ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 2)

ติดเครดิตบูโรกู้ได้ (ตอนที่ 2)

  จาก ติดเครดิตบูโรกู้ได้  (ตอนที่ 1) มาต่อกันเลยครับ ....เมื่อติดแบล็คลิสต์ แล้ว ใช่ว่า...ชีวิตจะถึง "จุดจบ" ทางการเงิน ในความเป็นจริงแล้วยังมีแนวทาง "กอบกู้" ประวัติการเงินให้กลับมาดีดังเดิมได้.. แนวทางกู้เครดิต "เสีย" และสร้างเครดิตใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกแบงก์ปฏิเสธการให้สินเชื่อครั้งใหม่.. สิ่งที่ควรทำอย่างแรกเลย..ให้เข้าพบสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอ "ผ่อนระยะเวลา" ชำระหนี้ออกไป เช่น 10-12 เดือน เป็นต้น "เมื่อเราไม่มีเงินชำระหนี้ทั้งหมด ทางเดียวก็คือการเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อทำการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ และหาทางทำสัญญาเพิ่มเติม ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเข้าไปเจรจาหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เป็นผลด้านบวกกับเรา เพราะแสดงให้เจ้าหนี้เห็นว่าเรามีความตั้งใจที่จะจ่ายหนี้ ไม่หนีหนี้" "วงศ์วริศ ดุลยนิติโกศล" รองผู้จัดการ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ กล่าว  นอกจากนั้น เมื่ออยู่ระหว่างปลดหนี้ จะต้องจ่ายให้ตรงเวลาทุกงวด และที่สำคัญควรเก็บเอกสารการชำระหนี้ทุกชิ้นไว้ทั้งหมด เพื่อเป็นหลักฐาน ..หากมีหนี้สินอื่นๆ ที่จ่ายตรงเวลา ให้รักษาเครดิตให้ดีไว้ตลอดไป และควรจะเก็บสเตทเมนท์ที่เราจ่ายค่างวดไว้ตลอด เพราะสามารถนำสเตทเมนท์ที่ชำระตรงเวลานี้เพื่อเป็นหลักฐาน ไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูเมื่อเวลาต้องการขอสินเชื่อตัวใหม่หลังจากที่พ้นแบล็คลิสต์ ..อย่าก่อหนี้ซ้ำซาก ..เพราะหากมีหนี้เสียหลายรายการ เป็นการแสดงให้เห็นว่านิสัยการเงินย่ำแย่ แม้ว่าจะได้ปลดหนี้เสีย แต่หลายครั้งก็จะทำให้แบงก์รายใหม่ไม่ให้สินเชื่ออีกแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำหลังจากชำระหนี้และปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ก็คือ ต้องไป "เช็ค" เครดิตด้วยตัวเองที่บริษัทข้อมูลแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เพื่อตรวจสอบว่าสถาบันการเงินเจ้าหนี้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเครดิตให้หรือยัง.."เครดิตการเงินที่เสียไปแล้ว จะมีผลทำให้การกู้ยืมในสิ่งที่จำเป็นไม่ได้เป็นเวลาหลายปีอย่างน้อย 3 ปี เพราะประวัติการชำระหนี้จะ "ถูกลบ" จากเครดิตบูโรหลัง 36 เดือน หรือ 3 ปีเป็นต้นไป ฉะนั้น หากสามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ หรือเคลียร์หนี้จบสิ้น ผู้ขอกู้ก็จะสามารถกลับมาขอสินเชื่อใหม่ได้" ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินรายหนึ่งให้ความเห็น  แต่ทางที่ดี เพื่อไม่ให้เครดิตการเงินของเรา "เสียหาย" .. เครดิตบูโรให้คำแนะนำในการ "รักษา" เครดิต ก่อนที่จะเสียเครดิตไปกว่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่มี "บัตรเครดิต" ในกระเป๋าหลายๆ ใบ อาจมีความเสี่ยง "สูง" หากไม่มีวินัยทางการเงิน ไว้ว่า.. 

       1.ดำรงสัดส่วน "หนี้" ให้เหมาะสม โดยไม่ควรมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนสูงเกินไป จนทำให้รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายหลักในการดำรงชีพไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้ขั้นต่ำในแต่ละงวด 
       2.มีบัตรเครดิตน้อยใบ หรือมีเท่าที่พอเพียงต่อความจำเป็น และควรปิดบัญชีบัตรเครดิตใดๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้วจะดีกว่า โดยปกติสถาบันผู้ให้สินเชื่อ จะดูขีดความสามารถในการจับจ่ายว่า ผู้บริโภครายนั้นๆ มีขีดความสามารถในการชำระหนี้ได้ขนาดไหน หากมีจำนวนบัตรเครดิตมาก ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการก่อหนี้มากขึ้นได้ การมีบัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น จึงทำให้ไม่เสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสีย 
      3.ชำระหนี้ทุกรายการตามใบแจ้งหนี้จากสถาบันเจ้าหนี้ อย่างน้อยที่สุดเท่ากับจำนวน "ขั้นต่ำ" ที่กำหนด และภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ทางที่ดีควรต้องชำระเต็มจำนวนตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับสถาบันเจ้าหนี้ 
      4.เมื่อไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนดระยะเวลา หรือพบว่าข้อมูลในใบแจ้งหนี้มีความคลาดเคลื่อน ควรรีบติดต่อกับสถาบันผู้ออกบัตรทันที และการดำเนินการร้องเรียนหรือแก้ไขข้อมูล ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร 
      5.ตรวจสอบประวัติการชำระเงินของตัวเอง "ทุกครั้ง" กับเครดิตบูโร ก่อนที่จะขอใช้บริการสินเชื่อกับสถาบันการเงิน "ไม่ว่าท่านจะมั่นใจในเครดิตการชำระเงินที่ผ่านมาของตัวเองจะ "ดีเลิศ" แค่ไหน ก็จำเป็นต้อง "เช็ค" หรือตรวจสอบประวัติการชำระเงินที่ผ่านๆ มาของตัวเอง กับเครดิตบูโรก่อนจะขอกู้ครั้งใหม่ทุกครั้ง หากมีปัญหาข้อมูลที่แบงก์แจ้งมาผิดพลาด ก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีหรือคุยกับแบงก์ก่อน  ถ้าข้อมูลผิดพลาดจริง หรือกรณีที่หากบัตรเครดิตถูกนำไปใช้ แบงก์จะได้แจ้งแก้ไขเครดิตของเราเสียใหม่มายังเครดิตบูโร" 
       "ในอนาคตเครดิตบูโรจะผลักดันให้มีการแก้กฎหมาย ให้เครดิตบูโรสามารถจัดอันดับเครดิตสกอริ่ง (Credit Scoring) ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินมีข้อมูลเชิงลึกในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อตามประวัติการชำระเงินของลูกค้าได้ ขณะที่ลูกค้าก็จะได้ประโยชน์ด้านอัตราดอกเบี้ย หากมีอันดับเครดิตดี ก็จะได้ดอกเบี้ยที่ลดลง" 

     แล้วพบกันใหม่กับ.....ล้างหนี้แบล็คลิสต์ เคลียร์เครดิตบูโร ก่อนจะกู้เงิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น