เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้ (ถูกกฏหมายและใช้ได้จริง)

เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้

เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้

      เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้
     เป็นข่าวกันอยู่เรื่อยๆ เกี่ยวกับการทวงหนี้โหด ส่วนใหญ่ที่โดนก็จะเป็นแม่ค้า สาเหตุก็คงจะมาจากดอกเบี้ยรายวันนั่นเอง ซึ่งถือว่าสูงเอามากๆ ....แล้วใครจะมีปัญญาจ่ายดอกไหม...จริงไหม วันนี้ แบล็คลิสต์และเครดิตบูโรบล็อก ของเราจึงมีวิธีรับมือการทวงหนี้จากเจ้าหนี้มาฝากกัน อย่างไรก็ตามบล็อกของเราไม่มีนโยบายจะให้ลูกหนี้ หนีหนี้ หรือไม่ยอมจ่ายหนี้แต่ประการใด  แต่ให้นำไปใช้ในกรณีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้ซึ่งส่งพวกทวงหนี้มาใช้วิธีการทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย ขอเน้นนะครับ ทวงหนี้แบบผิดกฏหมาย เช่น อ้างกฎหมายมาข่มขู่ รบกวนเวลาทำงาน ทำให้เสียชื่อเสียง...ฯลฯ เพือเป็นการปกป้องตัวลูกหนี้เองให้รอดพ้นจากการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น ลูกหนี้จึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินบ้าง แต่ไม่ถึงกับต้องท่องจำกฎหมายหนี้สินมาตราต่างๆได้ เอาแค่ให้รู้ว่าการทวงหนี้ในลักษณะใดบ้าง ที่เข้าข่ายการทวงหนี้ผิดกฎหมาย เพื่อจะได้เตรียมรับมือกับเหล่านักทวงหนี้ได้อย่างเหมาะสมในทำนอง “รู้เขา-รู้เรา” จะได้ไม่ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเจ้าหนี้และปกป้องรักษาสิทธิ์ของลูกหนี้ไว้  ที่พอจะคิดออกมีดังนี้ต่อไปนี้
       1.สอบถามข้อมูลผุ้ที่จะมาทวงหนี้กับเรา  ก่อนจะคุยกับผู้ทวงหนี้ ให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกก่อนเลยโดยการสอบถาม ชื่อ-นามสกุลจริง ของคนที่มาทวงหนี้ก่อน และที่สำคัญต้องขอเบอร์โทรศัพท์สำนักงาน(ไม่ใช่เบอร์มือถือ)ที่เขาทำงานอยู่ รวมถึงชื่อสำนักงานของนักทวงหนี้เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ ส่วนมากการคุยกันระหว่างลูกหนี้กับนักทวงหนี้มักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง และมักจะมีปัญหาเรื่องการมีปากเสียงหรือจบลงด้วยการทะเลาะกัน อาจมีการใช้ถ้อยคำรุนแรงที่ฝ่ายนักทวงหนี้หลุดได้บ่อยๆ ดังนั้นการสอบถามข้อมูลจริงๆจากนักทวงหนี้ จึงมีโอกาสสูงที่ผู้ทวงหนี้จะไม่บอกความจริง เพราะมันก็กลัวความผิดทางกฎหมายเหมือนกัน เพราะถ้ามันเผลอข่มขู่หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงกับลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้อาจรับมือหรือตอบโต้กับนักทวงหนี้ได้ โดยการติดตามเอาเรื่องจนถึงสำนักงานของนักทวงหนี้เลยก็ได้ นอกจาก
มันจะตามหนี้ไม่ได้แล้วยังต้องมีคดีความติดตัวอีก จึงไม่คุ้มสำหรับการบอกรายละเอียดของตัวนักทวงหนี้เอง เมื่อถึงตอนนี้นักทวงหนี้ก็คงรู้แล้วว่า ลูกหนี้รายนี้ไม่ใช่หมูที่จะมาเถือเล่นกันได้ง่ายๆ แต่ถ้านักทวงหนี้ไม่ยอมบอกรายละเอียดของตัวมัน ก็จะเข้าทางของเราเลย ให้ลูกหนี้ถือโอกาสตัดบทไม่คุยด้วย หรือถ้านักทวงหนี้ให้รายละเอียดมาแล้ว ฝ่ายลูกหนี้ก็สามารถโทรย้อนกลับไปตรวจสอบได้เช่นกัน
       2. ต้องตั้งสติให้ดี  อย่ากลัวที่จะคุยกับเจ้าหนี้หรือนักทวงหนี้ ต้องกล้าคุยและเสียงเข้ม การเป็นหนี้ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่พวกติดตามหนี้ข่มขู่ เป็นเพียงแค่คดีแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่คดีร้ายแรงเหมือนการฆ่าคนตาย(คดีอาญา)
       ดังนั้นการที่นักทวงหนี้ใช้คำพูดในลักษณะที่ว่า จะใช้กฎหมายจับลูกหนี้เข้าคุก จะด้วยข้อหาอะไรก็สุดแล้วแต่ที่นักทวงหนี้พยายาม"กุ(มั่ว)"มาตราขึ้นมาเอง เพื่อให้ดูน่ากลัวสำหรับลูกหนี้ ให้ลูกหนี้รับมือกับการทวงหนี้โหดในลักษณะนี้โดยการย้อนถามกลับไปว่า หนี้สินเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา จะจับเข้าคุกได้ยังไง?...จะเอาตำรวจที่ไหนมาจับ?...เพราะคดีหนี้สินไม่ใช่หน้าที่ของตำรวจเลย
      การรับมือในการทวงหนี้ ลูกหนี้ต้องมีความรัดกุม รู้เขา-รู้เรา ดังนั้นทางที่ดีในการพูดคุยกับนักทวงหนี้ ควรมีการบันทึกเสียงการสนทนาระหว่างลูกหนี้กับนักทวงหนี้ไว้เอาด้วย(แต่อย่าไปบอกให้มันรู้) หากมีปัญหาอะไรเช่น เรื่องการข่มขู่ เราก็สามารถใช้เสียงที่บันทึกนี้ให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบได้
      นักทวงหนี้จำนวนไม่น้อยที่มักจะทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้เช่น พ่อ แม่(ซึ่งอายุมากแล้ว) ญาติ พี่น้อง(ที่ไม่รู้เรื่องด้วย) หรือเพื่อนร่วมงาน  การทวงหนี้ในลักษณะนี้เข้าข่ายหมิ่นประมาท และผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ลูกหนี้สามารถฟ้องร้องได้ การรับมือกับการทวงหนี้ในลักษณะนี้ ให้ลูกหนี้อธิบายต่อคนใกล้ชิดให้เข้าใจว่า หนี้สินของเรานั้น นักทวงหนี้ไม่สามารถติดตามหรือทวงหนี้จากคนอื่นได้ คนใกล้ตัวเราจะได้ไม่ตกใจกลัว และหากพวกเขารู้สถานการณ์ว่าอะไรเป็นอะไร ก็จะสามารถจับต้นชนปลายได้ถูก และจะได้ช่วยตอกกลับพวกนักทวงหนี้(เลวๆ)ที่ไม่รู้จักกาลเทศะได้อีกทางหนึ่ง....บทความฉบับหน้าเราจะมาดูกันว่า ปัจจุบันนี้มีพวกนักทวงหนี้ เขาใช้วิธีทวงหนี้จากลูกหนี้อย่างไรบ้าง....อย่าลืมติดตามกันให้นะครับมีประโยชน์แน่นอน...แบล็คลิสต์และเครดิตบูโรบล็อก


แท็กซ์: เทคนิคและแนวทางรับมือการทวงหนี้,วิธีรับมือทวงหนี้,รับมือทวงหนี้,วิธีทวงหนี้,หนี้,เป็นหนี้,ใช้หนี้,หนี้สิน,แบล็คลิสต์,เครดิตบูโร,แบล็คลิสต์เครดิตบูโรบล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น