วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน

 วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน
 วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน


     วิธีคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงิน
     มีประโยคอยู่ประโยคหนึ่งกล่าวว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" ในทีนี้เราไม่ได้ไปทำการรบ แต่ผมอยากให้มองภาพถึงการไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่างๆ ว่า ทางธนาคาร หรือสถาบันการเงิน มีกลักเกณฑ์คำนวณคร่าวๆ อย่างไรบ้าง เงินเดือนเท่ากัน แต่ทำไมเพื่อนได้ยอดวงเงินสูงกว่า เอ๊ะคนนี้ทำไมรายได้น้อยกว่าเรา แต่ยอดเงินสูงกว่าเรา....สิ่งเหล่านี้ หากเรารู้ว่าทางธนาคารมีวิธีคิดให้เราอย่างไร...ผมว่ามันคงมีประโยชน์สำหรับเราไม่น้อย....ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมขอพูดไปในระดับผู้ทำธุรกิจรายใหญ่เลย เพื่อให้เห็นภาพ ในการปล่อยกู้ การพิจารณาเงินกู้ โดยในการทำธุรกิจผู้ประกอบการมิอาจจะเป็นผู้ที่คอยรับผลประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวได้เสมอไป เพราะระบบธุรกิจในปัจจุบันไม่ได้ใช้ระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนแบบมือต่อมือเหมือนในอดีต เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุคของเศรษฐกิจทุนนิยมที่ผู้ถือเงินสดในมือคือผู้กำหนดแนวทางการทำธุรกิจของอนาคตไว้นั่นเอง  ด้วยเหตุนี้ระบบการเงินจึงวิวัฒนาการไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้น และภาระผูกพันทางการเงินจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดอกเบี้ยจากเงินที่กู้ยืมมาลงทุน การชำระคืนเงินต้น เงินปันผลให้กับลูกค้า ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหนี้สินที่ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบอย่างยากจะหลีกเลี่ยงได้ การคำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้สินหรือที่เรียกว่า Fixed Charge Coverage Ratio จึงเป็นตัวช่วยที่จะบอกให้ผู้ประกอบการได้ทราบว่าธุรกิจของตนเองมีความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงินได้มากขนาดไหน ซึ่งการคำนวณก็มีวิธีดังต่อไปนี้
       ก่อนอื่นผู้ประกอบการจะต้องหาข้อมูลในตัวแปรทั้ง 5 อย่างนี้ก่อน นั่นคือ
          1.กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
          2.ดอกเบี้ยเงินกู้
          3.เงินต้นที่ยืมมา
          4.เงินปันผล
          5.อัตราภาษีเงินได้
       เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 5 มาแล้วก็มาถึงในส่วนของวิธีทำ โดยผู้ประกอบการจะต้องนำกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเป็นตัวตั้งแล้วจึงนำมาหารด้วยส่วนที่สองนั่นก็คือดอกเบี้ยบวกเงินต้นบวกเงินปันผลที่หารด้วยในวงเล็บหนึ่งลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ ซึ่งหลักสมการของวิธีการนี้จะมีรูปแบบดังต่อไปนี้

ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นจะวิเคราะห์ได้ 3 กรณี คือ  

        ผลลัพธ์ที่ได้มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 1 
        แสดงว่าธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถจ่ายภาระผูกพันทางการเงินได้อย่างไม่มีปัญหา และยิ่งหากมีค่าที่เป็นบวกมากเท่าไหร่นั่นจะยิ่งเป็นการดีเพราะนั่นหมายถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้สินภาระผูกพันทางการเงินจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
        ผลลัพธ์ที่ได้มีค่าน้อยกว่า 0
        แสดงว่าธุรกิจกำลังประสบปัญหามีผลประกอบการที่ขาดทุน และยังไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะชำระค่าใช้จ่ายทางการเงินนั่นเอง
        ผลลัพธ์ที่ได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1
        แสดงว่ากิจการสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายทางการเงินได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น และกิจการกำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน จึงสมควรต้องหาแหล่งเงินทุนเพื่อทำการสนับสนุนเป็นการด่วน

       เรื่องของเครดิตทางการเงินถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน เพราะเจ้าสิ่งนี้จะถือเป็นหน้าเป็นตาของธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งคู่ค้ามักจะหยิบยกความสามารถในการชำระหนี้สินทางการเงินขึ้นมาพิจารณาก่อนเป็นอันดับแรก ผู้ประกอบการทุกคนจึงต้องรักษามันไว้ให้ดียิ่งชีพ เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จในอนาคตที่กำลังจะตามมานั่นเอง.....กู้เงินบล็อก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น