2ม 1พ กำจัดหนี้ที่ไม่จำเป็นให้เป็นศูนย์


2ม  1พ กำจัดหนี้ที่ไม่จำเป็นให้เป็นศูนย์ 
    เริ่มต้นมาเป็นแนวคำขวัญนิดหนึ่งกับ  " 2ม  1พ  กำจัดหนี้ที่ไม่จำเป็นให้เป็นศูนย์ "  มีคนจำนวนไม่น้อย เสียสมดุลทางการเงิน มีหนี้ที่เกินชำระได้ ติดแบล็คลิส ไม่สามารถกู้กับสถาบันการเงินได้ ทำให้ต้องไปกู้เงินนอกระบบ แลัวมันมีสาเหตุมาจากอะไร วันนี้เรามีข้อแนะนำอย่างง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจสอบ และวิเคราะห์การเงินของตัวเอง ว่าตอนนี้ สถานะการเงินเราเป็นอย่างไร เริ่มต้นกันที่ "2ม" แล้วมันคืออะไร มาดูกัน
     1. ไม่รู้สถานะหนี้สินที่แท้จริงของตนเอง หากว่าใครไม่อยากเสียสมดุลทางการเงิน ไม่อยากมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเป็นต้องมีการหมั่นตรวจสอบสถานะทางการเงินของตัวเองเป็นระยะๆ ซึ่งการตรวจสอบภาระหนี้สินทำได้ง่ายๆ โดยการเปรียบเทียบภาระหนี้สินทังหมดที่เรามีกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่มี ในทางการเงินส่วนบุคคล เราเรียกว่า "อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์"  คำนวณจากสูตรง่ายๆ ดังนี้


อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์  = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม
นักการเงินแนะนำว่า
เราไม่ควรมีหนี้สินรวมแล้วเกินกว่า 50% ของสินทรัพย์ทั้งหมดทีมี  หากใครมีอัตราส่วนนี้เกินกว่า  1  เท่า  ถือว่าผู้นั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัว  ดังนั้น ใครที่อยากจะขอสินเชื่อเพิ่ม แต่มีอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ใกล้ๆ 50% ใกล้ชนเพดาน ก็ควรพิจารณาชะลอการก่อหนี้เพิ่มไว้ก่อน เมื่อลดสัดส่วนหนี้ลงมาได้ต่ำๆ แล้วจึงค่อยพิจารณาอีกครั้ง
     2.ไม่รู้ความสามารถในการชำระหนี้ เมื่อรู้สัดส่วนหนี้สิน รู้ปริมาณหนี้สินที่แท้จริงของตนแล้ว การชำระหนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างสมดุลไว้ให้ดี เพราะเงินที่หามาได้ เราควรจะจัดสรรและพิจารณาอย่างเหมาะสม หากมีภาระในการชำระหนี้มากเกินไป จำนวนเงินในการออมก็จะต้องลดลง ร่วมทั้งอาจกระทบการกับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอีกด้วย ทั้งนี้ การตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ทำได้ง่าย โดยอาศัย "อัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้" คำนวณจากสูตร ดังนี้
        อัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้ = จำนวนหนี้ที่ต้องชำระในแต่ละปี / รายได้ร่วมต่อปี
ข้อแนะนำ หากใครมีอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 เท่า แสดงว่ารายได้ไม่พอใช้หนี้ เรียกว่า ทำงานเพื่อหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยอย่างเดียว ลองคิดดูว่าจะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำแค่ไหน
     คราวนี้ก็มาถึง 1พ  กันบ้าง ซึ่งความหมายก็มาจากคำว่า "พอ" คนจำนวนไม่น้อยยอมเป็นหนี้เกินตัว เพราะทำตามความต้องการที่เกินจำเป็น หรือไม่รู้จักพอ นั่นเอง หลายคนต้องการมีเหมือนคนอื่น เพราะมักเปรียบเทียบ มองคนอื่นแต่ไม่มองตนเอง ไม่พิจารณาตนเอง ไม่ทบทวนความจำเป็นของตนเองอย่างรอบคอบ สุดท้ายแล้วก็ต้องทุกข์ใจจากความรู้สึก เพราะหนี้ที่ตัวเองไปสร้างไว้ แล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้
       บางครั้งการติดแบล็คลิส (ติดเครดิตบูโร) ลองคิดๆ ดูแล้วปัญหามันเกิดจากการที่เราไม่รู้จักออม และยัง"ฝืน" ใช้จ่ายในระดับที่เกินตัว...สุดท้ายก็ต้องเพิ่งพาเงินล่วงหน้า (กู้)...เมื่อชำระหนี้ไม่ได้ ...ปัญหาก็ตามมา ลองใช้เวลากับตัวเองซักนิด คิด พิจารณา ทบทวน  2ม (ไม่รู้สถานะหนี้สินที่แท้จริงของตนเอง,ไม่รู้ความสามารถในการชำระหนี้) หลังจากนั้น  คิด คิด คิด ทบทวนอีกรอบ บางครั้งการก่อหนี้ครั้งต่อไป อาจไม่จำเป็นก็ได้....เครดิตบูโรบล็อก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น