแนะนำว่า

ปัญหาเครดิตบูโร ....อนุมัติบัตรเครดิต แต่ไม่อนุมัติบ้าน ทำไม??



ปัญหาเครดิตบูโร ....อนุมัติบัตรเครดิต แต่ไม่อนุมัติบ้าน ทำไม??
   ถาม...เคยมีประวัติค้างชำระค่างวด ประมาณ 4 ปีก่อน ตอนนี้ปิดบัญชีไปหมดแล้ว หลังจากนั้นไม่เคยทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา ลองยืนเอกสารทำบัตรเครดิตกับทาง  KTC ปรากฏว่าผ่าน วงเงิน 100,000 บาท ต่อมาอยากได้บ้าน จึงไปทำสัญญากู้ซื้อบ้านกับธนาคาร  UOB แต่ธนาคารไม่อนุมัติ 
   ข้อสงสัยที่ 1 ....ทำบัตรเครดิตผ่าน แต่เพราะเหตุใดสินเชื่อบ้านจึงไม่ผ่าน  สอบถาม จนท.ธนาคาร แจ้งว่า ธนาคารตรวจสอบเจอประวัติชำระไม่ดี 
    ข้อสงสัยที่ 2 ...อยากทราบว่าเพราะสาเหตุที่ทางธนาคารตรวจพบประวัติชำระไม่ดี จึงทำให้สินเชื่อบ้านไม่ผ่าน และประวัติไม่ดีจะหายไปตอนไหน

   ตอบ....

เช็คแบล็คลิส ฟรี! รู้ผลทันที บริการใหม่จากเครดิตบูโร (วันนี้ - 30 ธ.ค.57)


เช็คแบล็คลิส ฟรี! รู้ผลทันที บริการใหม่จากเครดิตบูโร (วันนี้ - 30 ธ.ค.57)
          

       หายไปนาน วันนี้ผมมีบริการดี และฟรี ของเครดิตบูโรมาแนะนำกัน นั่นคือ "ตรวจเช็คเครดิตบูโร ฟรี! ในเดือนเกิดของท่าน" ซึ่งนับว่าเป็นอะไรที่หายากสำหรับคำว่า "ฟรีและดี" ในยุคปัจจุบัน อย่างที่บอกครับ บริการตรวจเช็คเครดิตบูโร ฟรี ที่ว่านี้ เฉพาะ ในเดิอนเกิดของท่านเท่านั้นนะครับ ยำอีกครั้ง "ตรวจเช็คเครดิตบูโร ฟรี เฉพาะในเดือนเกิด ...สำหรับตัวท่านเองเกิดเดือนไหน คงจำกันได้ หากสนใจก็สามารถที่จะไปตรวจเช็คเครดิตบูโร บางคนอาจเรียกเช็คแบล็คลิสต์ ตรวจแบล็คลิส จะอะไรก็แล้วแต่กับทางบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติได้เลย เรียกสั้นๆ เครดิตบูโร การันตี รู้ผลทันที  ภายใน 15 นาที คิดว่า คงรอกันได้ เหมือนไปธนาคาร แป๊ปเดียว ก็ได้แล้ว โดยใช้เอกสารเพียงอย่างเดียว คือบัตรประชาชน...เท่านั้น  สำหรับบริการเช็คเครดิตบูโร ฟรีนี้ ทางเครดิตบูโรสงวนไว้สำหรับผู้ทีไปเช็คบูโรด้วยตัวเองเท่านั้น ฝากไปเช็คแบล็คลิสแทนกันไม่ได้ครับ  สำหรับสถานที่และเวลา ผมได้ทำเป็นข้อๆ สรุปได้ดังนี้