เครดิตบูโรบล็อกกับ มาตรา 733 (กฏหมายบอกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วไม่ต้องจ่าย...แต่ทำไมยังต้องจ่าย)




 เครดิตบูโรบล็อกกับ มาตรา 733 (กฏหมายบอกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วไม่ต้องจ่าย...แต่ทำไมยังต้องจ่าย)
      เครดิตบูโรขอกล่าวนำอีกเล็กน้อย ที่มาที่ไปของบทความนี้ มาจาก ชมรมปฏิรูปสิทธีลูกหนี้ เสนอ คสช. ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งระบบ ข้อเสนอที่ 3.แก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด รวมทั้งขอให้ยกเว้นการบังคับใช้กฏหมาย ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ซึ่งจะทำให้เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์ค้ำประกันเพื่่อชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่ยังเหลืออยู่   ซึ่ง มาตรา 733 กล่าวว่า "ถ้าเอา ทรัพย์จำนองหลุด และ ราคา ทรัพย์สิน นั้น มีประมาณ ต่ำกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่ ก็ดี หรือถ้า เอา ทรัพย์สินซึ่งจำนอง ออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิ น้อยกว่า จำนวนเงิน ที่ค้างชำระกันอยู่นั้น ก็ดี เงินยังขาดจำนวน อยู่เท่าใด ลูกหนี้ ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น"

         แล้วทั้งๆ ที่กฏหมายระบุชัดเจนไม่ต้องชำระ แต่ทำไมธนาคาร หรือสถาบันการเงินเวลายึดทรัพย์เราไปแล้ว และขายทอดตลาด ทำไมยังมาเรียกเก็บส่วนต่างจากเราได้อีก

      เครดิตบูโรบล็อกมีคำตอบครับ  คำตอบมาจากในสัญญากับสถาบันการเงินนั้น ซึ่งปกติเราจะไม่อ่าน หรือถึงจะอ่านก็แบบผ่านๆ ตาไปเรื่อย (หนึ่งในนั้นก็ผมละคนหนึ่ง) โดยในสัญญาจะมีระบุไว้ชัดเจนว่า มีข้อตกลงยกเว้นมาตรา 733 ไว้เสมอ  เมื่อมาตรา 733 ไม่มีผล สุดท้าย เรา (ลูกหนี้) จึงต้องจ่ายอยู่ดี
   
      ผมขอเอาเรื่องราวจากโพส์ในพันทิพย์มานำเสนอให้ทานได้อ่านกัน อ่านเพื่อให้รู้ว่า ก่อนจะลงชื่อตัวเองในหนังสืออะไรซักอย่าง โดยเฉพาะสัญญาเรื่องเงินๆ ทองๆ อ่านให้ดีครับ (ขอบคุณพันทิพย์มา ณ โอกาสนี้)

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อสิบปีก่อนเราซึ้อบ้าน ร่วมกันสามคนพี่น้อง ราคาเก้าแสนบ้าน แต่พิษเศรษฐกิจ เราเลยปล่อยให้ธนาคาร BBC ยึด แต่กรมบังคับคดีไปขายแค่ ห้าแสนบาท ซื่งอันนี้พี่สาวเป็นคนจัดการรับทราบ เรากับน้อง คิดว่าไม่มีอะไรแล้ว เลยเก็บเงินก้อนใหม่ไปซื้อบ้านหลังปัจจุบันซึ่งตอนซื้อก้อกู้ผ่านปกติไม่มีอะไร แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก้อมี จดหมายจากกรมบังคับคคี มาหักเงินเดือนน้องเราที่ทำงานว่ามีส่วนต่าง ที่เราต้องชำระเพิ่มเพราะขายบ้านหลังเก่าไม่พอที่จะชำระหนี้ น้องเราก้อยอมให้หักเดือนละพัน แต่เราสามคนก้อช่วยกันจ่ายด้วย แต่พอมาเมื่อสามเดือนก่อนมีจดหมายจากกรมบังคับคดี จะมายึดบ้านหลังใหม่ของเรา อ้างคดีธนาคารของบ้านหลังเก่าตั้งเรื่องให้ยึดขายทอดตลาด เรากับน้องเราก้อไปติดต่อ คิดว่าถ้าให้ส่วนต่างที่เหลือเราก้อยินดี แต่ธนาคารบ้านหลังเก่าไม่ยอม จะเอาอีกแปดแสน เราเลยงงว่าเค้าทำได้ด้วยเหรอ แล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 733   มันจะช่วยเราได้ไหม

แยกเป็นข้อๆ
1.อายุความในการบังคับคดี ไม่มี  จะมีเพียงแต่ ตาม ป.วิแพ่ง 271 ที่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี  ภายใน 10 ปี  หากเพิกเฉยไม่ร้องขอฯ จนพ้นเวลา 10 ปี ถือว่า หมดสิทธิบังคับคดี   กรณีที่เจ้าหนี้ฯ ใช้สิทธิร้องต่อศาลเพื่อออกหมายบังคับคดีภายในเวลา 10 ปีแล้ว และได้จัดการส่งหมายให้พนักงานบังคับคดีแล้ว จะเป็นขั้นตอนในการบังคับคดีของพนักงานบังคับคดี เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น  แม้จะพ้นเวลา 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษา ก็ยังคงมีสิทธิบังคับคดีได้
2.บ้านราคา 9 แสน ไม่รู้ว่าจำนองไว้เท่าใด  เดาเอาว่า 9 แสนเต็มวงเงิน ในสัญญาจำนองกับสถาบันการเงินนั้น จะมีข้อตกลงยกเว้น 733 ไว้เสมอ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อความสงบฯ จึงสามารถบังคับได้ตามเจตนาที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้  
นั่นคือ เมื่อบังคับจำนองแล้ว ได้เงินจากการบังคับจำนองไม่คุ้มกับหนี้(รวมต้นเงิน  ดอกเบี้ยค้างชำระ  ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง เข้าไปด้วย)  ลูกหนี้ ยังคงต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่
กรณีไม่ปรากฏว่าหนี้สุทธิซึ่งรวมต้นเงิน  ดอกเบี้ยค้างชำระ  ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเท่าใด  เมื่อพิจารณาจาก...แต่ธนาคารบ้านหลังเก่าไม่ยอม จะเอาอีกแปดแสน เราเลยงงว่าเค้าทำได้ด้วยเหรอ ......  จึงพอจะอนุมานได้ว่า ส่วนขาดคือ 8 แสน นั่นแสดงว่าขณะบังคับจำนอง ยอดหนี้ต่างได้ขึ้นเป็น 1.3 ล้าน    บังคับจำนองได้ 5 แสน   เมื่อสัญญาจำนองมีข้อยกเว้น 733  ดังนั้น ลูกหนี้ทั้ง 3 คน (ซึ่งเดาว่าน่าจะเป็นลูกหนี้ร่วม) ต้องรับผิดใยอดเงิน 8 แสนนั้น เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว(ข้อ 1.) เขาย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินของคุณและพี่น้อง ที่อาจบังคับคดีได้ ดังนั้นตามข้อความที่ว่า.....แต่พอมาเมื่อสามเดือนก่อนมีจดหมายจากกรมบังคับคดี จะมายึดบ้านหลังใหม่ของเรา อ้างคดีธนาคารของบ้านหลังเก่าตั้งเรื่องให้ยึดขายทอดตลาด........ จึงสามารถทำได้
3. อย่างไรก็ตาม  อยากให้ไปดูเรื่องดอกเบี้ยขณะบังคับจำนอง  เพื่อแยกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปี ซึงในส่วนนี้ แม้สัญญาจำนองจะมีข้อยกเว้น 733 ไว้   แต่ในส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปี เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกตามกฎหมาย  ซึ่งอาจเป็นผลให้ยอดหนี้ที่ยังคงต้องรับผิดไม่ถึง 8 แสนก็ได้
4.ยอดหนี้ที่ค้าง 8 แสน  หากทิ้งเวลาไว้ ยอดหนี้รวมดอกเบี้ยที่คิดจนถึงวันชำระหนี้ครบถ้วนเสร็จ อาจสูงขึ้นจนครบหลักเกณฑ์ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจฟ้องล้มละลายได้    ซึ่งไม่เป็นผลดีเลย

เครดิตบูโรบล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น