เมื่อศาลตัดสินบังคับคดีจนถึงอายัดเงิน แต่ถ้าไม่มีเงินเดือนให้อายัดล่ะ จะเป็นอย่างไร

        เมื่อศาลตัดสินบังคับคดีจนถึงอายัดเงิน แต่ถ้าไม่มีเงินเดือนให้อายัดล่ะ จะเป็นอย่างไร????
อายัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ติดแบล็คลิสต์
 
เมื่อศาลตัดสินบังคับคดีจนถึงอายัดเงิน แต่ถ้าไม่มีเงินเดือนให้อายัดล่ะ จะเป็นอย่างไร????
      เมื่อเป็นหนี้แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งนั่นแปลว่าท่านถูกหมายหัวว่า "ติดแบล็คลิสต์" ไปเรียบร้อยแล้ว มีการหยุดจ่าย หนีหนี้ ประนอมหนี้ไม่ไหว ทีนี้ก็เข้าสู่กระบวนการของศาล มีการฟ้องร้อง และศาลตัดสินไปตามกระบวนการที่เราๆ ท่านๆ ไม่ค่อยจะรู้ภาษากฏหมายกัน ซึ่งบทสรุปก็คงจะต้องใช้หนี้อยู่ดี แต่ถ้าหากลูกหนี้ หรือจำเลย เมื่อถูกศาลพิพากษาให้ชดใช้หนี้ตามหมายฟ้องแล้ว ลูกหนี้หรือจำเลย ไม่ยอมใช้หนี้ตามคำสั่งของศาล ก็จะเข้าสู่กระบวนการที่ทางเจ้าหนี้ จะต้องส่งเรื่องให้ "กรมบังคับคดี" ทำการ อายัดเงินเดือน หรืออายัดทรัพย์สินต่อไป แล้วถ้า ลูกหนี้หรือจำเลย ไม่มีทรัพย์สินใดๆให้อายัดหรือยึด ทางเจ้าหนี้และกรมบังคับคดี ก็จะเหลือเพียงแค่ช่องทางเดียวเท่านั้น ก็คือการ "อายัดเงินเดือน" ของลูกหนี้ แต่การที่จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ ลูกหนี้จะต้องมีเงินเดือนเกินกว่า 10,000.-บาท ขึ้นไปเท่านั้น...จึงจะอายัดได้...และจะอายัดได้ไม่เกิน 30% จากเงินเดือนของลูกหนี้ด้วย...โดยไม่สนว่าลูกหนี้จะมีเจ้าหนี้กี่ราย   เพราะกฏหมายเขาเขียนคุ้มครองเอาไว้อย่างนั้น...เช่น...ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือน 30,000.-บาท เจ้าหนี้ก็จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ประมาณ 9,000.-บาท (คำนวนจาก 30% ของเงินเดือนที่ 30,000-บาท)...แต่ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนแค่ 10,200.-บาท เจ้าหนี้ก็จะอายัดเงินเดือนได้แค่ 200.-บาท เท่านั้น จะมาอายัดเงินเดือน 30% จากเงินเดือนที่จำนวน 10,200.-บาท ไม่ได้ (เพราะกฏหมายเขาเขียนกำหนดให้ลูกหนี้ผู้ที่ถูกอายัดเงินเดือน จะต้องมีเงินเดือนเหลือเอาไว้สำหรับ กิน , ใช้จ่าย , ยังชีพ...ที่ขั้นต่ำ 10,000-บาท)
        แต่ถ้าลูกหนี้ "ตกงาน" หรือไม่ได้ทำงานตามบริษัทต่างๆ...กล่าวคือ...ไม่ได้มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือนที่แน่นอน และไม่มีการนำเงินส่งภาษีและประกันสังคม...อาทิเช่น...ขับรถ Taxi , ขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างตามวิน , ขายก๋วยเตี๋ยว , ขายกาแฟ , ขายข้าวแกง , ขายเสื้อผ้าตามตลาดนัด , ทำงานฟรีแลนซ์ , ขายของตาม Internet ฯลฯ...อย่างนี้เป็นต้น ก็จะเปรียบเสมือนกับบุคคลที่"ตกงาน"หรือ"ว่างงาน" ตามการเรียกเก็บภาษีและรายได้ของรัฐ...ซึ่งก็หมายความว่า ตามอายัดเงินเดือนไม่ได้ เพราะรายได้ต่างๆที่ได้มานั้น...ไม่ถูกจัดว่าเป็น"เงินเดือน"
        เมื่ออายัดทรัพย์สินก็ไม่ได้...อายัดเงินเดือนก็ไม่ได้ หนี้ต่างๆ ของลูกหนี้หรือจำเลยที่ถูกศาลพิพากษา ก็จะถูกแขวนลอยเอาไว้เฉยๆ (หรือที่เรียกว่าถูก"แขวนหนี้")...และถ้าหากระยะเวลาในการ"แขวนหนี้" ผ่านพ้น10 ปีไปแล้ว หนี้ตัวนี้ก็จะ"หมดอายุความ"ในการอายัดจากทางเจ้าหนี้
         ซึ่งระหว่างใน 10 ปี ที่หนี้ดังกล่าว ถูกแขวนลอยเอาไว้เฉยๆอยู่อย่างนี้ ทางเจ้าหนี้ก็จะพยายามสืบทรัพย์ให้ได้ว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินเก็บหรือซุกซ่อนเอาไว้ที่ไหนบ้างหรือปล่าว? หรือไปเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ไหนบ้าง?...ถ้าสืบเจอ ก็ไปแจ้งต่อกรมบังคับคดีให้มาทำการยึดไปใช้หนี้...แต่ถ้าสืบไม่เจอ หรือสืบแล้วพบว่าไม่มีทรัพย์สินใดๆเลย...ก็ทำอะไรไม่ได้
         และเมื่อระยะเวลาในการ"แขวนหนี้ 10 ปี"นี้...ผ่านพ้นไปแล้ว (10 ปีนี้ ให้เริ่มนับจากวันที่ถูกศาลพิพากษา เป็นต้นไป) เจ้าหนี้ก็จะหมดอายุความในการอายัดทันที (จะมาอายัดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน ที่เพิ่งจะมารู้หรือเพิ่งมาเจอ ภายหลังจาก 10 ปีผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ได้อีกต่อไป) ลูกหนี้หรือจำเลย ก็จะเป็น "ไท" ในทันที ไม่ต้องมาชดใช้หนี้สินที่เหลืออยู่อีกต่อไป

แท็กซ์: แบล็คลิสต์,ติดแบล็คลิสต์,ชำระหนี้ติดแบล็คลิสต์,ใช้หนี้,ลูกหนี้,หนีหนี้,หนี้หมดอายุความ,ประนอมหนี้,กรมบังคับคดี,หนี้,เป็นหนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น