จริงหรือไม่เครดิตบูโรคือเครื่องมือป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่แตก

จริงหรือไม่เครดิตบูโรคือเครื่องมือป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่

ในอดิตหากเราทุกคนจำได้ว่าในปี 2540 เป็นปีที่ประเทศไทยเป็นจุดเร่ิมต้นของวิกฤษการณ์ทางเศรษฐกิจและสถาบันการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วลุกลามไปยังภูมิภาคต่างๆ ผ่านมาหลายปี ปัจจุบัน (ปี 2555) เรามีหนี้สินที่คนไทยทุกคนต้องรับผิดชอบผ่านการชำระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยกว่า 1.14 ล้านล้านบาท และมีแผนที่จะชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 20-25 ปี โดยแหล่งเงินที่มาชดใช้นั้น มาจากการเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากฐานเงินฝาก และจากกำไรของธนาคารแห่งประเทศไทย มันเป็นไปได้อย่างไร เราผิดพลาดตรงไหนกับการบริหารจัดการการเงิน นโยบาย กลยุทธ์การบริหารเศรษฐกิจ หรือระบบการบริหารจัดการสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อเกิดอะไรขึ้น ทำไมจึงมีหนี้เสีย (หนี้ NPL) หรือ "หนี้ที่ไม่เกิดรายได้" มีจำนวนมากมายมหาศาล จนธนาคารและสถาบันการเงินต้องหายไปอย่างมากมาย คำถามที่ผู้คนสนใจส่วนใหญ่ถามกัน ทำไมสถาบันการเงินต่างๆ ถึงปล่อยสินเชื่อ เค้าไม่พิจารณาลูกค้า หรืออย่างไร มีความสามารถในการชำระหนี้แค่ไหน  บทสรุปจึงมาลงที่ สถาบันการเงินในขณะนั้นไม่มีข้อมูลผู้กู้เพียงพอนั่นเอง ไม่รู้จักตัวตนของลูกค้า ข้อมูล ข้อเท็จจริง ได้มาจากลูกค้าเพียงอย่างเดียว บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ "เครดิตบูโร" จึงมีการจัดตั้งขึ้นหลังมีความเสียหายและมีการออกแบบให้เป็น "คลังข้อมูลบัญชีสินเชื่อต่างๆ ที่ลูกหนี้ไปมีไว้กับสถาบันการเงินต่างๆ ที่เป็นสมาชิกกับเครดิตบูโร" เมื่อลูกค้าทีมีประวัติตามข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริง จะไปยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก จะมีการตรวจสอบว่า มีประวัติการชำระหนี้เป็นอย่างไร ใช้ครบ ใช้ตรงตามเงื่อนไข แค่ไหน ความสามารถในการชำระหนี้เป็นอย่างไร และข้อมูลหลักประกันอื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาพิจารณาประกอบก่อนตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อ โดยสถาบันการเงินนั้นๆ ถ้าเข้าก็อนุมัติ ถ้าไม่เข้าก็ต้องมีหนังสือตอบกลับไปยังผู้ขอกู้ ว่าไม่ผ่านเพราะอะไร อันนี้เป็นกรณีๆ ไป นี้คือเหตุผลที่จำเป็นจะต้องมีเครดิตบูโร แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ใครได้ประโยชน์มากกว่ากันก็พิจารณากันเอาเองครับ







แท็กซ์ :  จริงหรือไม่เครดิตบูโรคือเครื่องมือป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่ ,ความรู้เกียวกับเครดิตบูโร,เครดิตบูโร,กู้เงิน,แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,วิเคราะห์เครดิตบูโร,สถาบันการเงิน,กู้เงิน,เครดิตบูโร, แบล็คลิสต์,เศรษฐกิจฟองสบู่แตก,รายละเอียดเศรษฐกิจฟองสบู่แตก,กำเนิดเครดิตบูโร,บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น