เปิดเผยวิธีทวงหนี้จากลูกหนี้ของผู้มีอาชีพรับทวงหนี้ต่างๆ

เปิดเผยวิธีทวงหนี้จากลูกหนี้ของผู้มีอาชีพรับทวงหนี้ต่างๆ
วิธีทวงหนี้จากลูกหนี้
         เปิดเผยวิธีทวงหนี้จากลูกหนี้ของผู้มีอาชีพรับทวงหนี้ต่างๆ
         จากบทความก่อนหน้านี้ที่ได้เกริ่นไว้แล้ว เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้ (ถูกกฏหมายและใช้ได้จริง) ซึ่งก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะใช้ได้จริงๆ บทความฉบับนี้จะขอบอกเล่าถึง วิธีการทวงหนี้จากเจ้าหนี้ ว่า ในปัจจุบันนี้ เจ้าหนี้ทั้งหลาย เขาใช้วิธีการอะไรบ้าง ทวงหนี้จากลูกหนี้ มันถูกกฏหมายหรือป่าว แล้วถ้าลูกหนี้เป็นเรา เราจะทำอย่างไร จะใช้วิธีการแบบไหนเข้าต่อสู้ โดยที่ตัวลูกเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ มาดูรายละเอียดกันดีกว่าครับ สำหรับวิธีทวงหนี้แบบเลวๆ ที่สำนักงานทวงหนี้มักใช้กัน เป็นเทคนิคที่ชอบอ้างถึงกฎหมายที่ลูกหนี้ส่วนมากไม่มีความรู้ จึงเปิดโอกาสให้นักทวงหนี้ดำเนินการไปตามเกมส์ของเขาซึ่งมีหลายวิธีดังนี้
          - ส่งจดหมายทวงหนี้  : เป็นจดหมายที่ส่งมาทวงหนี้ในลักษณะข่มขู่ จะมีข้อความที่ประทับตรายางสีแดงเช่น “อนุมัติฟ้องภายใน 24 ช.ม.” , “ด่วน อนุมัติฟ้อง” , “เตือนให้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย” , “ด่วน นำพนักงานสืบทรัพย์ตรวจสอบตามภูมิลำเนา”...คำขู่พวกนี้หากลูกหนี้ที่รู้เท่าทันก็ไม่ต้องตกใจ เพราะถ้ามีการฟ้องศาลจริงจะต้องมีหมายเลขคดีดำและหมายศาลจะส่งไปยังที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น จดหมายทวงหนี้ในลักษณะนี้ส่งมาเพื่อเตือนให้รีบไปชำระหนี้เท่านั้น แต่ในส่วนของลูกหนี้ให้คิดเสียว่า ถ้าเจ้าหนี้อยากจะฟ้องก็เชิญฟ้องไปเลย เพราะในความเป็นจริง กว่าจะส่งเรื่องฟ้องศาล เจ้าหนี้ต้องใช้เวลาในการทวงหนี้นานเป็นปี ดังนั้นในระหว่างนี้ ลูกหนี้จะได้รับจดหมายทวงหนี้ในลักษณะเช่นนี้ ทุกวัน , ทุกสัปดาห์ , ทุกเดือนเรื่อยไปจนกว่าจะครบปี จนเกิดความสงสัยขึ้นว่า...“เมื่อไหร่มันจะฟ้องตรูจริงๆซะทีวะ?
          - เจ้าหนี้แจ้งว่าจะยึดทรัพย์ : ซึ่งเป็นการข่มขู่ที่ผิดกฎหมาย การที่เจ้าหนี้จะยึดทรัพย์ลูกหนี้ได้นั้น จะต้องมีการฟ้องศาลดำเนินคดีทางแพ่งเสียก่อน การยึดทรัพย์ต้องใช้คำสั่งศาลจึงจะดำเนินการยึดทรัพย์ได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆตามอำเภอใจ
          - เจ้าหนี้แจ้งว่าจะส่งเจ้าหน้าที่มาทวงเงินที่ทำงานของลูกหนี้ พูดง่ายๆก็คือ ตามทวงหนี้ถึงที่ทำงานกันเลยทีเดียว กรณีนี้ถ้าลูกหนี้ไม่อนุญาตให้เข้าพบ หากพนักงานทวงหนี้ยัง"หน้าด้าน"ฝ่าฝืน...มีสิทธิ์เจอข้อหาบุกรุกได้เลย
          นอกจากนี้ เจ้าหนี้ยังมีการข่มขู่อีกหลายเรื่องที่เคยทำกันมาแล้วได้ผลเช่น ขู่ว่าจะอายัดเงินเดือน ทั้งๆที่ยังไม่ได้ส่งเรื่องฟ้องศาลเลย เจ้าหนี้จึงไม่สามารถอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ เพราะการอายัดเงินเดือนต้องมีคำสั่งศาล และการอายัดเงินเดือนทำได้เต็มที่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนลูกหนี้ และถ้ามีเจ้าหนี้อยู่หลายราย ก็ต้องแบ่งสรรปันส่วนกันไปภายใน 30 เปอร์เซ็นต์นั้นๆ...หรือเจ้าหนี้อาจต้อง"เข้าแถว"รอคิวการอายัดเงินเดือนต่อๆกันไป (ใครฟ้องก่อน ก็อายัดได้ก่อนเป็นคิวแรก ใครฟ้องช้า/ฟ้องทีหลัง ก็ต้องมานั่งเข้าแถวรออายัดเป็นคิวถัดไป) เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเงินเดือน  เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการทวงหนี้ได้ แต่ต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย และทำการทวงหนี้อย่างเหมาะสม โดยไม่เป็นการรบกวนการทำงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกหนี้จนเกินพอดี เจ้าหนี้ต้องมีการแสดงตัว แจ้งชื่อ-นามสกุล สำนักงานที่สังกัด ไม่คุกคามลูกหนี้เช่น ประจานหรือข่มขู่ และที่สำคัญต้องไม่เปิดเผยความลับของลูกหนี้แก่บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
           จะเห็นได้ว่าการติดตามทวงหนี้ของเจ้าหนี้ในปัจจุบันที่ทำกัน มักออกมาในลักษณะของการข่มขู่ในเรื่องต่างๆ ที่ถือว่าผิดกฎหมาย จนในระยะหลังมานี้ ลูกหนี้เริ่มรู้เท่าทันเจ้าหนี้จึงได้มีการฟ้องร้องกลับ จนเจ้าหนี้เป็นฝ่ายแพ้คดีไปก็มีจำนวนไม่น้อย หากลูกหนี้มีข้อสงสัยในการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องหลักเกณฑ์ในการติดตามทวงถามหนี้ ที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการถูกข่มขู่ของลูกหนี้   ถึงแม้ลูกหนี้จะรู้เท่าทันเจ้าหนี้และสามารถรับมือกับการทวงหนี้แบบโหดจากเจ้าหนี้ได้แล้วก็ตาม...แต่การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ดีที่สุดคือ “มีหนี้ ก็ต้องใช้หนี้” ดังนั้นเมื่อมีโอกาสที่จะใช้หนี้ได้ จงอย่ารอช้า...ให้รีบหาทางเคลียร์หนี้สินให้จบ แล้วอย่าก่อหนี้สินขึ้นมาอีก  นั่นแหละคือคำตอบสุดท้าย

แท็กซ์: วิธีทวงหนี้จากลูกหนี้,หนี้,ทวงหนี้,รับทวงหนี้,วิธีทวงหนี้,รับมือวิธีทวงหนี้,เทคนิคและวิธีการรับมือทวงหนี้,ส่งจดหมายทวงหนี้,ยึดทรัพย์ใช้หนี้,ทวงเงินลูกหนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น