บริการตรวจสอบเครดิตบูโรกับความเคลื่อนไหวล่าสุด



บริการตรวจสอบเครดิตบูโรกับความเคลื่อนไหวล่าสุด


บริการตรวจสอบเครดิตบูโรกับความเคลื่อนไหวล่าสุด
  จากกระทุ้ "ครบเครื่องเรื่องตรวจสอบเครดิตบูโร" วันนี้เครดิตบูโรบล็อก ขอแจ้งอับเดทความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับ บริการตรวจเครดิตบูโร ว่าตอนนี้สามารถตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหนบ้าง สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้น บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร แจ้งยกเลิก
"การให้บริการตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่  AEON สาขาเซลทรัล พระราม 2  (จากเดิมให้บริการตรวจสอบเครดิตบูโร ในวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่ 1100 - 2000)  ทั้งนี้ งดให้บริการตั้งแต่ 19 ก.ค.57 เป็นต้นไป

ติดเครดิตบูโร (ติดแบล็คลิส)...กู้ได้!




ติดเครดิตบูโร (ติดแบล็คลิส)...กู้ได้!
    ติดเครดิตบูโร ติดแบล็กลิส ก็ยังกู้ได้ ถูกต้องครับ คุณอ่านไม่ผิดหรอกครับ แต่เราจะทำได้อย่าง เครดิตบูโรบล็อก มีคำแนะนำมาฝากเพื่อเป็นแนวทางครับ หลายๆ ท่านคงอ่านมาแล้ว เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" แต่เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ก็ขอย้อนนิดหนึ่งก็แล้วกันนะครับ สำหรับ "เครดิตบูโร" ชื่อเต็มๆ ก็คือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ มีฐานะเป็นบริษัทนะครับ...ผมขอย้ำตรงนี้เลย (เป็นบริษัทก็ต้องหวังในกำ...จุด จุด จุด ว่างไว้ให้ท่านคิดต่อเอง) โดยทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของเรา ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน และสถาบันการเงินอื่น ตัวอย่างข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น รายละเอียดประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อประเภทต่างๆ ของบุคคลคนนั้นทุกประเภท อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น
      ผมสรุปได้เลยว่าเครดิตบูโรมีข้อมูลสินเชื่อเราทุกๆ อย่าง  จบเรื่องเครดิตบูโรไว้เท่านี้ก็แล้วกันนะครับ  ทุกท่านที่เข้ามาอ่านคงอยากทราบว่า ถ้าตัวเราเองติดเครดิตบูโรแล้วจะกู้ได้อย่างไร ที่บอกว่า ติดเครดิตบูโร ก็พูดตามๆ กันนะครับ ทั้งๆ ที่เราก็ทราบดีว่า เครดิตบูโรเป็นเพียงบริษัทจัดเก็บข้อมูล ไม่มีสิทธิ์ ไม่มีอำนาจขึ้นบัญชีดำเรื่องการเงิน จนไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ที่ถูกต้องบอกว่า ประวัติการเงินในเครดิตบูโรไม่ดี (อาจถึงขึ้นธนาคารขึ้นบัญชีดำ ซึ่งบางคนเรียกติดแบล็คลิสจากธนาคาร ทำให้ไม่สามารถกู้เงินกับธนาคารได้ ) เมื่อเกิดปัญหานี้แล้ว คำถามคือ เราจะมีวิธี หรือขั้นตอนอย่างไร จึงจะสามารถกู้เงินทั้งๆ ที่เครดิตบูโรไม่ดี (ติดแบล็คลิส) ไม่ว่าจะกู้เพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือจะทำสินเชื่อธุกรรมการเงินต่างๆ (สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต) ต่อไปนี้คือคำแนะนำจาก เครดิตบูโรบล็อก....
1 จัดการหนี้และกำจัดหนี้

4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก"


 4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก"

4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก"
      ผ่่านครึ่งปีไปแล้ว สำรวจสถานะภาพหนี้กันหรือยัง ถ้ายัง "เช็คเครดิตบูโร" คือ อันดับแรกที่เราจะแนะนำ เพื่อที่เราจะได้ทราบสถานการณ์และสถานะภาพการเงินของเรา ว่าเป็นอย่างไร มีหนี้อะไรบ้าง กี่บัญชี ป้องกันการหลงลืมได้ การมีบัตรเงินสด บัตรสินเชื่อ หรือแม้แต่บัตรเครดิต มีไว้ไม่เสียหลาย แต่จะต้องรู้จักการบริหารจัดการ เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น บัตรเครดิตให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่าย ซื้อสินค้าโดยไม่ต้องชำระตอนนี้ (บางคนเรียกว่า เอาเงินอนาคตมาใช้) หรือแม้แต่มีไว้เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินก็ดี แต่ที่ "เครดิตบูโรบล็อก" เน้นย้ำและแนะนำไว้ตลอด คือ ควรรู้จักบริหารจัดการ วางแผนเรื่องหนี้ให้ดี วันนี้ก็เช่นกัน เครดิตบูโรบล็อก มีข้อแนะนำดีๆ สำหรับผู้ที่เป็นหนี้ทั้งบัตรเครดิต ,สินเชื่อบุคคล หรือหนี้อื่นๆ และยังไม่รู้ว่าจะจัดการกับปัญหาเรื่องหนี้อย่างไร จึงเป็นที่มาของ ..4 ขั้นตอนง่ายๆ จัดการหนี้ กับ "เครดิตบูโรบล๊อก" ขั้นตอนที่ว่ามีอะไรบ้าง เชิญติดตามรายละเอียดกันเลยครับ

เครดิตบูโรบล็อกกับ มาตรา 733 (กฏหมายบอกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วไม่ต้องจ่าย...แต่ทำไมยังต้องจ่าย)




 เครดิตบูโรบล็อกกับ มาตรา 733 (กฏหมายบอกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วไม่ต้องจ่าย...แต่ทำไมยังต้องจ่าย)
      เครดิตบูโรขอกล่าวนำอีกเล็กน้อย ที่มาที่ไปของบทความนี้ มาจาก ชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ ข้อเสนอที่ 3.แก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด รวมทั้งขอให้ยกเว้นการบังคับใช้กฏหมาย ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ซึ่งจะทำให้เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์ค้ำประกันเพื่่อชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่ยังเหลืออยู่   ซึ่ง มาตรา 733 กล่าวว่า "ถ้าเอา ทรัพย์จำนองหลุด และ ราคา ทรัพย์สิน นั้น มีประมาณ ต่ำกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่ ก็ดี หรือถ้า เอา ทรัพย์สินซึ่งจำนอง ออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิ น้อยกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่นั้น ก็ดี เงินยังขาดจำนวน อยู่เท่าใด ลูกหนี้ ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น"

         แล้วทั้งๆ ที่กฏหมายระบุชัดเจนไม่ต้องชำระ แต่ทำไมธนาคาร หรือสถาบันการเงินเวลายึดทรัพย์เราไปแล้ว และขายทอดตลาด ทำไมยังมาเรียกเก็บส่วนต่างจากเราได้อีก

      เครดิตบูโรบล็อกมีคำตอบครับ  คำตอบมาจากในสัญญากับสถาบันการเงินนั้น ซึ่งปกติเราจะไม่อ่าน หรือถึงจะอ่านก็แบบผ่านๆ ตาไปเรื่อย (หนึ่งในนั้นก็ผมละคนหนึ่ง) โดยในสัญญาจะมีระบุไว้ชัดเจนว่า มีข้อตกลงยกเว้นมาตรา 733 ไว้เสมอ  เมื่อมาตรา 733 ไม่มีผล สุดท้าย เรา (ลูกหนี้) จึงต้องจ่ายอยู่ดี
   
      ผมขอเอาเรื่องราวจากโพส์ในพันทิพย์มานำเสนอให้ทานได้อ่านกัน อ่านเพื่อให้รู้ว่า ก่อนจะลงชื่อตัวเองในหนังสืออะไรซักอย่าง โดยเฉพาะสัญญาเรื่องเงินๆ ทองๆ อ่านให้ดีครับ (ขอบคุณพันทิพย์มา ณ โอกาสนี้)

เครดิตบูโรบล็อกแจ้งข่าวดี ลูกหนี้มีเฮ หลังชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ




เครดิตบูโรบล็อกแจ้งข่าวดี ลูกหนี้มีเฮ หลังชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ
ทีแรกคิดว่าเป็นแค่ข่าวลือ แต่สุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องจริง เครดิตบูโรบล็อกก็เลยขอแจ้งข่าวดี ลูกหนี้มีเฮ หลังชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ โดยคุณ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ได้รับรู้และร่วมแสดงความคิดเห็นมาด้วย วันนี้เครดิตบูโรบล็อก ก็เลยมาแจ้งข่าว ซึ่งอย่างน้อยตอนนี้ผมก็มองว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นของข่าวดีสำหรับคนมีหนี้ คือ อย่างน้อยก็มีคนคิด และเสนอเรื่อง ส่วนจะได้หรือไม่ได้ตามที่เสนอ ก็คงต้องรอต่อไป สำหรับรายละเอียดถ้ามีข่าวดีๆ เป็นประโยชน์สำหรับวงการเครดิตบูโร ผมไม่พลาดจะมานำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบอย่างแน่นอน (หากไม่อยากพลาดข่าวสาร แนะนำสมัครรับข่าวสารกับทางเครดิตบูโรบล็อกได้เลยครับ) รายละเอียดของข่าวแจ้งว่า
ชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ เปิดเผยว่า ทางกรรมการและผู้แทนของชมรมต้องการเสนอให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาลูกหนี้ โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนลูกหนี้รายย่อย ทั้งที่เป็นหนี้นอกระบบ และในระบบ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้ 
ข้อเสนอที่ 1.ขอให้มีศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service Center) เนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานที่ช่วยเหลือต่างฝ่ายต่างทำ และไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จจึงแก้ไขปัญหาไม่ได้
ความคิดเห็นของ คุณ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) : เห็นด้วยอย่างยิ่งและควรนำบทเรียนหลังปี 2540 ที่เราเคยมีองค์กรแบบนี้มาคิดเพิ่ม
ความคิดเห็นเครดิตบูโรบล็อก : เห็นด้วย แต่เรื่องหน่วยงานที่ช่วยเหลือ ผมยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม เป็นลักษณะใครเจอปัญหาก็แก้ไขด้วยตนเอง อาจใช้วิธี ปรึกษากันเองบ้าง ผู้ที่เคยเจอปัญหาแบบเดียวกัน/คล้ายๆกัน ปรึกษา/จ้าง ทนาย บ้าง ภาครัฐยังไม่มีส่วนร่วมในการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด
ข้อเสนอที่ 2.ควรมีการจัดตั้งศาลเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบันมีคดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องหนี้จำนวนมาก
ความคิดเห็นของ คุณ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) : ไม่เห็นด้วย เพราะเราควรใช้ระบบปัจจุบัน ประเด็นอยู่ที่การจัดการ ไม่ใช่เรื่องไม่มีองค์กรชี้ขาด ประการต่อมา คือ ระดับความทัดเทียมในการรู้เรื่องกฏหมายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ จะต้องคิดให้มากว่า จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันเกินไปหรือไม่
ความคิดเห็นเครดิตบูโรบล็อก : ไม่เห็นด้วยในเรื่องการจัดตั้งศาลเศรษฐกิจ แต่ เห็นควรจะมีหน่วยงานที่มีความรู้ในเรื่องกฏหมายมาช่วยเหลือลูกหนี้ กรณีเกิดปัญหา
ข้อเสนอที่ 3.แก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด รวมทั้งขอให้ยกเว้นการบังคับใช้กฏหมาย ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ซึ่งจะทำให้เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์ค้ำประกันเพื่่อชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่ยังเหลืออยู่
ชี้แจ้งข้อกฏหมายเล็กน้อยครับ "มาตรา 733   ถ้าเอา ทรัพย์จำนองหลุด และ ราคา ทรัพย์สิน นั้น มีประมาณ ต่ำกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่ ก็ดี หรือถ้า เอา ทรัพย์สินซึ่งจำนอง ออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิ น้อยกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่นั้น ก็ดี เงินยังขาดจำนวน อยู่เท่าใด ลูกหนี้ ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น