กฏหมายเครดิตบูโรระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้เงิน ใครได้ประโยชน์ (ตอนที่ 1)

กฏหมายเครดิตบูโรระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้เงิน ใครได้ประโยชน์มากกว่ากัน (ตอนที่ 1)

ทุกวันนี้ดูเหมือนจะได้รับการยอมรับกันทั่วไปให้อยู่คู่กับสังคมไทย โดยถูกสร้างภาพว่า เครดิตบูโรคือสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการตรวจสอบเครดิตของลูกค้าของสถาบันการเงิน แต่สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับเครดิตบูโร คือเครื่องมือข่มขู่ลูกหนี้ของพวกรับจ้างทวงหนี้ โดยคำขู่คลาสสิค คือ หากไม่จ่ายก็จะติด BLACK LIST ไม่สามารถกู้เงินหรือทำบัตรเครดิตได้อีกบทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับใคร หรือผู้ใดทั้งสิ้น ผู้เขียนขอรับผิดชอบเองแต่เพียงผู้เดียว เมื่อปี 2549 เคยได้ยินคนเล่าว่า ตอนไปสมัครงาน บริษัทให้ไปตรวจข้อมูลเครดิตมาประกอบการพิจาณาใบสมัคร(ก็แล้วข้อมูลเครดิตมันเกี่ยวอะไรกับการเข้าทำงานวะ) และผมก็ยังเคยได้รับโทร.ทวงค่าโทร.มือถือแทนเพื่อน คนโทร.แจ้งว่าจะส่งข้อมูลเครดิต(BLACK LIST) (แต่ทางเครดิตบูโรเคยแจ้งว่า กิจการโทร.มือถือ ไม่ใช่สมาชิกของเครดิตบูโร จึงส่งข้อมูลไม่ได้) ต่อมาบริษัทรับจ้างทวงหนี้ของโทร.มือถือเหิมเกริมถึงขนาดส่งจดหมายทวงหนี้แจ้งว่าจะส่งเข้าระบบหนี้เสีย(BLACK LIST)
 ทุกวันนี้พวกนายทุนสามานย์โดยรัฐพยายามรุกคืบเข้าควบคุมประชาชนอยู่แล้ว แม้แต่ข้อมูลสถานที่ทำงาน สำนักงานประกันสังคมยังเอามาขายเลยในราคา 20-50 บาทต่อราย และยังได้รับคำยืนยันจากคนที่เคยยื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ตว่า ถ้ายื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตแล้ว คนอื่นที่มีข้อมูลเลขประจำตัวประชาชนกับวันเกิด สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ ก็เลยอยากจะเตือนไว้ในที่นี้เลยว่า อย่ายื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ตเลยจะดีกว่า แม้แต่พวกรับจ้างติดตามยึดรถของไฟแนนซ์(ได้ค่าจ้างตามการยึดรถได้ หากยึดไม่ได้ก็จะไม่ได้เงิน) ก็ยังจ้างด่านเก็บเงินทางด่วนให้เฝ้าดูรถยนต์คันที่ตามยึด โดยหากรถยนต์คันที่กำหนดผ่านด่านเก็บเงิน เมื่อกล้องของด่านเก็บเงินเห็นทะเบียน คอมพิวเตอร์ของด่านเก็บเงินก็จะส่งสัญญาณเตือน พนักงานเก็บเงินประจำด่านก็จะโทร.แจ้งผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างก็จะไปดักรอตามทางลงทางด่วน แต่เรื่องนี้แก้ไม่ยาก แค่ติดทองเปลวที่เลขทะเบียนรถ คอมพิวเตอร์ของด่านเก็บเงินค่าผ่านทางด่วนก็จะไม่รู้ว่าเป็นรถคันที่ถูกจ้างให้เฝ้าดูเหตุผลในการออก พรบ.การประกอบข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 (ดูหมายเหตุ พรบ.ดังกล่าว) สรุปได้ว่า เพื่อให้สถาบันการเงินมีข้อมูลการเป็นหนี้และการชำระหนี้ของลูกค้าเพียงพอแก่การพิจารณาให้สินเชื่อ รวมทั้งให้เป็นกฎหมายคุ้มครองประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูล .........อ่านต่อฉบับหน้า




ขอขอบคุณไทยนิวบล็อค
แท็กซ์ : กฏหมายเครดิตบูโรระหว่างสถาบันการเงิน ใครได้ประโยชน์มากกว่ากัน,ความรู้เกียวกับเครดิตบูโร,เครดิตบูโร,กู้เงิน,แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิตต์ทำอย่างไรให้กู้เงินได้,ติดแบล็คลิสต์แต่อยากกู้เงิน,วิธีกู้เงินแบบติดแบล็คลิสต์,กู้เงินอย่างไรให้ผ่านเมื่อติดแบล็คลิสต์,วิเคราะห์เครดิตบูโรสถาบันการเงินกับผู้กู้ใครได้ประโยชน์มากกว่ากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น